วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย  โดย ดร.พระมหาเกียงศักดิ์ อินทปัญโญ วัดสุทธิวราราม กรุงเทพ

การเขียนข้อเสนอโครงกาวิจัยเพื่อขอรับทุนวิจัยจากหน่วยให้ทุนวิจัยต่างๆ ผู้วิจัยจำเป็นต้องวิเคราะห์ ลักษณะผู้ให้ทุน กรอบการวิจัยที่ผู้ให้ทุนประกาศรับ และสำรวจความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยที่จะสอดคล้องกับ กรอบวิจัยที่แหล่งทุนวิจัยนั้นต้องการ

วันนี้ขอนำเสนอ PMU หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

แหล่งทุนนี้ เน้นการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้มีโอกาสเข้ามาร่วมกันคิด วางแผน กำหนด ลงมือดำเนินการและการวัดผลในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนาอย่างมีกลยุทธ์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

แพลตฟอร์มที่น่าสนใจ คือแพลตฟอร์มที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในโปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและ วางรากฐานทางเศรษฐกิจ

จากการสำรวจกรอบประเด็นวิจัยที่ บพข ประกาศกรอบนโยบาย ซึ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกรอบวิจัยที่นักวิจัยของ มจร. พอจะนำมากำหนดเป็นประเด็นเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อเบียดตัวเองให้ได้รับทุนวิจัยจาก PMU นี้ มีประเด็นน่าสนใจดังนี้

กรอบวิจัยที่ 5. การท่องเที่ยวและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์: การพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวและ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก
5.1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสินค้าสร้างสรรค์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนา สินค้าสร้างสรรค
5.2 พัฒนารูปแบบธุรกิจ เช่น Creative Startups และ Social Enterprise
5.3 พัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น การท่องเที่ยวเมืองรอง และย่านสร้างสรรค์
5.4 การศึกษาด้านการตลาด โดยการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์การท่องเที่ยว
5.5 การวิเคราะห์จัดกลุ่มนักท่องเที่ยว และการกำหนดกลยุทธ์การตลาดการ ท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะ
5.6 พัฒนาระบบมาตรฐานการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
5.7 พัฒนาระบบบัญชีต้นทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ที่สำคัญ

กรอบวิจัยที่ 6. การท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ (Wellness tourism) ประกอบด้วย – การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) – การท่องเที่ยวบริการสุขภาพ (Spa & Wellness Tourism) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) – การท่องเที่ยวผู้สูงอายุ (Retirement Tourism)
6.1 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ
6.3 การพัฒนามาตรฐานของสินค้า/บริการ และพัฒนารูปแบบธุรกิจ (Business Model) ใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
6.4 การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านการบริการเฉพาะด้าน
6.5 การวิจัยการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
6.6 การพัฒนาแพลตฟอร์มและบูรณาการข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้านการ ท่องเที่ยว เพื่อสามารถวิเคราะห์และพัฒนากลยุทธ์ในการบริการจัดการด้าน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

กรอบวิจัยที่ 9. ระเบียงเศรษฐกิจ ภาคเหนือ (NEC)
9.1 การวิจัยและพัฒนาที่ทำให้ประชากรในพื้นที่ภาคเหนือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการลดใช้สารเคมีทางการเกษตร
9.2 การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง ทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
9.3 การสร้างมูลค่าจากการจัดการขยะ สร้างรายได้จากเศรษฐกิจหมุนเวียน
9.4 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจตลอดโซ่คุณค่าของพืชสำคัญในพื้นที่ เช่น กาแฟ กล้วย และมะม่วง ตั้งแต่การพัฒนาเกษตรกรในการเพาะปลูกแบบเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูปขั้นต้นเพื่อเป็นอาหาร อาหารสัตว์ จนกระทั่งการแปรรูปขั้นสูงเพื่อ เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนผสมของอาหาร
9.5 การนำเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของล้านนา (Creative Lanna) มาต่อ ยอดและสร้างเรื่องราว พัฒนาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ และต่อยอดผ่านสินค้าและ บริการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่

10. ระเบียงเศรษฐกิจภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC)
10.4 เชื่อมโยงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความเชื่อพื้นเมืองริมฝั่ง โขงกับประเทศเพื่อนบ้านมาต่อยอดและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และบริการ ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่เพิ่มเติม

กรอบวิจัยที่ 12. ระเบียงเศรษฐกิจ ภาคใต้(SEC)
12.3 การสร้างแพลตฟอร์มระบบนิเวศน์ชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืน ที่ใช้องค์ความรู้ และผลจากงานวิจัยและนวัตกรรมในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยการสร้างหรือ เพิ่มรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค
12.4 ยกระดับแหล่งท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดภาคใต้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูง ผ่านการนำเสนอเรื่องราวของความเป็นปักษ์ใต้ยุคใหม่ และความหลากหลาย ทางด้านพหุวัฒนธรรมและศาสนาที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวในพื้นที่ มี เป้าหมายให้ประชากรในภาคใต้มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี

กรอบวิจัยที่ 19. เนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) เพื่อการ สนับสนุนการผลิตและ พัฒนา
19.3 การวิจัยตลาดเพื่อให้ทราบความได้เปรียบทางการแข่งขันเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่น ๆ และการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคตเพื่อชี้ให้เห็นถึงทิศทางของ อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเกมส์ และแอนิเมชั่น
19.4 การวิจัยด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดการสิทธิดิจิทัล
19.5 วิจัยด้านตลาดและแนวโน้มเชิงลึกเพื่อระบุความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี ดิจิทัลไทยในตลาดโลก และภูมิภาค

นักวิจัย มจร ลองนำกรอบเหล่านี้ไปพิจารณา พร้อมทั้งสำรวจโอกาส หรือ ปัจจัยสนับสนุน เช่น องค์ความรู้ การเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกับเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำไปสร้างเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยต่อไป

ขอให้ทุกท่านโชคดี ได้ทุนวิจัย