KM : การพัฒนาศักยภาพการวิจัยด้วยกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ
ดร. ลำพอง กลมกูล
คณะกรรมการการจัดการความรู้ ศูนย์อาเซียนศึกษา
การศึกษาทางพระพุทธศาสนาสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าได้เทียบเท่ากับศาสตร์สาขาอื่นๆ ได้โดยผ่านกระบวนการวิจัยที่เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ ซึ่งนักวิจัยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ในการวิจัยที่ชัดเจนตามยุทธศาสตร์ของชาติและยุทธศาสตร์ของสถาบัน 2) สามารถออกแบบการวิจัยที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยและมีความทันสมัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ประกอบด้วย การออกแบบการวิจัยแบบผสมวิธี การสังเคราะห์งานวิจัย การพัฒนาทฤษฎีฐานรากผ่านกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ที่เป็นปัญหาวิจัย 3) มุ่งเน้นการทำงานวิจัยให้มีความเป็นสากล ได้แก่ การปรับระบบการอ้างอิง
ให้เป็นแบบสากล (รูปแบบ APA) และการน าเสนอผลงานวิจัยที่มีความเป็นสากล กล่าวคือ สามารถเรียบเรียงเขียนรายงานการวิจัยโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก 4) สามารถเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI และวารสารระดับนานาชาติ รวมทั้งการส่งบทความวิจัยเพื่อนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และ 5) สามารถพัฒนาศักยภาพของทีมวิจัยในการประสานงานเพื่อขอทุนวิจัยทั้งจากแหล่งทุนภายในประเทศ เช่น เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช) และแหล่งทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการประสานความร่วมมือด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนากับประเทศในประชาคมอาเซียนต่อไป
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย การศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศและการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ๆ ในประชาคมอาเซียน แบ่งการบริหารงานออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนงานบริหาร และ 2) ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ โดยที่ในส่วนของกลุ่มงานวิจัยและสารสนเทศ จะมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานส่งเสริมการท าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้พร้อมน าลงสู่การปฏิบัติที่จริง บริหารและติดตามงานวิจัย จัดระบบสารสนเทศเพื่อเป็นคลังข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จากภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษา และจากแผนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงเป็นประเด็นที่ท าให้ผู้เขียนสนใจในการนำเสนอรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนางานวิจัยทางพระพุทธศาสนาให้มีการออกแบบการวิจัยที่ทันสมัยและสามารถบูรณาการร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งเพื่อรองรับการเปิดตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพในการวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียน จึงเป็นเป้าหมายที่ส าคัญอีกเป้าหมายหนึ่งเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพของงานวิจัยของนิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้มีความเป็นสากล โดยเริ่มต้นจากการพัฒนางานวิจัยทางพระพุทธศาสนาในขอบเขตของประเทศในประชาคมอาเซียน โดยมีรายละเอียดของเนื้อหาที่ผู้เขียนกำหนดไว้เป็นกระบวนการ 5 ขั้นสู่การวิจัยในอาเซียน ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.asc.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2015/05/Visakha-Bucha-2015_Thai.pdf
สรุป
การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียนเป็นเป้าหมายในการพัฒนางานวิจัยตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (2555-2559) ซึ่งกระบวนการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนางานวิจัย ผู้เขียนได้น าเสนอไว้เป็นกระบวนการ 5 ขั้นสู่การวิจัยในอาเซียนประกอบด้วย ก าหนดยุทธศาสตร์ในการวิจัยให้ชัดเจนมุ่งเน้นการออกแบบการวิจัยที่หลากหลายยึดระบบการอ้างอิงแบบ APA Style – ตั้งเป้าหมายเผยแพร่ผลสู่มวลชน – เน้นฝึกฝนสร้างทีมงานประสานทุนวิจัย ดังนั้น การพัฒนางานวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยาก หากแต่เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องใส่ใจในรายละเอียด และเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นเพื่อศึกษาแบบแผนการวิจัยในระดับนานาชาติ แต่ต้องไม่ลืมความเป็นเอกลักษณ์ของงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยทางพระพุทธศาสนาบูรณาการร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ให้น าไปสู่การพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ของงานวิจัยของสถาบันและมีความทันสมัยก้าวไกลไปพร้อม ๆ กับกระแสความเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน