admin

Home/admin

About admin

This author has not yet filled in any details.
So far admin has created 48 blog entries.

จักรพรรดินีนาม เฟือง: เจ้าหญิงองค์สุดท้าย…ของเวียดนาม

2020-10-08T15:42:20+00:00

#ประวัติศาสตร์จากประเทศเพื่อนบ้าน ขอนำเสนอ เจ้าหญิงองค์สุดท้าย...ของเวียดนาม (จักรพรรดินีนาม เฟือง) ภาพประกอบ: ทรงฉายในพระราชพิธีอภิเษกสมรส ปี 2477 โดย: Nguyen Dynasty photographer --------------- ประวัติ จักรพรรดินีนาม เฟือง พระนามาภิไธยเดิม เหงียน หืว ถิ ลาน ศาสนนาม มารี-เตแรซ เป็นพระอัครมเหสีในจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของเวียดนาม เป็นจักรพรรดินีพระองค์ที่สองและพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์เหงียน จักรพรรดินีนาม เฟือง มีพระนามาภิไธยเดิมว่า มารี-เตแรซ เหงียน หืว ถิ ลาน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ณ เมืองก่อกง อันเป็นเมืองแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ขึ้นกับโคชินไชนา หนึ่งในสามดินแดนอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส อภิษกสมรส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2477 ข่าวการหมั้นของเหงียน หืว ถิ ลาน กับพระเจ้าบ๋าว ดั่ย กษัตริย์แห่งอันนัม ได้เผยแพร่ออกไป พระเจ้าบ๋าว ดั่ย ได้กล่าวว่า "พระราชินีในอนาคตได้รับการเลี้ยงดูเหมือนเราในฝรั่งเศส เป็นการรวมระหว่างบุคลิกของนางคือ ความสง่าแห่งตะวันตกและเสน่ห์แห่งตะวันออก เราได้มีโอกาสพบนาง เชื่อว่านางเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญเพื่อเป็นมิตรที่ดีของเราและผู้เท่าเทียมกับเรา เราแน่ใจในจริยวัตรและแบบอย่างที่ดี เราควรยกย่องนางเป็น สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของจักรวรรดิ (First Woman of the Empire)" ลังจากพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการที่พระราชวังฤดูร้อนในเมืองด่าหลัต พระเจ้าบ๋าว ดั่ย ได้อภิเษกสมรสกับเหงียน หืว ถิ ลาน ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่เมืองเว้ พระราชพิธีจัดขึ้นตามหลักพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้นำคาทอลิกของครอบครัวฝ่ายหญิงได้โต้เถียงอย่างรุนแรง คนในประเทศจึงไม่พอใจการเลื่อมใสในศาสนาของเจ้าสาว บางคนกล่าวว่าการสมรสนี้ "เป็นการจัดตามกลลวงของฝรั่งเศส" หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้เขียนว่า "ทำให้เกิดความไม่พอใจไปทั่ว" ในประเทศนี้ เหงียน หืว ถิ ลานปฏิเสธที่จะยอมละทิ้งคาทอลิกและได้ร้องอุทธรณ์ถึง [...]

จักรพรรดินีนาม เฟือง: เจ้าหญิงองค์สุดท้าย…ของเวียดนาม2020-10-08T15:42:20+00:00

วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย

2020-10-07T05:27:32+00:00

วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย  โดย ดร.พระมหาเกียงศักดิ์ อินทปัญโญ วัดสุทธิวราราม กรุงเทพ การเขียนข้อเสนอโครงกาวิจัยเพื่อขอรับทุนวิจัยจากหน่วยให้ทุนวิจัยต่างๆ ผู้วิจัยจำเป็นต้องวิเคราะห์ ลักษณะผู้ให้ทุน กรอบการวิจัยที่ผู้ให้ทุนประกาศรับ และสำรวจความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยที่จะสอดคล้องกับ กรอบวิจัยที่แหล่งทุนวิจัยนั้นต้องการ วันนี้ขอนำเสนอ PMU หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แหล่งทุนนี้ เน้นการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้มีโอกาสเข้ามาร่วมกันคิด วางแผน กำหนด ลงมือดำเนินการและการวัดผลในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนาอย่างมีกลยุทธ์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ แพลตฟอร์มที่น่าสนใจ คือแพลตฟอร์มที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในโปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและ วางรากฐานทางเศรษฐกิจ จากการสำรวจกรอบประเด็นวิจัยที่ บพข ประกาศกรอบนโยบาย ซึ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกรอบวิจัยที่นักวิจัยของ มจร. พอจะนำมากำหนดเป็นประเด็นเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อเบียดตัวเองให้ได้รับทุนวิจัยจาก PMU นี้ มีประเด็นน่าสนใจดังนี้ กรอบวิจัยที่ 5. การท่องเที่ยวและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์: การพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวและ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก 5.1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสินค้าสร้างสรรค์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนา สินค้าสร้างสรรค 5.2 พัฒนารูปแบบธุรกิจ เช่น Creative Startups และ Social Enterprise 5.3 พัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น การท่องเที่ยวเมืองรอง และย่านสร้างสรรค์ 5.4 การศึกษาด้านการตลาด โดยการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์การท่องเที่ยว 5.5 การวิเคราะห์จัดกลุ่มนักท่องเที่ยว และการกำหนดกลยุทธ์การตลาดการ ท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะ 5.6 พัฒนาระบบมาตรฐานการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 5.7 พัฒนาระบบบัญชีต้นทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ที่สำคัญ กรอบวิจัยที่ 6. การท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ (Wellness tourism) ประกอบด้วย - การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) - การท่องเที่ยวบริการสุขภาพ (Spa & Wellness Tourism) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) - [...]

วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย2020-10-07T05:27:32+00:00

การแต่งกายของชาวตะเลงในพม่าและสยาม

2020-10-07T05:18:48+00:00

ชาวตะเลงในพม่า แต่งกายคล้ายคลึงชาวพม่า แตกต่างกันน้อยมาก ผู้ชายนุ่งผ้าหน้าแคบ ยาวประมาณ ๘ หลา ไม่ตัดเข้าทรง เวลานุ่งรวบชายผ้าไว้ข้างหน้าพับสามทบ ทิ้งชายผ้ายาว หรือบางครั้งเอาพาดบ่า สำหรับคนแก่ จะเอาชายผ้าพันคอกันหนาวตอนเช้าเหมือนผ้าพันคอหรือผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายใช้นุ่งประจำวัน ส่วนผ้าไหมใช้นุ่งในโอกาสพิเศษ ร่างท่อนบนสวมเสื้อตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีขาว หรือสีเข้ม เข้ารูปพอดีตัว ใช้ผ้าไหมสีสดโพกศีรษะ ผู้หญิงนุ่งผ้าลักษณะเดียวกับผู้ชาย แต่ลวดลายและความยาวต่างกัน สวมเสื้อสีขาวหรือสีต่างๆ ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ในโอกาสพิเศษคล้องหรือห่มผ้าไหมสีสด หญิงสูงอายุบางคนนุ่งผ้าถุงหน้าแคบมาก เป็นผ้าไหมผืนสี่เหลี่ยมเพลาะติดกัน ๒ ผืน เวลาเดินเผยเห็นขา ทั้งชายและหญิงสวมรองเท้าแตะเหมือนกัน ชายชาวตะเลงในสยามแต่งกายคล้ายคลึงชาวสยาม นุ่งผ้านุ่งโจง แต่นิยมสวมเสื้อแบบพม่า ภายหลังนิยมสวมเสื้อแบบตะวันตกตามความนิยมของสยาม อีกทั้งสวมหมวกด้วย ชาวตะเลงในสยามไม่โพกศีรษะ ด้วยตัดผมสั้น การไว้ผมแบบดั้งเดิมของชาวตะเลงอาจสืบค้นได้ยาก นักประวัติศาสตร์ชาวตะเลงบอกว่า เมื่อพระเจ้าตะบินชเวที ขึ้นครองบัลลังก์เมืองพะโคได้ ๔ ปี ก็ตัดผมตามอย่างธรรมเนียมมอญ มีคนบอกว่าไม่ตัดผมสั้นเหมือนชาวตะวันตกหรือสยาม แต่เป็นทรงเหมือนชามคว่ำบนศีรษะ เล็มปลายผมให้เรียบเสมอกัน หญิงชาวมอญในสยามไว้ผมยาวเกล้ามวยบริเวณท้ายทอย แตกต่างจากทรงผมชาวพม่า เพราะชาวพม่าเกล้าผมกลางศีรษะ และนุ่งผ้าแตกต่างจากชาวพม่า หญิงชาวสยามหาบไม้คานส่วนหญิงชาวพม่าเทินสัมภาระบนศีรษะ หญิงชาวมอญสวมเสื้อแขนยาวสีขาว ในโอกาสพิเศษ และสวมเสื้อสีเข้มในชีวิตประจำวัน ชาวตะเลงในสยามไม่สักหมึก ขณะชาวตะเลงในพม่าสักหมึกกันทั่วไป มีหลักฐานชัดเจน บันทึกนักเดินทางในสมัยโบราณระบุว่า รอยสักเป็นสิ่งแยกแยะชาวพม่าออกจากชาวตะเลง ในสยามมีคนสักหมึกน้อย ส่วนใหญ่อาจารย์สักหมึกชาวพม่าผู้เดินทางท่องเที่ยวมาเป็นคนสักให้ ฯลฯ สุทธิศักดิ์ ถอดความ ภาพ Mameet ชาวตะเลงธิดาเจ้าเมืองเเปร ('A Series of Views in Burmah) Talaings by Halliday R. Publication date 1917

การแต่งกายของชาวตะเลงในพม่าและสยาม2020-10-07T05:18:48+00:00

ฉากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า : จิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์

2020-10-07T05:06:02+00:00

ฉากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า : จิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี วันนี้นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวพุทธ ที่มีหลายๆท่านได้โพส ข้อความต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) ด้วยความสำคัญของวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้านี้เองจึงเป็นตอนสำคัญที่มักปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังในวัดหลายๆ แห่ง เช่นที่วัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงฉากสำคัญ เช่น ขบวนแห่พระบรมศพ ของพระพุทธเจ้า และฉากถวายพระเพลิงพระบรมศพ นอกจากนั้นยังแสดงภาพมโหรสพ สมโภชเอิกเกริก เช่น การแสดงหนังใหญ่จากวัดขนอน วงปี่พาทย์มอญ หุ่นละครเล็ก โรงหุ่น ภาพจิตรกรรมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคติความเชื่อที่ชาวมอญมีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและยังเชื่อมโยงไปสู่ประเพณีการจัดงานศพพระสงฆ์ ที่ชาวมอญให้ความสำคัญและสืบทอดมาจนทุกวันนี้... แอดมิน :เม้ยกวาญฮะกอ ที่มาภาพ : www.voicetv.co.th ,th.readme.me

ฉากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า : จิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์2020-10-07T05:06:02+00:00

เสาหงส์ในประเทศพม่า (มัณฑะเลย์ – พุกาม)

2018-06-25T09:25:46+00:00

"เสาหงส์ในประเทศพม่า (มัณฑะเลย์ - พุกาม)" ชาวมอญอาศัยอยู่หนาแน่นในเมืองต่างๆ ของประเทศพม่าตอนกลาง - ตอนใต้ เช่น ย่างกุ้ง พะโค เมาะละแหม่ง เร (เย) ฯลฯ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะได้พบกับวัดมอญ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องพบเสาหงส์ภายในวัดมอญอันเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชุมชนมอญ ทว่าจากการเดินทางผ่านบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีตของชาวพม่าซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่น มัณฑะเลย์ สะกาย พุกาม อมรปุระ กลับพบว่ามีวัดมอญแทรกตัวอยู่ทั่วไป โดยสังเกตได้จากเสาหงส์ และสิ่งอื่นๆ เช่น รูปปั้น หรือ แผ่นจารึก ฯลฯ จากการสอบถามชาวบ้านในท้องถิ่น พบว่าวัดมอญเหล่านี้อยู่ในย่านที่มีชาวมอญอาศัยอยู่ในปัจจุบันหรือในอดีต หรือแม้แต่ในย่านที่ชาวบ้านเล่าว่าไม่เคยได้ยินเรื่องชุมชนมอญในท้องถิ่นที่ตัวเองอาศัยอยู่เลย แต่จากหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์ พบว่าชุมชนชาวมอญมีอยู่ทั่วไปในอาณาจักรพม่าในอดีต ทั้งที่เป็นเชลยสงคราม พ่อค้าวาณิช ช่างฝีมือรับจ้างหรือแม้แต่ผู้ติดตามพระสงฆ์องคเจ้ามาอาศัยอยู่ในอาณาจักรพม่ามาแต่โบราณ ปัจจุบันเชื้อสายชาวมอญผู้สร้างวัดวาอารามถวายไว้ในพระพุทธศาสนาอาจจะหลงเหลืออยู่แค่เรื่องเล่าขานอยู่ในกลุ่มอนุชนรุ่นหลังที่รับว่าตัวเองมีเชื้อสายมอญ หรืออาจจะสูญหายตายจากไปแล้ว หรือแม้แต่ไม่ยอมรับหรือไม่รู้จักรากเหง้าของตัวเอง ไม่ว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร เสาหงส์ในวัดมอญก็ยังยืนตระหง่านบอกเล่าที่มาของตนอยู่อย่างภาคภูมิ เม้ยโดงทอ ภาพ : เสาหงส์ในวัดมอญเมืองมัณฑะเลย์ - สะกาย - พุกาม

เสาหงส์ในประเทศพม่า (มัณฑะเลย์ – พุกาม)2018-06-25T09:25:46+00:00

เยี่ยมยามรีสอร์ทร่วมสมัย : ความเป็นไปของมอญกับการท่องเที่ยว

2018-06-25T08:29:13+00:00

" เยี่ยมยามรีสอร์ทร่วมสมัย : ความเป็นไปของมอญกับการท่องเที่ยว" ในยุคที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกำลังได้รับความสนใจ ชุมชนมอญหลายแห่งในประเทศไทยได้รับการผลักดันให้ก้าวลงสู่สนามธุรกิจทางด้านนี้ ประเพณี เทศกาลงานบุญ เครื่องแต่งกาย อาหาร การกินอยู่ ศิลปะหัตถกรรม ฯลฯ ต่างถูกนำมาใช้เพื่อสร้างสีสันให้กับผู้มาเยือน แอดมินได้มีโอกาสมาเยือนรีสอร์ทริมแม่น้ำแม่กลอง ใน ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี แล้วก็พบว่า "ความเป็นมอญ" ได้กลายมาเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมยาม หากมีเวลาลองมาสัมผัสความเป็นมอญ แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง พบปะพี่น้องชาวมอญในชุมชนใกล้เคียง แล้วตักตวงความประทับใจในช่วงวันหยุดกลับไปกับตัวคุณ แอดมินเม้ยโดงทอ สถานที่ : แอนทีค ริเวอร์ ไซด์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

เยี่ยมยามรีสอร์ทร่วมสมัย : ความเป็นไปของมอญกับการท่องเที่ยว2018-06-25T08:29:13+00:00

หนังสือความรู้เกี่ยวกับมอญนนทบุรี และอื่นๆ โดย ดร.พิศาล บุญผูก

2018-06-25T08:25:13+00:00

หนังสือความรู้เกี่ยวกับมอญนนทบุรี และอื่นๆ โดย ดร.พิศาล บุญผูก ในแวดวงวิชาการ และความรู้เกี่ยวกับมอญแล้ว อาจารย์ ดร.พิศาล บุญผูก นับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ท่านหนึ่ง เพราะท่านได้เขียนตำรา หนังสือ และแปลคัมภีร์ภาษามอญ ไว้มากมายหลายเล่ม วันนี้แอดมินขอแนะนำ หนังสือที่จัดพิมพ์เผยแพร่ ไว้ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆ และตามห้องสมุดประชาชน (หนังสือไม่มีจำหน่าย) ผู้ที่สนใจสามารถไปค้นคว้าในห้องสมุดใกล้บ้าน รายชื่อหนังสือ เช่น 1. เครื่องปั้นดินเผานนทบุรี 2. ปี่พาทย์มอญรำ 3. ภูมินามอำเภอปากเกร็ด 4. วัดในอำเภอปากเกร็ด 5. วัดในอำเภอไทรน้อย 6. ภูมินามอำเภอไทรน้อย 7.พระอาจารย์อะเฟาะ : เทพกวีศรีชาวมอญ แอดมิน : เม้ยกวาญฮะกอ

หนังสือความรู้เกี่ยวกับมอญนนทบุรี และอื่นๆ โดย ดร.พิศาล บุญผูก2018-06-25T08:25:13+00:00

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา

2018-06-25T08:16:15+00:00

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา 46SHARES Facebook ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 มิถุนายน 2561 คอลัมน์ ล้านนาคำเมือง ผู้เขียน ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2561 อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “ปะติทินล้านนา” แปลว่า “ปฏิทินล้านนา” ความเป็นมาของความเชื่อและศรัทธาในสังคมล้านนามีวิวัฒนาการ ก่อนที่คนล้านนาจะหันมานับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คนล้านนาเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อเรื่องวิญญาณ นับถือผี บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่าสามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข เวลาคนล้านนาจะประกอบกิจกรรมใด จึงยึดถือในสิ่งที่เป็นสิริมงคล เชื่อในฤกษ์ยามเป็นหลัก วันไหนวันดี วันไหนไม่ดี วันไหน ยามใด ข้างขึ้นหรือแรม เดือนอะไร ทั้งหมดนี้เป็นสำเหนียกของคนล้านนาโบราณเสมอมา กระทั่งทุกวันนี้คนล้านนาแท้ๆ ก็ยังมีวัตรปฏิบัติคล้ายกับคนโบราณ แม้ว่าจะไม่เคร่งครัดเท่า คนล้านนาแท้ๆ มักจะรู้ว่าวันไหนเป็น “วันเสีย” วันนั้นๆ เป็นวันที่มี “กำลังวัน” ร้ายสูงสุด เป็นวันแรงทางลบ จึงเป็นวันที่ไม่เหมาะสำหรับกระทำการมงคลใดๆ ที่ท่องๆ กันเป็นอาขยานจนถึงทุกวันนี้ได้แก่ เกี๋ยง ห้า เก้า เสียอาทิตย์กับจันทร์ ยี่ หก สิบ เสียอังคารวันเดียว สาม เจ็ด สิบเอ็ด เสียเสาร์กับพฤหัส สี่ แปด สิบสอง เสียศุกร์กับพุธ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในสังคมเป็นรายละเอียดลงไปอีก เช่น วันนำโชคขึ้นอยู่กับวันทางจันทรคติ ข้างขึ้น ข้างแรม จะส่งผลดี-ร้ายต่อผู้คนต่างกัน เช่น วัน 1 ค่ำ ช้างแก้วขึ้นสู่โรงธรรม เป็นวันดี วัน 6 ค่ำ ลงสะเปาไปค้า เป็นวันดี วัน 12 ค่ำ บ่มีดีสักอย่าง เป็นวันไม่ดี วัน 14 ค่ำ ศัตรูปองฆ่า [...]

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา2018-06-25T08:16:15+00:00

เปลมอญเมืองมอญ

2018-06-25T08:14:27+00:00

เปลมอญเมืองมอญ __________________ เปลสำหรับเด็กน้อยหรือเด็กที่ยังแบเบาะของชาวมอญที่รัฐมอญนั้นจะแตกต่างจากที่ไทย เปลที่ไทยนั้นเวลาแกว่งเปล จะแกว่งไปมาซ้ายขวา หรือแกว่งโยกไปมาหน้าหลัง แต่เปลของชาวมอญที่รัฐมอญนั้นจะมีสปริงอยู่สามสี่อันผูกกับขื่อบ้าน แล้วเอาเปลผูกต่อกับสปริง เวลาแกว่งก็จะเป็นลักษณะตึงลงเพื่อให้เปลโยกขึ้นโยกลง เดี๋ยวนี้คุณแม่ชาวมอญยิ่งสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีเครื่องมอเตอร์นำเข้าจากมาเลเซียช่วยทำหน้าที่ดึงเปลขึ้นลงให้ ส่วนคุณแม่ลูกอ่อนก็มีเวลาพักผ่อนหรือไปทำภาระกิจอย่างอื่นได้อีกหลายชั่วโมง _________________ แอดมิน#สมิงนนทบุรีศรีรามัญ

เปลมอญเมืองมอญ2018-06-25T08:14:27+00:00

พระบรมราชโองการของฮ่องเต้คังซี

2018-06-25T07:26:44+00:00

"เราอ่านรายงานเกี่ยวกับความทุกข์ยากของราษฎรทุกค่ำคืน เพื่อจะได้รู้ว่าปีนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเป็นอย่างไร โจรขโมยมากน้อยแค่ไหน มีขุนนางคนไหนทุจริตหรือไม่ หากราษฎรยังใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เราก็ไม่อาจใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขได้ เหล่าขุนนางทุกกรมกอง ควรถือเอาความทุกข์ยากของราษฎรเป็นที่ตั้ง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อราษฎรก็พึงกระทำ อีกทั้งพึงหมั่นสังเกตและรับฟังความต้องการของราษฎรทั้งปวง" (朕夙夜求治,念切民依。邇年水旱頻仍,盜賊未息,兼以貪吏朘削,民力益占,朕甚憫焉。部院科道諸臣,其以民間疾苦,作何裨益,各抒所見以聞。) พระบรมราชโองการของฮ่องเต้คังซี (康熙帝 ค.ศ.1654 - 1722 ครองราชย์ ค.ศ.1661 - 1722) มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยราชวงศ์ชิง (清朝) พระราชทานแก่ขุนนางทั้งหลาย เมื่อวันติงเหม่า(丁卯 เป็นระบบการกำหนดวันตามปฏิทินจีนโบราณ) เดือนหก รัชศกคังซีปีที่แปด (ค.ศ.1669) หลังจับกุมอ๋าวป้าย(鰲拜) และสมัครพรรคพวกเพียงหนึ่งเดือน ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา ต่อมาฮ่องเต้พระองค์นี้ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงและในประวัติศาสตร์จีน พระบรมราชโองการนี้อ้างจากพงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 6 บทว่าด้วยพระราชประวัติฮ่องเต้เซิ่งจู่ เล่มที่ 1 (聖祖本紀一) ภาพประกอบ : พระบรมสาทิสลักษณ์(ภาพวาดเหมือน)ฮ่องเต้คังซี ขณะมีพระชนมายุราวๆ 16-20 พรรษา ทรงฉลองพระองค์ชุดมังกรของฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง

พระบรมราชโองการของฮ่องเต้คังซี2018-06-25T07:26:44+00:00
Go to Top