พระนั่งใหญ่สุดเมืองมอญ Khat Ya Khat Yu
admin2018-06-20T07:06:53+00:00พระนั่งใหญ่สุดเมืองมอญ Khat Ya Khat Yu
พระนั่งใหญ่สุดเมืองมอญ Khat Ya Khat Yu
พระพุทธรูปไม้ไผ่ใหญ่และสวยที่สุดของโลก ประดิษฐานอยู่เมืองสะเทิม
เมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดีในตำนานเคยรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาจนกระทั่งพระเจ้าอนิรุทธ์หรืออโนรธาแห่งพุกามยกทัพมาตี แล้วนำผู้คน และสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาคือพระไตรปิฎก รวมทั้งพระเจ้ามนูหะกษัตริย์แห่งสะเทิมกลับไปพุกามด้วย คนมอญหรือพม่าจึงถือว่า เหตุการณ์นี้เป็นการปรากฏขึ้นของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในสังคมพม่าเป็นครั้งแรกและเจริญสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ สัญลักษณ์ของเมืองจึงทำเป็นรูปคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่มา พาเที่ยวพม่า พม่าพาเที่ยว
ก๊าวกูน #Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา 7th A.D
19 กรกฎาคม 2017 ลาวพลัดถิ่น กว่า 200,000 คน ในดินแดนเมียนมา !!! ยังคงภาษา วัฒนธรรม ประเพณี กว่า 200 ปี . บทสัมภาษณ์ ลุงปาน ลาวพลัดถิ่น บ้านป่าหวาย รัฐกะเหรี่ยง - Footage . *** นำมาให้ชมเพื่อการศึกษา โพสต์นี้สงวนสิทธิ์ งดแสดงความคิดเห็น พาดพิงบุคคลอื่น บุคคลใด หรือ ประเทศใดๆ นะคะ แอดจะลบ หรือ แบน ตามความเหมาะสม *** แอดโลกสวยค่ะ .. ดราม่าเชิญเล่นช่องอื่น...อ่ะเคร่ . ชาวลาวอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสยามกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ตั้งแต่สงครามต้นสมัยรัตนโกสินทร์ 200 ปีมาแล้ว พวกเขาเหล่านี้ถูกกวาดต้อนมาพร้อมกับพระแก้วมรกต พระบาง เพื่อเป็นแรงงานให้กับสยาม โดยชาวสยามได้ใช้ให้ชาวลาวเหล่านี้ปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงกองทัพสยาม คนเหล่านี้จึงมาที่นี่พร้อมกับการเริ่มต้นของเมืองหลวงแห่งใหม่ . บรรพบุรุษพวกลาวกลุ่มนี้ถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานอยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีชายแดนติดพม่า และมะริด ทวาย เมาะตะมะในพม่าซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเมืองขึ้นของสยาม จำนวนปัจจุบันมีหลายหมื่นคนในพม่าแต่เฉพาะอยู่ในเขตไทย (อำเภอทองผาภูมิ) ประมาณ 10,000 คน พวกเขาพูดภาษาลาว ถือฮีตสิบสองคองสิบสี่เหมือนลาวในลาวและลาวอีสาน . ปัจจุบัน ชาวลาว อาศัยอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงและรอยต่อรัฐมอญ มี 12 หมู่บ้านใหญ่ๆ อาทิเช่น บ้านหนองโค , บ้านหนองมัง , บ้านป่าหวาย , บ้านป่าคอก , บ้านสองแคว , บ้านหนองบัว , บ้านแหย่แหล่ , บ้านชเวตองโบ , บ้านทุ่งแม่โด่ง , บ้านแมตะโก่ง , บ้านพัดตะแหล่ และ บ้านใหม่ . ทุกหมู่บ้าน มีบัตรประชาชนเมียนมา ชีวิตความเป็นอยู่สุขสบาย #ลาวพลัดถิ่น ที่มา พาเที่ยวพม่า [...]
ตะจาน คล้ายกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน คือ การเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อนและเปรียบเหมือนเป็นการลบล้างสิ่งไม่ดีจากปีเก่าเพื่อความเป็นสิริมงคล ในสมัยอดีตจะใช้การเล่นสาดน้ำอย่างเบา ๆ โดยใช้ยอดหว้าอ่อนชุบใส่น้ำปรุงแล้วแตะเบา ๆ บนไหล่ของผู้ที่จะเล่นสาดน้ำด้วย นอกจากการเล่นสนุกสนานแล้ว ยังมีประเพณีบุญ คือ การทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น การตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, ถือศีลปฏิบัติธรรม, ทำความสะอาดวัดหรือศาสนสถาน, ทำบุญบ้าน, สระผมหรืออาบน้ำทำความสะอาดให้แก่คนชราที่ไร้ญาติ รวมถึงการปล่อยสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก, ปลา หรือสัตว์ใหญ่อย่าง วัวหรือควาย นอกจากนี้แล้วผู้คนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างถิ่น ก็จะเดินทางกลับสู่ถิ่นเกิดเพื่อกราบไหว้ผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น พ่อแม่, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา เป็นต้น และเชื่อว่าหากได้สระผมหรือตัดเล็บก่อนไปทำบุญที่วัด จะเป็นการตัดสิ่งไม่ดีในปีเก่าทิ้งไปและรับสิ่งดี ๆ เข้ามา
หนังสือ #ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma 426 หน้า โดย หม่องทินอ่อง แปล โดย เพ็ชรี สุมิตร ดาวโหลดไฟล์ PDF ได้ทางลิงค์http://www.openbase.in.th/files/tbpj152.pdf ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma บทที่ 1 พม่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทที่ 2 อาณาจักรดั่งเดิม: มอญและปยุ บทที่ 3 อาณาจักรพุกามและจักรวรรดิพม่าครั้งแรก บทที่ 4 ความเสื่อมของอาณาจักรพุกามและการรุกรานของชนชาติมองโกล บทที่ 5 กรุงอังวะเป็นอริกับกรุงพะโค ไทยใหญ่เป็นอริกับมอญ บทที่ 6 จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 2 บทที่ 7 ความเสื่อมของอาณาจักรบุเรงนอง บทที่ 8 พระเจ้าอลองพญากับจักรวรรดิพม่าครั้งที่สาม บทที่ 9 พม่าในสมัยก่อนทำสงครามกับอังกฤษ บทที่ 10 อังกฤษบุกรุกพม่า ค.ศ.1824-1852 บทที่ 11 อังกฤษได้พม่า ค.ศ.1885 บทที่ 12 การกู้เอกราช ค.ศ.1886-1948 CR : มูลนิธิโครงการตำราฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำเนินงานภายใต้ปณิธาน "นัตถิ ปัญญา สมา อาภา" แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี ข้อมูลเพ่ิมเติมเกี่ยวกับโครงการตำราฯ คลิ๊ก:www.textbooksproject.org
ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา เป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด สถานที่หนึ่งในนั้นคือ สระอโนดาต สระอโนดาต ตั้งอยู่ศูนย์กลางของป่าหิมพานต์ สายน้ำที่ไหลจากป่าหิมพานต์ ได้ไหลลงมาหล่อเลี้ยงดินแดนชมพูทวีปด้านล่างให้มีความสมบูรณ์ ไม่มีวันเหือดแห้งจนกว่าจะสิ้นมหากัปป์ สระอโนดาตล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ๕ เขาโน้มเข้าหากัน คือ สุทัสสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และเขาไกรลาส สระอโนดาตนั้นมีท่าน้ำอยู่ ๔ ท่า ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท่าสิงห์ (สีหมุข) ท่าช้าง (หัตถีมุข) ท่าม้า (อัสสมุข) และท่าวัว (อุสภมุข) สายน้ำจากสระอโนดาตจะไหลออกจากปากสัตว์มงคลทั้งสี่ทิศ ไหลเวียนขวาทักษิณาวรรต ๓ รอบ แล้วไหลออกจากสระเป็นสายน้ำ ผ่านแดนหิมพานต์ เป็นสี่ทิศลงสู่มหานทีสีทันดร น้ำจากสระอโนดาตที่ไหลออกทางทิศใต้ ไหลออกไปพุ่งกระทบภูเขา ทำให้น้ำพุ่งขึ้นเป็นละอองฝอยในอากาศ เรียกว่า อากาศคงคา ตามไตรภูมิกล่าวว่า น้ำพุ่งกระเด็นขึ้นไปถึง ๖๐ โยชน์ แล้วจึงตกไปบนแผ่นดิน กลายเป็นสระโบกขรณี ไหลผ่านระหว่างภูเขา ๕ ลูก เกิดเป็นปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหี และสรภู ที่ไหลหล่อเลี้ยงดินแดนทางทิศใต้ให้อุดมสมบูรณ์ Location : Maha Sandar Muni Pagoda Mandalay Coordinate : 21.926846, 96.068245 . "เพลินพม่า" อย่างที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน The people ,the culture, the food: Let me show you Myanmar!
สิงหราชบัลลังก์ (องค์จริง) หนึ่งในบัลลังก์ทั้งเก้า ประกอบด้วย (ชื่อสามัญ) 1.ดอกบัว 2.หงส์ 3.หอยสังข์ 4.กวาง 5.นกยูง 6.ช้าง 7.ผึ้ง 8.สิงห์ ตามประวัติระบุว่าบัลลังก์นี้เคยถูกนำไปอินเดียในปี ค.ศ.1902 ภายหลังพม่าเสียเมืองในปี ค.ศ.1885 สมัยพระเจ้าธีบอ และถูกนำกลับมายังพม่าคราวพม่าได้รับเอกราช เมื่อ ค.ศ.1948 โดยลอร์ดเม้าท์แบตเทน์ #พิพิธภัณฑ์ย่างกุ้ง การสร้างพระราชวังของพม่า มีคติคล้ายๆ ของไทย คือมีการสร้างพระมหาปราสาทเป็นประธาน มีการสถาปนาราชบัลลังก์ที่สำคัญมีการ ตั้งเศวตรฉัตร ฯลฯ แต่ตามคติพม่าดูเหมือนจะจริงจังเรื่องการใช้พระราชวังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล . เมืองมัณฑะเลย์เป็นเมืองหลวงสุดท้ายของพม่ายุคราชอาณาจักร สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนศูนย์ "มณฑล" แห่งชมพูทวีป ที่ใจกลางมณฑลคือ พระราชวังหลวง ที่ใจกลางพระราชวังหลวงคือ ท้องพระโรงใหญ่ทรงปราสาทพระเมรุ ในปราสาทพระเมรุสูงเสียดฟ้ามีศูนย์กลางคือ บัลลังก์ทั้ง 8 และหัวใจของบัลลังก์ทั้ง 8 คือ สีหาสนบัลลังก์ . ในพระราชวังมัณฑะเลย์ มีบัลลังก์งามตระการอยู่ 8 องค์ บ้างก็ว่า มี 9 องค์ ซึ่งก็ถูกต้องทั้งคู่ เพราะมีองค์จำลองของสีหาสนบัลลังก์อีก 1 องค์ บัลลังก์เหล่านี้ มีเบื้องหลังการสร้าง และมีนัยยะที่ซับซ้อนมาก หากบรรยายจนหมดคงได้เป็นหนังสือเล่มเขื่องๆ เล่มหนึ่ง จึงขอตัดทอนมา เฉพาะส่วนสำคัญ เริ่มจากไล่พระนามบัลลังก์ทั้ง 8 ดังนี้ 1. สีหาสนะ (2 องค์) หรือบัลลังก์สิงห์ ทำจากไม้ซ้อ (Gmelina racemosa) ประดิษฐานที่ท้องพระโรงใหญ่หรือ ปราสาทฉอง องค์จำลองอยู่ที่เชตวันฉอง ทั้งนี้ สีหาสนะจะใช้ในพระราชพิธีสำคัญ รับทูตานุทูต และเจ้าประเทศราช เมื่อมีงานจะปักด้วยเศวตรฉัตร 8 ฉัตรโดยรอบบัลลังก์ ส่วนพื้นที่ตั้งทำจากดินอัด เป็นดินจากนครต่างๆ ในมัชฌิมเทศ หรืออินเดีย 12 แห่ง เช่น พาราณาสี มัลลปุรี ปาวา ราชคฤห์ เทวทหะ กบิลพัสดุ์ เป็นอาทิ [...]
การเต้นรำในชุดช้าง (ซินก้า) ต้นแบบมาจากเมืองเจ่าท์เซ Kyaukse จะมีประเพณีประกวดการระบำในช่วงเดือนตุลาคม (หลังออกพรรษา) Lay Myat Nar Pagoda เจดีย์บนยอดเขากลางเมืองเจ่าว์เซ เป็นเวลา 1 วัน 1 คืน แต่ละคณะที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเต้นรำให้สอดคล้องกับเพลง และพร้อมเพรียงกัน หุ่นช้างจะทำด้วยโครงไม้ไผ่และผ้ารวมถึงกระดาษสีประดับสวยงาม ใช้ผู้เชิด 2 คน คล้ายๆเต้นสิงโตของจีน เทคนิคลีลาก็อยู่ที่ความชำนาญของผู้เชิดนั้นเอง การเชิดหุ่นช้างจึงนิยมนำมาเรี่ยไรบุญในช่วงงานสำคัญทางศาสนาตามวัดต่างๆในหลายรัฐของเมียนมา . "เพลินพม่า" อย่างที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน The people ,the culture, the food: Let me show you Myanmar!
1600 Amphitheatre Parkway New York WC1 1BA
Phone: 1.800.458.556 / 1.800.532.2112
Fax: 458 761-9562
Email: info@your-domain.com
Web: ThemeFusion