ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การศึกษาผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตและเปรียบเทียบความฉลาดทาง อารมณ์ของนิสิตก่อนและหลังการฝึกสมาธิ จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นิสิตคณะครุศาสตร์ จานวน ๒17 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired Samples t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย independent simples t-test กาหนดระดับค่า ความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ผลการวิจัยพบว่า ๑. นิสิตส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบรรพชิต จานวน 116 คิดเป็นร้อยละ 53.8 เรียนอยู่ใน ชั้นปีที่ ๒จานวน 71 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ มีผลการเรียนระหว่าง 1.01-2.00 จานวน 135 คิดเป็น ร้อยละ 62.2 ส่วนใหญ่เรียนอยู่ในสาขาสังคมศึกษา จานวน ๘๒ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๘ และมี ประสบการณ์การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติบ่อยครั้ง จานวน ๑๕๔ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๐ ๒. ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิต พบว่า ก่อนฝึกสมาธินิสิตมีความฉลาดทางอารมณ์ระดับน้อย ( = 2.๕๐, S.D. = .๒๘๗) หลังการฝึกสมาธิมี ความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นระดับมาก ( = 2.98, S.D. = .351) ๓. ผลการเปรียบเทียบการความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตก่อนและหลังการฝึกสมาธิแบบ อานาปานสติ จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับชั้นปีและอายุ ก่อนและหลังการฝึกสมาธินิสิตมี ความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน ขณะที่นิสิตที่มี สถานภาพ ระดับผลการเรียน สาขาวิชาที่ศึกษา และประสบการณ์การฝึกสมาธิ แตกต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

Attachments

File Description File size Downloads
pdf 2559-215 พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ 3 MB 330
Avatar

เขียนโดย พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที