ภารกิจวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนาและความมั่นคงของการจัดการศึกษาในประชาคมอาเซียน พม่าศึกษาที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ

บทเกริ่น
        ในนามบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา ได้มีโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยกับคณะบุคลากรของสำนักติปิฏกสิกขาลัย (พระไตรปิฏกศึกษา) และได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมที่วัดจากแดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2563 ซึ่งได้ยินชื่อเสียงและกิจกรรมของวัดจากแดงในหลาย ๆ กิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับภารกิจด้านพม่าศึกษา มาอย่างยาวนานและที่สำคัญเป็นวัดใกล้บ้าน (พระประแดง) ที่มีพระมหาประนอม     ธมฺมาลงฺกาโร เป็นผู้อำนวยการติปิฏกสิกขาลัย ที่รณรงค์เกี่ยวกับการทอจีวรจากพลาสติก การรณรงค์เรียน   พระไตรปิฏก การรณรงค์ทำปุ๋ยจากขยะ และอีกหลายกิจกรรมที่เป็นการบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้ากับการศึกษา บูรณาการหลักคำสอนกับการดำเนินชีวิต ซึ่งผลที่ได้เป็นผลในเชิงของการสื่อสารและการยอมรับในวงกว้าง ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมกับมิติทางพระพุทธศาสนา จึงได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้การเชิญชวนโดย    แม่ชีนันทนัช อัศดรศักดิ์ นิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต มจร วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม ซึ่งได้มองเห็นความสำคัญของวัด จึงได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อใช้การวิจัยในการพัฒนาผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นแก่ผู้สนใจในนามของวัดจากแดง หรือในนามพระไตรปิฎกศึกษา ซึ่งในการเข้าร่วมประชุมได้สัมภาษณ์และลงพื้นที่สังเกตและสัมผัสกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และจะได้นำมาเล่าแบ่งปันเป็นข้อมูลด้านการวิจัย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศาสนาผ่านการศึกษา พระไตรปิฎกศึกษา และด้านพม่าศึกษาที่ได้พบที่วัดจากแดงต่อไป

(ก) การวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนา และความมั่นคงของอาเซียน

  1. ศูนย์อาเซียนศึกษากับภารกิจร่วม โดยส่วนงานวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีพันธกิจเป็นการส่งเสริมการทำวิจัย ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนานักวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้นำกลับไปพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ เมื่อได้รับเชิญให้เป็นคณะนักวิจัยและออกแบบการวิจัย จึงเริ่มต้นด้วยการเข้าร่วมประชุมกับทีมงานของติปิฏกสิกขาลัย ที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎกศึกษา พระพุทธศาสนา และพม่าศึกษา ร่วมกับ คณะผู้วิจัยของวัดจากแดง เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนผ่านการวิจัยในชั้นเรียน โดยสถานที่ประชุม คือ วัดจากแดง ประเด็นของการพูดคุยเป็นการ (1) นำเสนอแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางของหลักสูตร (2) การพัฒนาหลักสูตรให้เกิดความหลากหลายและสอดคล้องกับผู้เรียนอย่างแท้จริง และ (3) ประเด็นอื่น ๆ ที่จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายเป็นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของผู้เรียน และการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านการจัดการศึกษา และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพม่าศึกษาบนฐานของพระพุทธศาสนา
  2. ภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษากับการวิจัย (1) ขั้นแรกเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของติปิฏกสิกขาลัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนของหลักสูตร (2) การสร้างแนวทางเพื่อการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านพม่าศึกษา หรืออาเซียนศึกษาในนามพม่า ผ่านบุคลากรของวัดจากแดง เช่น พระมหาประนอม ธมฺมาลังกาโร ที่เคยศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในพม่าเป็นเวลากว่า 12 ปี และที่สำคัญได้ดำเนินการจัดการศึกษาในแบบพม่า มีปฏิสัมพันธ์เครือข่ายกับพม่าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันดังจะเห็นได้จากมีการนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกจากประเทศเมียนมา จำนวน 9 รูปมาแสดงธรรม จัดกิจกรรมสาธยายพระไตรปิฎก บรรยายธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสาธยายพระไตรปิฎกภาษาบาลี เพื่อการเรียนรู้หรือเสริมสร้างศรัทธา เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา การสร้างองค์ความรู้ผ่านการนิพนธ์หนังสือ บรรยายธรรม ซึ่งผสมผสานบูรณาการด้านพม่าศึกษาไปในตัวด้วย (3) การสร้างสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหน่วยงานระหว่างมหาวิทยาลัย กับส่วนติปิฏกสิกขาลัย ที่จะสร้างงานร่วมกันภายใต้พันธกิจการเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต และตอบโจทย์พันธกิจด้านอาเซียนศึกษาโดยเฉพาะพม่าศึกษา หรือความเชื่อมโยงอื่น ๆ ผ่านผู้เขียนในระดับบุคคลก่อนเป็นเบื้องต้นและองค์กรอันจะพึงเกิดขึ้นได้ในอนาคต (4) การสร้างการแสวงหาความรู้ผ่านภารกิจการวิจัยในพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนองค์ความรู้ และความรู้ในเชิงพื้นที่ของวัดเอง ที่จะทำหน้าที่ในการจัดการศึกษา รักษาศรัทธา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาอย่างที่ทำอยู่ จัดการเรียนการสอนให้ทั้งพระ ฆราวาส ด้านพระพุทธศาสนาอย่างมีเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และสังคมรอบข้างด้วย ซึ่งทำให้วัดกลายเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของชุมชนและสังคมในภาพกว้างดังปรากฏ

(ข) พม่าศึกษา

ในนามบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาเคยจัดทำวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”(2562) โดยมี พระเดชพระคุณพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นโครงการวิจัยภายใต้ทุนวิจัยมุ่งเป้า ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์” โดยมี รศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต และ ดร.ลำพอง กลมกูล เป็นคณะผู้ร่วมวิจัย งบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และในการวิจัยนั้นได้สะท้อนคิดถึงศาสนาเป็นกลไกร่วมในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม  โดยวัดจากแดงได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เช่น การนิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎกมาบรรยายธรรม สอนธรรม ที่นัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้วิธีการจัดการศึกษา การแสดงความเคารพต่อพระในแบบเมียนมา และการทำให้สังคมไทยตระหนักถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบจดจำ (มุขปาฐะ) มีความหมายเป็นการสืบสานและรักษาพระพุทธศาสนา อันมีฐานรากและวิธีการจากเมียนมา

  1. วัดจากแดงกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทยพม่า การที่วัดจากแดงโดยท่านพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร และเครือข่ายที่เข้าไปใช้ชีวิตในพม่าเป็นเวลานาน เช่น พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (วัดมหาธาตุ คณะ 25 กทม) อยู่ใช้ชีวิตและศึกษาในเมียนมาไม่น้อยกว่า 18 ปี ท่านมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ใช้ชีวิตในเมียนมาเกินกว่า 12 ปี ท่านเหล่านี้รู้และพูดภาษาพม่าอย่างชำนิชำนาญ จึงเป็นเครือข่ายผ่านประสบการณ์ การศึกษา และการถอดองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนของรูปแบบการศึกษา ธรรมเนียมปฏิบัติ และการจัดการศึกษาในแบบพม่า และที่สำคัญมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้มีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง พม่า และอื่นๆ ที่มีพื้นถิ่นอยู่ในดินแดนที่ชื่อประเทศเมียนมา มาทำกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องในทุกวันหยุดและวันสำคัญ โดยกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เข้ามาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทยเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยกับพม่า และพม่ากับไทยโดยตรงผ่านลักษณะร่วมทางศาสนา คือพระพุทธศาสนาและวัดจากแดง

(ก) การวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนา และความมั่นคงของอาเซียน

  1. ศูนย์อาเซียนศึกษากับภารกิจร่วม โดยส่วนงานวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีพันธกิจเป็นการส่งเสริมการทำวิจัย ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนานักวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้นำกลับไปพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ เมื่อได้รับเชิญให้เป็นคณะนักวิจัยและออกแบบการวิจัย จึงเริ่มต้นด้วยการเข้าร่วมประชุมกับทีมงานของติปิฏกสิกขาลัย ที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎกศึกษา พระพุทธศาสนา และพม่าศึกษา ร่วมกับ คณะผู้วิจัยของวัดจากแดง เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนผ่านการวิจัยในชั้นเรียน โดยสถานที่ประชุม คือ วัดจากแดง ประเด็นของการพูดคุยเป็นการ (1) นำเสนอแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางของหลักสูตร (2) การพัฒนาหลักสูตรให้เกิดความหลากหลายและสอดคล้องกับผู้เรียนอย่างแท้จริง และ (3) ประเด็นอื่น ๆ ที่จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายเป็นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของผู้เรียน และการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านการจัดการศึกษา และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพม่าศึกษาบนฐานของพระพุทธศาสนา
  2. ภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษากับการวิจัย (1) ขั้นแรกเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของติปิฏกสิกขาลัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนของหลักสูตร (2) การสร้างแนวทางเพื่อการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านพม่าศึกษา หรืออาเซียนศึกษาในนามพม่า ผ่านบุคลากรของวัดจากแดง เช่น พระมหาประนอม ธมฺมาลังกาโร ที่เคยศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในพม่าเป็นเวลากว่า 12 ปี และที่สำคัญได้ดำเนินการจัดการศึกษาในแบบพม่า มีปฏิสัมพันธ์เครือข่ายกับพม่าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันดังจะเห็นได้จากมีการนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกจากประเทศเมียนมา จำนวน 9 รูปมาแสดงธรรม จัดกิจกรรมสาธยายพระไตรปิฎก บรรยายธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสาธยายพระไตรปิฎกภาษาบาลี เพื่อการเรียนรู้หรือเสริมสร้างศรัทธา เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา การสร้างองค์ความรู้ผ่านการนิพนธ์หนังสือ บรรยายธรรม ซึ่งผสมผสานบูรณาการด้านพม่าศึกษาไปในตัวด้วย (3) การสร้างสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหน่วยงานระหว่างมหาวิทยาลัย กับส่วนติปิฏกสิกขาลัย ที่จะสร้างงานร่วมกันภายใต้พันธกิจการเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต และตอบโจทย์พันธกิจด้านอาเซียนศึกษาโดยเฉพาะพม่าศึกษา หรือความเชื่อมโยงอื่น ๆ ผ่านผู้เขียนในระดับบุคคลก่อนเป็นเบื้องต้นและองค์กรอันจะพึงเกิดขึ้นได้ในอนาคต (4) การสร้างการแสวงหาความรู้ผ่านภารกิจการวิจัยในพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนองค์ความรู้ และความรู้ในเชิงพื้นที่ของวัดเอง ที่จะทำหน้าที่ในการจัดการศึกษา รักษาศรัทธา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาอย่างที่ทำอยู่ จัดการเรียนการสอนให้ทั้งพระ ฆราวาส ด้านพระพุทธศาสนาอย่างมีเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และสังคมรอบข้างด้วย ซึ่งทำให้วัดกลายเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของชุมชนและสังคมในภาพกว้างดังปรากฏ

(ข) พม่าศึกษา

ในนามบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาเคยจัดทำวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”(2562) โดยมี พระเดชพระคุณพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นโครงการวิจัยภายใต้ทุนวิจัยมุ่งเป้า ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์” โดยมี รศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต และ ดร.ลำพอง กลมกูล เป็นคณะผู้ร่วมวิจัย งบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และในการวิจัยนั้นได้สะท้อนคิดถึงศาสนาเป็นกลไกร่วมในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม  โดยวัดจากแดงได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เช่น การนิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎกมาบรรยายธรรม สอนธรรม ที่นัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้วิธีการจัดการศึกษา การแสดงความเคารพต่อพระในแบบเมียนมา และการทำให้สังคมไทยตระหนักถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบจดจำ (มุขปาฐะ) มีความหมายเป็นการสืบสานและรักษาพระพุทธศาสนา อันมีฐานรากและวิธีการจากเมียนมา

  1. วัดจากแดงกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทยพม่า การที่วัดจากแดงโดยท่านพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร และเครือข่ายที่เข้าไปใช้ชีวิตในพม่าเป็นเวลานาน เช่น พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (วัดมหาธาตุ คณะ 25 กทม) อยู่ใช้ชีวิตและศึกษาในเมียนมาไม่น้อยกว่า 18 ปี ท่านมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ใช้ชีวิตในเมียนมาเกินกว่า 12 ปี ท่านเหล่านี้รู้และพูดภาษาพม่าอย่างชำนิชำนาญ จึงเป็นเครือข่ายผ่านประสบการณ์ การศึกษา และการถอดองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนของรูปแบบการศึกษา ธรรมเนียมปฏิบัติ และการจัดการศึกษาในแบบพม่า และที่สำคัญมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้มีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง พม่า และอื่นๆ ที่มีพื้นถิ่นอยู่ในดินแดนที่ชื่อประเทศเมียนมา มาทำกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องในทุกวันหยุดและวันสำคัญ โดยกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เข้ามาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทยเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยกับพม่า และพม่ากับไทยโดยตรงผ่านลักษณะร่วมทางศาสนา คือพระพุทธศาสนาและวัดจากแดง
  2. วัดจากแดง กับกิจกรรมพม่าศึกษา การจัดสวดสาธยายพระไตรปิฎก และแสดงธรรม โดยการนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก จำนวน 9 รูป จากที่มีอยู่ทั้งหมด 13 รูป มรณภาพ 3 รูป และตั้งสัจจะอธิษฐานไม่เดินทางออกนอกประเทศ 1 รูป แต่ทั้งหมดเป็นการเห็นรูปแบบของการรักษาคำสอน รักษาพุทธพจน์ในแบบมุขปาฐะ และให้ความสำคัญกับวิธีการทรงจำพระไตรปิฎก หรือรักษาคำสอนด้วยวิธีการดังกล่าวด้วย ซึ่งเหมาะกับสมัยกาลและเป็นแบบแผนของการจดจำพระไตรปิฎก ผ่านคน หรือผ่านพระสงฆ์ที่มุ่งมั่นด้วยวิธีการดังกล่าว ภาพสะท้อนนี้จึงเป็นการรักษาแบบแผนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา การสื่อสารให้สังคมไทยได้รับรู้รับทราบต่อวิธีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในแบบ “มุขปาฐะ” การท่องจำ หรือการนำพระพุทธศาสนาและคำสอนพระพุทธศาสนาไว้ในคน และให้เห็นความสำคัญว่ารัฐบาลเมียนมา ยกย่องพระภิกษุเหล่านี้ และนิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎก มาเป็นต้นแบบตัวอย่างในการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ทำให้ทั้งชาวไทยที่สนใจ ใคร่ศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว และที่สำคัญได้ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างชาวเมียนมา ที่อยู่ในประเทศไทยได้เข้าร่วมในกิจกรรมเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวัด ชุมชนชาวพุทธไทย ชาวพุทธนานาชาติ อันหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์เมียนมาในประเทศไทย และการเรียนรู้ด้านพม่าศึกษา หรือการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เป็นวัฒนธรรมแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมสาธิตและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างกันของไทยและพม่า.
  1. วัดจากแดงกับความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างไทยกับพม่า ในวารสาร โพธิยาลัยที่ได้รับมอบมาเป็นฉบับระลึก “72 ปีความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา” มีคำโปรยในปกรองด้านในว่า “72 ปี ความสัมพันธ์ไทยเมียนมา : สยามรฎฺฐมรมฺมรฎฺฐานํ ทฺวาสตฺตติวสฺสิกสมฺพนฺโธ” มีข้อความที่เป็นภาษาบาลีและไทย ซึ่งผู้บรรยายนำมาบางส่วนว่า “แต่เดิมประเทศทั้งสอง มีชื่อเสียงหนึ่งเดียวกัน “สุวรรณภูมิ” มีความสัมพันธ์กันทั้งโดยทางภูมิศาสตร์ และศาสนา คือ มีพรมแดนติดกัน และเป็นเมืองพุทธนิกายเถรวาทเหมือนกัน แม้ทั้งสองจะมีความสัมพันธ์เฉกเช่นนั้นมายาวนานก็จริง แต่หากเป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตในระดับรัฐต่อรัฐแล้ว เพิ่งจะสถาปนาได้เพียง 72 ปี…” (จำรูญ ธรรมดา ประพันธ์) เมื่อสืบความตามข้อมูลนับตั้งแต่พม่าได้เอกราชจากอังกฤษ ศักราชของความสัมพันธ์ไทยพม่าก็เริ่มนับใหม่ ซึ่งหากมองย้อนในประวัติศาสตร์เราอาจเคยชินกับประวัติศาสตร์ไทยพม่า กับความสัมพันธ์และความเชื่องโยงกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติมาอย่างยาวนาน แต่หากศักราชใหม่ นับจากแต่การได้เอกราชจากอังกฤษ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ และทางการทูต ในส่วนทางศาสนา ทั้งในเชิงการแลกเปลี่ยนพระสงฆ์ เช่น พระมหาโชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9 (พระธรรมธีราชมหามุนี) พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (วัดมหาธาตุ คณะ 25 กทม)  พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร (ที่เชิญผู้บรรยายไปร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของติปิฎกสิกขาลัยในครั้งนี้) จรูญ ธรรมดา นักวิชาการอภิธรรมโชติกวิทยาลัย มจร.  และอีกหลายท่านที่เข้าไปศึกษาภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือการที่รัฐบาลไทย โดยคณะสงฆ์ได้เข้าร่วมในพิธีฉัฎฐสังคายนา ที่รัฐบาลพม่ากับคณะสงฆ์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนา 2500 ปี เริ่มทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 และมีพระเถระจากประเทศไทย เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภะ) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ กทม. หลวงพ่อปัญญานันทะ วัดชลประธานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี  และอีกหลายท่านร่วมพิธี หรือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนเมียนมาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 2-5 มีนาคม พุทธศักราช 2503 เหล่านี้นับเป็นความสัมพันธ์อันดีทางการทูตระหว่างรัฐ และการศาสนาระหว่างพระพุทธศาสนาจากประเทศไทย และเมียนมา รวมทั้งการที่ไทยได้ส่งพระมหาโชดก ญาณสิทธิ (พระธรรมธีรราชมหามุนี) เปรียญธรรม 9 ประโยค จากวัดมหาธาตุ  กรุงเทพมหานคร ไปศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานที่เมียนมา และนำรูปแบบการสอนในแบบสติปัฎฐาน 4 (ยุบหนอพองหนอ) มาเผยแผ่ทำการสอนผ่านคณะ 5 วัดมหาธาตุ และกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ทำให้การสอนกรรมฐานในแบบดังกล่าวเผยแผ่ไปทั่วประเทศในขณะนั้น มีบุคคลอ้างอิงที่ร่วมสมัยของการจัดการศึกษากรรมฐานในแบบเมียนมาในประเทศไทย เช่น หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระธรรมสิงหบุราจารย์) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล (พระพรหมมงคล วิ.) วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น ที่ศึกษาและปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ด้วย ทั้งในขณะนั้นรัฐบาลเมียนมา ได้ส่งพระอภิธรรมโชติกะ มาจัดตั้งจัดการเรียนการสอนในประเทศไทย และมีสถาบันอภิธรรมโชติกะ ที่วัดมหาธาตุ อันเป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาด้านอภิธรรมปิฎก จนกระทั่งปัจจุบัน หรือการที่ส่งพระภัททันตะ อาสภะ มหาเถระ มาสอนกรรมฐานเริ่มที่วัดมหาธาตุ และสอนกรรมฐานในแบบ “สติปัฎฐาน” ยุบหนอง พองหนอ และเป็นแนวปฏิบัติหนึ่งในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็ใช้แนวปฏิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งนับเป็นผลิตผลของความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา และการศึกษาจากประเทศเมียนมา

(ค) การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ “พระไตรปิฏกศึกษา”

  1. ศูนย์อาเซียนกับการร่วมพัฒนาโจทย์วิจัย “พระไตรปิฎกศึกษา” จากการประชุมที่ผู้บรรยายได้เข้าร่วมประชุมพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนางานวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ทำให้ได้ประเด็นในการพัฒนาแผนงานวิจัยภายใต้โครงการ “นวัตกรรมรูปแบบการเรียนรู้พระปริยัติธรรมของติปิฏกสิกขาลัย วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ” โดยได้กำหนดโครงการย่อยเป็น 3 เรื่อง ดังนี้

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

โครงการวิจัยย่อยที่ 2  การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ต้นแบบการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมของติปิฏกสิขาลัย วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ

โดยจะเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างคณะผู้วิจัยของศูนย์อาเซียนศึกษาและบุคลากรของ   ติปิฏกสิขาลัย วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งในการออกแบบการวิจัยและการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยใช้การออกแบบการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed methods research)

โดยความคาดหวังจะเป็นผลของการพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ให้เหมาะกับผู้เรียน โดยมีความคาดหวังเป็นคุณภาพของหลักสูตร เมื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนแล้วเป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพของหลักสูตรต่อการจัดการเรียน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาผ่านหลักสูตรนี้แล้วส่งผลเป็นประสิทธิผลตามเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนตามกรอบของพระไตรปิฎกศึกษา และที่สำคัญจะต้องมุ่งไปถึงปฏิบัติ ที่นอเหนือจากปริยัติ และไปสู่หัวใจของพระพุทธศาสนาคือปฏิเวธได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นงานการศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการวิจัยจึงนับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดด้วยเช่นกัน ที่จะต้องแสวงหาความรู้ นำไปถอดเป็นชุดความรู้ นำไปออกแบบเป็นหลักสูตร เป็นชุดการเรียนรู้ ด้วยการวิจัย โดยมีเป้าประสงค์เป็นการพัฒนาผู้ศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรด้วย ซึ่งอาจไปเทียบเคียงกับหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จ.นครปฐม  หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ และร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เป็นไปเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในภาพกว้างร่วมกันต่อไป ดังนั้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมอันเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษา ต่อการบริหารวิชาการและการวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนาจึงเป็นภารกิจร่วมกับคณะผู้วิจัยของวัดจากแดง ในการประชุมครั้งนี้ และได้คำตอบเป็นโจทย์การวิจัยเพื่อพัฒนาออกมาเป็นงานวิจัยดังปรากฏตามชื่อเรื่อง

(ง) บทบาทของวัดกับภารกิจพระพุทธศาสนา

  1. วัดกับการสร้างความเข้มแข็งในการสืบสานพระพุทธศาสนา วัดทั่วประเทศมีกว่า 4 หมื่นวัด การที่วัดจากแดงเป็นหนึ่งวัดที่ทำหน้าที่ในการสืบสานและรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นต้นแบบ (ก) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ทั้งพระ ฆราวาสให้มาศึกษาพระพุทธศาสนา ด้วยการเปิดหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องผ่าน ติปิฎกสิกขาลัย (ข) จัดกิจกรรมรักษาสืบสานวิถีศาสนาในรูปแบบ ของบุญประเพณี วิถีศาสนา วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ใช้เป็นสถานที่ทำบุญ ปฏิบัติธรรม รักษาศีล เจริญภาวนา แปลว่าวัดจากแดงก็ยังทำหน้าที่นี้ได้อย่างเข้มข้น จนกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมในภาพกว้างได้ (ค) จัดกิจกรรมเชิงชุมชนที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความพร้อมในการทำงานเพื่อชุมชนรักษาชุมชนให้เกิดขึ้น ดังกรณีการรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านขยะเป็นจีวร ขยะเป็นปุ๋ย ทำให้เกิดความเห็นดีด้วย สร้างรายได้ ลดต้นทุน ลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมเชิงชุมชนที่มีอาสาสมัครในชุมชนใกล้ไกลมามีส่วนร่วมและให้ความช่วยเหลือ เป็นศูนย์รวมจิตใจ รักษาศรัทธาผ่านกิจกรรมเชิงชุมชนร่วมกัน (ง) รักษาสืบทอด ศาสนทายาท จัดการศึกษาพัฒนาคน จัดการศึกษาสืบทอดคำสอน จัดการพัฒนาชุมชน และสร้างนวัตกรรมให้พระพุทธศาสนา นับเป็นความโดดเด่นและน่านำไปเป็นแบบอย่างแก่วัดอื่น ๆ ในภาพกว้างได้ หมายถึง การจัดการศึกษาที่เอาจริงเอาจัง เป้าหมายเป็นการสื่อสารคำสอนพระพุทธศาสนา ดังปรากฏในช่องสื่อออนไลน์ ใช้การสื่อสารสาธารณะเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การใช้การเรียนเป็นการรักษาคำสอน การศึกษาคำสอน การใช้กิจกรรมหรือสร้างนวัตกรรมจีวรจากขยะ หรือขวดพลาสติก ทำให้เกิดการเห็นคุณค่าและสร้างคุณค่าใหม่ภายใต้ประโยชน์ ประหยัด และไปสู่เป้าหมายแห่งความดีงามตามแบบวิถีของชาวพุทธ
  2. วัดจากแดงกับการสะท้อนอัตลักษณ์และนวัตกรรมในพระพุทธศาสนา ในบริบทนี้ สะท้อนถึงจีวรจากขวดพลาสติก จีวรเป็นบริขาร ที่สำคัญจะบวชเป็นพระได้ ไม่ได้ต้องมีจีวร หรือบริหารสำหรับบวช นับเป็นสิ่งใช้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อีกนัยหนึ่งขยะเป็นปัญหาของชุมชนในภาพกว้างทุกประเทศเหมือนกันหมด แนวคิดในเรื่องสมดุล พอเพียง สมถะเรียบง่าย นำไปสู่การออกแบบจีวร จากสิ่งที่เหลือใช้ เป้าหมายเพื่อลดการใช้ขยะ เป็นการกำจัดขยะ แยกขยะอย่างเป็นระบบผ่านทัศนะว่าขวดทำจีวรได้ ทำบุญด้วยขวดพลาสติก ดังนั้นแนวคิดจีวรจากพลาสติกออกแบบมาเพื่อลดจำนวนขยะ ซึ่งเป็นการเป็นการบูรณาการระหว่างชีวิตของความเป็นจริง กับจีวรพลาสติก ทำให้เห็นว่า “ขวด” ในมือ 1 ขวด ก็แปลงเป็นบุญได้ ขยะในมือ 1 ชิ้นนำไปพัฒนาเป็นผ้า เป็นจีวรได้ ทำให้เกิดความตระหนัก เกิดการนึกคิดต่อการนำสิ่งเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้ นับเป็นนวัตกรรมในการจัดการยุคใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และที่ทราบเห็นว่าทางวัดมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ยเพื่อลดขยะ ภายใต้แนวคิดการลดขยะ หรือลดสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดทำให้ขยะเป็นบุญ นับเป็นความโดดเด่นและเป็นนวัตกรรมที่ควรนำไปศึกษาเผยแผ่ให้เป็นแบบอย่างแก่วัดต่าง ๆ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการรณรงค์เรื่องขยะ ลดมลภาวะ กำจัดขยะอย่างเป็นระบบ คัดแยกขยะอย่างมีเป้าหมาย สร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งเหลือใช้ เป็นต้น นับเป็นความโดดเด่นของวัดจากแดงในฐานะที่เป็นวัดในชุมชน ทำให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน สังคมและภาพกว้างของสังคมได้

ทั้งหมดเป็นภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์อาเซียนศึกษา มจร  กับวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ และ   ติปิฎกสิกขาลัย ที่มีความโดดเด่นด้านพม่าศึกษา การศึกษาพระพุทธศาสนา และการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนกรณีศึกษาเมียนมา และการจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางและส่วนสำคัญของชุมชนโดยเชื่อมโยงอยู่กับหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการใช้วิจัยเป็นฐานในการพัฒนาการศึกษา แสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาการศึกษา การแสวงหาความรู้เพื่อการส่งต่อและเชื่อมโยงกับชุมชน การพัฒนาการศึกษาภายใต้แนวทางและความเป็นไปนับเป็นปรากฏการณ์ร่วมของชุมชนได้อย่างแท้จริง

“ผู้บรรยายนำมาเล่าแบ่งปันไว้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
          ความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
          โดยศูนย์อาเซียนศึกษากับการบริการวิชาการในส่วนของการนำผลการวิจัย
          ไปรับใช้พระพุทธศาสนา รับใช้วัด พระสงฆ์ และชุมชน
          วัดจากแดง ที่เชื่อมสัมพันธ์กับเมียนมา และด้านพม่าศึกษา และชุมชน
          ติปิฎกสิกขาลัย การจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาอันมีแบบแผนจากเมียนมา
          นำมาแบ่งปัน ไว้เป็นข้อมูลความรู้ เพื่อการศึกษา พัฒนาเป็นการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
          เข้าใจเขา เข้าใจเรา เหมือนและต่างอย่างเข้าใจ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข”  

 

รายการอ้างอิง

(๑) พระเทพปวรเมธี,รศ.ดร. และคณะ (ดร.ลำพอง กลมกูล). (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม  อาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (An
Instructional Model of ASEAN Cross Culture in CLMV Countries for Students in
Mahachulalongkornrajavidyalaya University)
 
.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะการการวิจัยแห่งชาติ. https://bit.ly/3geqgCl

(๒) พิเชฐ ทั่งโต และลำพอง กลมกูล. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์
ของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย (An Instructional Model of Thai – Myanmar Cross
Culture of Higher Education Institutes in Thai Society). 
 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. https://bit.ly/3f0iwDX

(๓)วารสารโพธิยาลัย (2563) ฉบับที่ 53. https://www.watchakdaeng.com/2020/04/podhiyalai_53.pdf

(๔) วารสารโพธิยาลัย ฉบับที่ 1-52 และเมียนมาศึกษา วัดจากแดง https://watchakdaeng.com/

Avatar

เขียนโดย พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที