ความเชื่อและความเป็นมาเรื่อง “สิงโต” เทวรูปในตำนานตามโหราศาสตร์ ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมของกัมพูชา

นับตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน สถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้างในกัมพูชาถูกควบคุมด้วยความเชื่อตามศาสนาฮินดู โหราศาสตร์ และการบวงสรวงพระเจ้าและเทวราชาของตน บทบาทของสถาปัตยกรรมคือ เพื่อแสดงความเชื่อเหล่านี้ให้แก่ผู้ที่เชื่อถือและบังคับใช้ระบบดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมของเขมรมักตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบอย่างหนึ่ง โดยที่มีแนวเขตแดน แกน และตัวแปรทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ซึ่งแฝงไปด้วยแนวความคิดเกี่ยวกับปฏิทินและจักรวาลวิทยา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียหรือชมพูทวีปแล้วแพร่หลายสู่อาณาจักรเขมรโบราณในยุคที่อาณาจักรขอมมีความรุ่งเรืองและมีอิทธิพลอยู่ในภูมิภาคนี้ด้วยแรงสนับสนุนจากกษัตริย์ ภายใต้แนวความคิดเกี่ยวกับสมมุติเทพเพื่อเป็นฐานอำนาจในการปกครอง เพราะความเชื่อพราหมณ์เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและอำนาจของเทพเจ้า เน้นพิธีกรรม การบวงสรวงบูชา และความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับ สิงโตในตำนานตามโหรศาสตร์ สถาปัตยกรรมของเขมร ทั้งที่สลักจากหินและโลหะสัมฤทธิ์เป็นสิ่งประดับที่พบเห็นได้บ่อยตามอนุสรณ์สถานของเขมร ในเอเชียไม่มีสิงโต ยกเว้นแต่ในแถบเอเชียไมเนอร์ (ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว) และในแถบอินเดียตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ในประเทศกัมพูชา สิงโตเหล่านี้เป็นสุริยะสิงห์ในตำนาน โดยทำหน้าที่ยืนเฝ้ายามคู่กับพญานาคซึ่งเป็นสัตว์จากดวงจันทร์ตามตำนาน การปรากฏตัวของสิงโตมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่านั้น ผ่านความเชื่อ ซึ่งเป็นความมั่นใจต่อสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นความจริง ซึ่งความเชื่อบางอย่างอาจสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ยุคโบราณ ตอนที่ยังไม่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ไม่มีการพิสูจน์ถึงความจริงของเรื่องนั้นๆ เช่น ภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงประเทศอินเดียตอนเหนือและภาคตะวันตก “ราชสีห์ หรือ สิงห์” เป็นชื่อเรียกสัตว์ในนิยายที่ถือว่ามีความดุร้าย และเชื่อว่ามีพลังอำนาจเหนือสัตว์ทั้งหลาย เกิดจากจินตนาการของศิลปิน และนักปราชญ์สมัยโบราณของไทยที่จินตนาการมาจากสิงโต แต่เมื่อเป็นสัตว์ในนิยาย ศิลปินจึงประดิษฐ์ให้งดงามพิสดารออกไปตามความรู้สึกนึกคิดของตน ทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปจากธรรมชาติมากขึ้น ด้วยลักษณะที่พิเศษของราชสีห์ ทำให้มีการนำราชสีห์มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งต่างๆ เพื่อแสดงถึงเกียรติยศและความสูงส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เป็นสัญลักษณ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการที่สำคัญ

ดังที่ ธานก หมื่นคำวัง. (2555) กล่าวว่า “สิงห์” หรือ “สิงโต” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Lion” จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม “สิงห์” มีความสำคัญอย่างไรกับศิลปกรรม มีความหมายอย่างไร เป็นสัญลักษณ์หรือมีบทบาทหน้าที่อะไรในทางโหราศาสตร์ จะเห็นได้ว่าสิงห์ หรือ สิงโต นี้จะปรากฏในศาสนสถานมากมายหลายแห่ง ซึ่งแต่ละที่ก็มีความแตกต่างในลักษณะรูปร่าง หรือ จุดประสงค์สำคัญนั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามสถาปัตยกรรม อย่างที่รู้กันอยู่ว่าสิงโตมีแหล่งกำนิดในทวีปแอฟริกาและเอเชียกลาง กลุ่มอารยธรรมในแถบนั้นก็ย่อมได้เห็นสิงโตด้วยเช่นกัน สิงโตกลายเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ในเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ในเทพนิยายบ้าง เรื่องความมีพลังอำนาจบ้าง และก็อาจเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้กับสิงโตในยุคโบราณ อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับ สิงโตก็ได้แพร่กระจายมาจากแหล่งกำเนิด จึงทำให้ลักษณะของสิงโตในแต่ละอารยธรรมที่ถูกเผยแพร่ออกไปได้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คล้องกับวัฒนธรรมของตนเอง สิงโตขอม (เขมร) มีลำตัวสูงยาว มีฟันซี่เล็กเท่ากันหมด จมูกใหญ่เป็นก้อน ใบหน้าค่อนข้างดุร้าย ลักษณะของขนแผงคอจะไม่ค่อยมีแต่ขนส่วนหัวจะบานเรียบไปด้านหลัง คล้ายกับผู้หญิงผมสั้น สิงโตทั้งที่สลักจากหินและโลหะสัมฤทธิ์เป็นสิ่งประดับที่พบเห็นได้บ่อยตามอนุสรณ์สถานของเขมร ในเอเชียไม่มีสิงโต ยกเว้นแต่ในแถบเอเชียไมเนอร์ (ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว) และในแถบอินเดียตะวันตก ประติมากรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม และจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติกรรม รวมถึงความเชื่อที่พระมหากษัตริย์โบราณในแต่ละอาณาจักร เมื่อประทับอยู่ที่ใด ก็จะมีสิงโตหมอบอยู่ข้างพระราชบัลลังก์เสมอ เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่สามารถสยบได้แม้กระทั่งสัตว์ที่ดุร้ายและมีพลังอำนาจเหนือสัตว์ทั้งหลาย จนถือกันว่าเป็นสัตว์ที่คู่ควรแก่ความเป็นพระราชา และได้สืบทอดคติความเชื่อนี้ต่อมาคติความเชื่อเกี่ยวกับราชสีห์ยังถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงความมีพลังอำนาจ ความกตัญญู และการปกป้องภยันตรายต่างๆ การใช้รูปสิงห์หรือราชสีห์เป็นเครื่องประดับสถานที่ต่างๆ จึงเป็นที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมโบราณ

เช่นเดียวกับ ธนสาน สกุลสรรเสริญ. (2554) กล่าวถึงราชสีห์หรือสิงโตว่า “พระเจ้ากรุงกัมพูชา” คชสีห์ สัตว์ในตำนานที่เป็นส่วนผสมระหว่างคชสาร (ช้าง) กับ ราชสีห์ (สิงโต) คือมีรูปเหมือนราชสีห์ แต่มีวงเหมือนช้างนั่นเอง เนื่องจากในด้านวรรณกรรม วรรณคดี สิงโต หรือ สิงห์ เป็นสัตว์ในตำนานป่าหิมพานต์ เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังสูง ดูสง่า และน่าเกรงขาม ในตำนานป่าหิมพานต์สามารถจำแนกสิงห์ ออกเป็น 2 ชนิด คือ ราชสีห์ เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังสูง มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดคือ บัณฑุราชสีห์ กาฬสีหะ ไกรสรราชสีห์ และติณสีหะ และสิงห์ผสมเป็นสิงห์ที่มีลักษณะประสมกับสัตว์ประเภทอื่น ได้แก่ เกสรสิหะ เหมราช คชสีห์ ไกรสรจำแลง ไกรสรคาวี ไกรสรนาคา ไกรสรปักษาโลโต พยัคฆ์ไกรสร สางแปรง สกุณไกรสรสิงฆ์ สิงหคาวี สิงหคักคา สิงหพานร สิงโตจีน สีหรามังกร เทพนรสีห์ ฑิชากรจตุบท โต โตเทพสิงฆนัต ทักทอ ตามคติจักรวาลโหราศาสตร์ “สิงห์” ถือเป็นพาหนะของพระอาทิตย์ “เทพพระเจ้าแห่งแสงสว่าง” เป็นตัวแทนของการบูชาสุริยเทพ ในกัมพูชา สิงโตเหล่านี้เป็นสุริยะสิงห์ ในตำนานโดยทำหน้าที่เฝ้ายามคู่กับพญานาค ซึ่งเป็นสัตว์จากดวงจันทร์ตามตำนานการปรากฎตัวของสิงโตสัญลักษณ์จักรราศีต่างๆ เช่นเดียวกับกลุ่มดาวสิงโต ในจันทรคติพระวิษณุเป็นเทพองค์หนึ่ง เป็นพระผู้สร้างเวลาผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งปรากฏให้เห็นทั้งในระบบสุริยะและจันทรา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวนกอินทรีย์หรือกลุ่มดาวสิงโตผู้เฝ้าดวงอาทิตย์นี้จะไม่อาจแยกออกจากพญานาค ซึ่งเป็นผู้เฝ้าดวงจันทร์ได้ และราม วัชรประดิษฐ์. (2555) กล่าวถึงราชสีห์ในลักษณะความเชื่อและความสัมพันธ์ต่าง ๆ เชื่อว่า เทวรูปสัมฤทธิ์เหล่านี้เป็นศิลปะเขมร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เดิมประดับไว้ที่ประสาทนาคพันในนครธม ปราสาทนาคพันเป็นการจำลองสระอโนดาตในชมพูทวีปตามคติไตรภูมิ รูปสัตว์สำริดเหล่านี้เป็นการจำลองสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่อยู่รอบๆสระอโนดาตในเอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัดของไทยก็มีกล่าวถึงครับ แต่กล่าวผิดว่าเป็นรูปสัมฤทธิ์ที่หล่อโดยพระเจ้าอู่ทองเรียกว่า ‘รูปสิบสองนักษัตร’ มีรูปมนุษย์เป็นรูปพราหมณ์ รูปช้างเอราวัณ รูปม้าสินธพ รูปคชสีห์ รูปราชสีห์ รูปสิงโต รูปโคอุสุภราช รูปกระบือ รูปกระทิง รูปหงส์ รูปนกยูง รูปนกกระเรียน ทำไว้เป็นคู่ๆ ต่อมาใน พ.ศ.๑๙๗๔ สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) ทรงยกทัพไปตีเมืองนครธมแตกก็โปรดนำรูปสัมฤทธิ์เหล่านี้มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ภายหลังไปอยู่ที่วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีสรรเพชญ์บ้าง ศักราช ๗๙๓ สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ และท่านจึงให้พระราชกุมาร ท่านพระนครอินทร์เจ้า    เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้นท่านจึงให้พญาแก้ว พญาไท เอารูปภาพทั้งปวงมายังพระนครศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีก็เทเอาครัวอพยพ ชาวพระนครและรูปภาพทั้งปวงในหน้า  พระบัญชรสิงห์ นั้นส่งไปเมืองหงสาวดี ตามคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าทรงเลือกรูปสัมฤทธิ์ที่พระองค์โปรดคือ รูปช้างเอราวัณ รูปม้าสินธพ รูปราชสีห์ รูปคชสีห์ รูปสิงห์ รูปมนุษย์ไปหงสาวดี ทำให้การเอารูปสัมฤทธิ์มาสันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการถ่ายโอนอำนาจศักดิ์สิทธิหรือความเป็นศูนย์กลางจักรวาลจากนครธมซึ่งล่มสลายลงมาสู่อยุธยาในฐานะศูนย์กลางของจักรวาลแทน และจากอยุธยาที่เสียความเป็นรัฐเอกราชความเป็นศูนย์กลางศักดิ์สิทธิก็ถ่ายโอนต่อไปยังหงสาวดีผ่านทางรูปสัมฤทธิ์เหล่านี้

ต่อมา พ.ศ.๒๑๔๒ พวกยะไข่ได้เมืองหงสาวดี ก็ขนเอารูปสัมฤทธิ์เหล่านี้ไปตั้งถวายเป็นพุทธบูชาพระมหามัยมุนี ในเมืองยะไข่ ปัจจุบันรูปสัมฤทธิ์นี้เหลืออยู่แค่ ๖ รูปเท่านั้น เป็นรูปช้างเอราวัณ ๑ รูป รูปมนุษย์ ๒ รูป รูปสิงห์ ๓ รูป (หัวหายไป ๑) ตรงตามคำให้การขุนหลวงหาวัด แต่หัวสิงห์เป็นของทำภายหลังเพราะเป็นหัวสิงห์แบบพม่าไม่ใช่เขมร สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงทำเชิงอรรถในหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดไว้ว่า รูปโคอุสุภราชอยู่ที่พระพุทธบาท(เข้าใจว่าที่สระบุรี) สมัยนี้มีความเชื่อว่าหากได้ลูบคลำรูปสัมฤทธิ์เหล่านี้จะรักษาอาการเจ็บป่วยได้ ประชาชนที่นับถือจึงมาวัดพระมหามัยมุนี เพื่อไปลูบคลำกัน ซึ่งอาจมีการสูญเสียคุณค่าทางศิลปะตามสภาพและตามกาลเวลา

สรุปได้ว่า สิงโต นับว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและมีเสน่ห์มากในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน แต่ละอารยธรรมต่างก็รู้จักสิงโต ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์มักจะล่าสัตว์หาอาหารกินกัน สิงโตเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มนุษย์ยุคนั้นได้พบเห็น และสู้กับสิงโตที่ดุร้าย จนทำให้มนุษย์เกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่ายทอดลงบนผนังถ้าด้วยเทคนิคการเขียนสี จนกลายเป็นจิตรกรรมบนฝาผนังที่เป็นแม่แบบของมนุษย์ในยุคโบราณ กลุ่มอารยธรรมได้พัฒนาจิตรกรรมฝาผนังจากภาพที่เป็นระนาบแบนราบ ให้ยกสูงขึ้นเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำประดับบนฝาผนังของสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์บ้าง ศาสนสถานบ้าง แล้วแต่ความเชื่อและการตีความในรูปแบบการเป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ต่างๆ จากภาพแกะสลักนูนต่ำกลายเป็นภาพแกะสลักนูนสูง และจนในที่สุดศิลปกรรมรูปสิงโตจึงได้ถูกออกมาเป็นประติมากรรมที่มีรูปร่าลักษณะเป็นภาพลอยตัว เหมือนจริง ทำให้ยิ่งเห็นคุณค่าและความสำคัญมากขึ้นเมื่อศิลปกรรมรูปสิงโตได้พัฒนามาถือขีดสุดแล้ว แต่ละอารยธรรมต่างก็มีความเชื่อที่แตกต่างกัน บ้างก็นำรูปปั้นสิงโตใช้เป็นตัวแทนในการปกป้องคุ้มกันสิ่งต่างๆ ไม่ให้เข้ามายังสถานอันศักดิ์สิทธิ์ กลายเป็นผู้พิทักษ์ เฝ้ารักษาของ เรามักจะเห็นรูปปั้นสิงโตตั้งอยู่หน้าประตูบ้าง บนบานประตูบ้าง หรือบริเวณทางเข้าออกของประตู เหตุผลที่นำเอารูปสิงโตมาทำเช่นนี้ก็เพราะว่า สิงโตเป็นสัตว์ใหญ่ มีอำนาจเป็นจ่าฝูง น่าเกรงขาม สัตว์น้อยใหญ่ต่างพากันเกรงกลัวอำนาจและไม่กล้าเข้าใกล้ ก็เปรียบว่าจะไม่มีสิ่งชั่วร้ายใดๆ เข้ามากล้ากลายได้ บ้างก็นำรูปสิงโตมาเล่าเรื่องราววิถีชิวิตลงบนผนังกับสิ่งที่มนุษย์ได้พบเจอมา เช่น การสู้รบปรบมือกับสิงโต การทารุณกรรมสิงโตอย่างโหดร้ายของคนในยุคนั้น ซึ่งทำให้เราทราบถึงเรื่องราววิถีชีวิตของคนในยุคนั้นกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือสุดท้ายก็นำรูปสิงโตมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันของกษัตริย์ เปรียบสิงโตเป็นเหมือนกษัตริย์ที่เรืองอำนาจบารมีเหนือสิ่งอื่นใด เป็นที่น่าเกรงขามของสิ่งทั้งปวงถึงแม้ว่าลักษณะภายนอกของสิงโตของแต่ละอารยธรรมนั้นจะไม่เหมือนกัน บางตัวมีปีกบินได้ บางตัวมีลวดลายสวยงาม บางตัวมีกล้ามเนื้อที่เป็นมัดๆ แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละชาติ แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่อยู่ภายในที่ถูกซ้อนด้วยรูปกายต่างเผ่าพันธุ์นั้นเป็นสิ่งที่เหมือนและคล้ายคลึงกันทั่วโลก ทำให้สิงโตจึงเป็นเครื่องประดับตกแต่งตามสถาปัตยกรรมในที่ต่างๆ นั้น ถูกนำมาด้วยเรื่องของความเชื่อและการเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมแห่งนั้น เพื่อประโยชน์สุขทางจิตใจของมนุษย์ไปชั่วกาลสมัย

 

Writer : นางสาวอณิษฐา      หาญภักดีนิยม

บรรณานุกรม

ธานก หมื่นคำวัง. สิงโตในตำนานเขมรหล่อจากสัมฤทธิ์. แหล่งที่มา: http://www.thailandsworld.com/.

ธนสาน สกุลสรรเสริญ. ศิลปะเขมรในประเทศไทย. แหล่งที่มาhttp://www.cpss.ac.th/learnonline/art_bun_52/Art/Less_5_1.html.

ราม วัชรประดิษฐ์. พัฒนาการของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวอทยาลัย, 2555.

 

Avatar

เขียนโดย พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที