นิสิต มจร กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นภายใต้พระราชปณิธานของพระบทสามเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ ๕) โดยพระองค์ปรารภถึงความสำคัญในการจัดการศึกษาของพระภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัท จึงได้สถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฏกและศาสตร์ชั้นสูง โดยพระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ภายใต้พันธกิจด้านการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตามยุคสมัย จวบจนปัจจุบันได้ยกระดับขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับโลกตามแผนยุทธศาสตร์ ระยะ ที่ ๑๒ ของหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีพระนิสิตทั่วทั้งประเทศคลอบคลุมในส่วนภูมิภาคและขยายสาขาในภูมิภาคต่างๆทั้งในยุโรปและเอชีย ซึ่งอนุวัติตามพุทโธวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กล่าวไว้เมื่อครั้งส่งพระสาวกออกจาริกเผยแพร่พระพุทะศาสนาครั้งยุคพุทธกาลว่า

“จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย

โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสสานํเทเสถ

ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ”

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่ทวยเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น (ศีล) งามในท่ามกลาง (สมาธิ) และงามในที่สุด (ปัญญา) เถิด…ดังนี้เป็นต้น” (วิ. มหา. ๔/๓๒/ ๔๐)

ด้วยเหตุนี้เอง นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์จึงต้องปฏิบัติตามข้อบัคงคับมหาวิทยาลัยว่าด้วย การปฏิบัติศานกิจก่อนสำเร็จการศึกษา ที่กำหนดสาระสำคัญไว้ว่า นิสิตผู้สำเร้จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะต้องเข้าฝึกการอบรมวิปัสนนากัมมัฏฐาน แบะปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา ๑ ปี เมื่อการปฏบัติทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติครบถ้วนดั้งนี้แล้วจึงจะผ่านการอนุมัติให้จบการศึกษาพุทธศาสตร์บัณฑิตได้อย่างสมบรูณ์

นับได้ว่านิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จรรโลง สืบทอด คุณค่าของพระสงฆ์ที่มีต่อโลกได้อย่างสมบรูณ์ โดยมีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง เพราะการเป็นสมณะไม่ได้มีเพียงคำจัดกัดความว่าต้องเป็นผู้หลีกเว้นความวุ่นวาย แต่การเป็นสมณะ หรือผู้สงบนั้นต่างประกอบด้วยความเสียสละ วิริยะ กรุณา และคุณธรรมอื่นๆประกอบด้วย เฉกเช่นการเป็นนิสิตที่ศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษา ก็ต้องประพฤติตนในฐานะสมณะหรือสาวกที่ปฏบัติตนตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงวางแบบแผนไว้แก่สาวกของพระองค์ จากที่กล่าวมานั้นจึงเห็นว่า นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัยมีบทบาทที่ช่วยส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและสมบูรณ์พร้อมทั้งวิชชาและจรณะ

บทบาทพระนิสิตกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้นไม่อาจจำกัดอยู่ในวงแคบ หรือยกให้เป็นบทบาทของบุคลคลใด บุคลลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์หนึ่ง โดยเราไม่อาจกล่าวได้ว่า เป็นหน้าที่ของมหายานเท่านั้น ส่วนเถรวาทมุ่งเน้นแต่ปฏบัติตนให้พ้นจากทุกข์ ความคิดนี้เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง

ด้วยว่า การเผยแพร่พระพุทธศาสนากับการรักษาอายุพระพุทะศาสนาเป็นเรื่องเดียวกันที่ไม่อาจแยกจากกันได้ เปรียบเหมือนล้อรถที่วิ่งไปด้วยกันต้องใช้ความสมดุลที่ถูกต้องควบคุม หน้าที่ของผู้เผยแพร่คำสอนก็ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าอาวาส หรือ มหาเถรสามคมแต่เพียงผู้เดียวที่ต้องทำ การเผยแพร่พระพุทธศาสนาก็เป็นหน้าที่การมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนด้วย

นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นพุทธศาสนิกชนที่ส่วนใหญ่เป็นบรรพชิต เมื่อเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัยแล้วจึงไม่อาจหลีกพ้นหน้าที่ทีต่างรับสืบต่อมาจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ กอปร ทั้ง พรบ.ของมหาวิทยาลัยได้กำหนดหน้าที่ของนิสิตไว้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในทุกๆปี เราจึงเห็นบทบาทของพระนิสิตทำกิจกรรมและโครกงารต่างๆร่วมกับคณะสงฆ์ ส่วนราชการ และส่วนงานอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น บทบาทด้านการส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ บทบาทด้านการสอนศีลธรรม การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับชาวเขา เป็นต้น

กิจกรรมและโครงการเหล่านี้ ได้ก่อเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและต่อตัวนิสิตเองด้วย เพราะกิจรรมเหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาสังคม เยาวชน ส่งเสริมศรัทธาชาวพุทธให้มั่นคง และเมื่อกิจกรรมหรือโครงการเป็นที่ยอมรับ นิสิตซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมเหล่านั้นก็ได้รับการชื่นชมจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วย

บทบาทนิสิต มจร กับการสนองงานกิจการคณะสงฆ์

คำว่า “งานคณะสงฆ์” หมายถึง กิจกรรมหรือโครงการที่คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองดำเนินการ อาทิ การศึกษา การปกครองวัด การเผยแผ่ งานสาธ่ารณสงเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งงานดังกล่าวนี้ได้ถูกบรรจุไว้ใน พระราชบัญญํติการปกครองคณะสงฆ์ที่กำหนดให้ วัดทั่วประเทศไทยดำเนินการรูปแบบกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาสังคมและจิตใจของพุทธศาสนิกชน

นิสิตบางรูปเมื่อจะต้องออกฝึกภาคสนามหรือปฏิบัติศาสนกิจได้อาสาปฏิบัติงานในกองเลขานุการเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล หรือเจ้าคณะจังหวัด หรือในบ้านเกิดตัวเองเป็นต้น ซึ่งภาระงานจะเกี่ยวข้องกับการปกครองคณะสงฆ์ บางรูปเมื่อจบการศึกษาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส หรือ เลขานุการของเจ้าคณะพระสังฆธิการไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่งตามสมควร ดังกรณีตัวอย่างของพระครูเกษมธีรคุณ ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะมนุษยศาตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแพรก

เมื่อท่านเป็นนิสิตก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้านการปกครอง สนองงานพระเดชพระคุณอดีตเจ้าอาวาสอย่างต่อเนื่อง จนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์วัดบางแพรกให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแพรกในเวลาต่อมา

จากที่กล่าวมานี้ เราได้เห็นบทบาทพระนิสิตด้านการสนองงานกิจการคณะสงฆ์เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น การสนองงานคณะสงฆ์ด้านอื่นๆยังมีอีกมาก ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า พระนิสิต มจร ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเผยแผ่พระพุทธสาสนาด้านการปกครอง

บทบาทพระนิสิต มจร ด้านการสอนศีลธรรม

          พระสงฆ์ไม่อาจหลีกหนีภาระที่ชื่อว่าการสอนได้ การสอนเป็นการเผนแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ หน้าที่หลักของพระสงฆ์ก็ขึ้นชื่อว่าการสอนย่อมมาเป็นอันดับต้นๆ และหน้าที่นี้ก็ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นของพุทธศาสนิกชน

พระนิสิต มจร ไม่อาจปัดภาระดังกล่าวนี้ได้ เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนแล้ว ย่อมเป็นภาระแรกที่ต้องตระหนักถึงว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร

งานคณะสงฆ์นั้นมีอยู่มากมายจะกำหนดความสำคัญเรื่องใดเป็นสิ่งที่ทำยากพราะทุกเรื่องนั้นล้วนแต่สำคัญ ฉะนั้น การเลือกสิ่งที่ถนัดย่อมเป็นสิ่งที่นิสิตสามารถทำได้ก่อน เพราะนิสิตบางรูปไม่ถนัดงานสอนก็เลือกงานปกครอง หากไม่ถนัดงานปกครองก็เลือกงานสาธรณสงเคราะห์ เป็นต้น แต่เราไม่อาจพูดว่างานไหนสำคัญกว่าใคร

ปัจจุบันการสอนศีลธรรมของพระนิสิตได้พัฒนาไปตามยุคสมัย ในสถานการร์ปัจจบันคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจต่อสื่อ เน้นความรวดเร็ว ไม่เคร่งครัด ยืดหยุ่น การสอนพระนิสิตก็พัฒนาไปตามความต้องการแต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทิ้งหลักการณ์ของพระพุทธศาสนา

นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานด้านการสอนศีลธรรมได้อย่างน่าชื่นชมมีอยู่ทั่วประเทศ จากรายงานของกิจการนิสิต มจร ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ รหัสโครงการ กน.๐๕๐๓ ระบุว่า มีพระนิสิตที่สอนศีลธรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย บางรูปสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน บางรูปจัดตั้งทีมพระวิทยากรออกเผยแผ่คำสอนจละจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะ พัฒนาความรู้ให้กับเยาวชนทั่วประเทศ

การรวมตัวกันของพระวิทยากรกลุ่มต่างๆ ได้ก่อให้เกิดการจัดตั้งสถาบันพัฒนาพระวิทยากรขึ้นในประเทศไทย ปัจจุบันมีสำนักงานทีวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร มีสมาชิกที่เป็นพระวิทยากรทั้งหมด ๑,๐๐๐ รูป/คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี

บทบาทพระนิสิตต่อการสร้างสันติสุขในชายแดนใต้

          ความรุนแรงและปัญหาความไม่สงบในสามจังหสัดชายแดนใต้ยังไม่ทีท่าว่าจะสงบลงโดยง่าย ปัจจบันสถิติผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานพบว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ๒๕๖๑ เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นรวมทั้งสิ้น ๑๓๔ เหตุการณ์ เฉลี่ยการเดือนละ ๔๕เหตุการณ์ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวน ๑๐๑ ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต ๕๐ ราย และบาดเจ็บ ๕๑ ราย โดยเดือนตุลาคมมีจำนวนเหตุการณ์น้อย ที่สุด (๓๕ เหตุการณ์) และเดือนธันวาคมเกิดเหตุการณ์มากที่สุด (๕๔ เหตุการณ์)

          แม้ว่าความรุนแรงยังปะทุอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่พระนิสิตก็ยังคงตั้งใจทำงานอย่างต่อเนือง ดังจะเห็นได้จากความพยายามเจราพูดคุยในหลายๆเวทีของคณะสงฆ์ที่มหาวิทยาละยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ดำเนินการร่วมกัน

ทั้งนี้ ยังพบว่ามีพระนิสิต มจร หลายรูปลงพื้นที่และยังคงยืนหยัดที่จะฟื้นฟูสันติภาพชายแดนใต้ให้คืนกลับปกติ ดังเห็นได้จากโครงการวิจัยและพัฒนาพระนิสิตสู่อุดมการณ์พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อพัฒนางานในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๘ เป็นการร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม, ตัวแทนเครือข่ายพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพระผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาพระนิสิตสู่อุดมการณ์พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดยกองกิจการนิสิตร่วมกับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำงานของ พระธรรมทูตอาสาในพื้นที่กับนักวิจัยที่พยายามบูรณาการทรัพยากร เพื่อนำไปช่วยแก้ไขปัญหาความม่สงบ

บทบาทพระนิสิตในการจัดงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยเท่านั้น ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พระบัณฑิต นิสิตและนักเรียนของมหาวิทยาลัยออกไปบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ พระศาสนา ในระหว่างปิดภาคการศึกษา โดยจัดให้มีโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ เป็นต้นมา โดยการอบรมเยาวชน ประชาชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักศีลธรรม  และสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการห่างไกลอบายมุข  สิ่งเสพย์ติดทุกประเภท  เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้พระนิสิตได้ฝึกประสบการณ์การทำงานเพื่อสังคมและพระพุทธศาสนาโดยการประยุกต์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคมตามอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย และนำไปสู่การผลิตบัณฑิตตามอัตลักษณ์บัณฑิตที่กำหนไว้ คือ “มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา”

ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี ร่วมกับ วิทยาเขต คณะ วิทยาลัย ห้องเรียน และหน่วยวิทยบริการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยมีจำนวนโครงการที่เสนอเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๔๕๒ โครงการ ประมาณการผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๙๖,๓๙๘ รูป/คน ในพื้นที่ ๕๑ จังหวัดทั่วประเทศ และในต่างประเทศ ๔ โครงการ

จากรายงานโครงการย่อมชี้ชัดถึงบทบาทของพระนิสิต มจร อย่างชัดเจนว่าสามราถดำรงตนเป็นแบบอย่างทีดี เป็นสมณะที่ดี และเป็นนิสิตที่พึงประสงค์ ตามนวลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้ระบุว่า ๑.มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ๒. รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ๓. มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา ๔.มีความสามารถในการแก้ปัญหา  ๕. มีความใฝ่รู้ใฝ่คิด ๖. มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวม  ๗.มีโลกทัศน์กว้างไกล  ๘. มีความเป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา  ๙.มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม

สรุป

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๒ คณะสงฆ์ได้ตื่นตัวต่อการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์อย่างมาก โดยเป็นนโยบายที่มาจากรัฐบาลที่หวังจะปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาให้มั่นคงซึ่งได้ส่งผลโดยตรงต่อมหาวิทยาลัยให้ยกระดับการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตให้ตอบสนองคณะสงฆ์และความต้องการของสังคมมากขึ้น โดยหวังว่าจะก่อเกิดผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำเสนอบทบาทของพระนิสิต มจร ที่มีต่อการพเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้รับรู้ในวงกว้างและเป็นที่ยอมรับในสังคมต่อไป

สามเณรสหัสวัชร์ สกุลซ่ง

นิสิตคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ สาขาสังคมศึกษา

อ้างอิง

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๒ หใดที่ ๗ การสำรเจการศึกษา ข้อ ๖๒ (๖๔.๒).

ศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารการถอดบทเรียนการสนับสนุนการพัฒนาการปฏิบัติศาสนกิจรายจังหวัดภายใต้โครงการวิจัยลัพัฒนานิสิตสู่อุดุมการณ์พระพุทธศาสนาเพือ่สังคมและโครงการพระรรมทายาทเพื่อสังคม โดยพระมหาสุเทพ สุปณฺฑิดต และคณะ.

๕๐ ปี อุดมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เอกสารงานพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ๒๕๔๐.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (๒๕๕๖). การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Avatar

เขียนโดย พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที