ศีลห้า : เกณฑ์ชี้วัดและการเสริมสร้างสันติสุขของบุคคลและสังคม

งานวิจัย มจร เสนอศีล ๕ ลดการ Bullyและสร้างสังคมสันติสุข
งานวิจัยเรื่อง
ศีลห้า : เกณฑ์ชี้วัดและการเสริมสร้างสันติสุขของบุคคลและสังคม
โดย
ดร.สานุ มหัทธนาดุลย์ และคณะ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เกณฑ์ศีลห้าแบบบูรณาการที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร เป็นเกณฑ์ที่มาจากการบูรณาการหลักศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด
ในการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในภาพใหญ่นั้นมีเกณฑ์ดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ทั้ง ๔๐ ตัวชี้วัดเป็นตัวกำกับ
การพัฒนาเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าเป็นการนำเอาเกณฑ์ชี้วัดในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสองเกณฑ์ มาวิเคราะห์ข้อความและคำศัพท์เดิมตั้งต้นชั้นโบราณที่ถูกแปลมาจากภาษาบาลีที่ปรากฏในอรรถาธิบายและนำขึ้นสู่การปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่(๑) เกณฑ์วินิจฉัยสถานะของศีลห้า และ (๒) เกณฑ์วินิจฉัยโทษของการละเมิดศีลห้า ส่วนรูปแบบเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าเพื่อการเสริมสร้างสันติสุขของบุคคลและสังคม พัฒนาบนพื้นฐานของความสันติสุขในโลกอันเกิดขึ้นจากการที่ปัจเจกบุคคลรู้จักรักษาและมีศีลประจำใจตน เป็นหลักประกันให้กับทั้งบุคคลผู้มีศีลและบุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยในสังคมนั้น ๆ เป็นสันติสุข ๕ มิติ คือ สันติสุขแห่งชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว ข้อมูลข่าวสาร และสติปัญญา
อ่านงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
(วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ TCI 1)
อ้างอิง
สานุ มหัทธนาดุลย์. (2018). ศีลห้า: เกณฑ์ชี้วัดและการเสริมสร้างสันติสุข ของบุคคลและสังคม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2-2), 494-504.
_____
Facebook : Mcu Asean
twitter : ascmcu
IG: ascmcu
Avatar

เขียนโดย พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที