อาเซียนการเมืองความมั่นคง

Home/อาเซียนการเมืองความมั่นคง

เยาวชนมอญร้อง ดอว์ซูจี ยกเลิกใช้คำนำหน้าภาษาพม่านำชื่อชาวมอญ อ้างเพื่อให้เกียรติคนชาติพันธุ์

2020-10-08T15:48:21+00:00

ระหว่างที่นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐได้เดินทางไปเยือนรัฐมอญ เพื่อพูดคุยหัวข้อประเด็นการเจรจาสันติภาพ ได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเยาวชนมอญและประชาชนชาวมอญที่มหาวิทยาลัยมะละแหม่ง รัฐมอญ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ ทางกลุ่มเยาวชนมอญได้ร้องขอให้นางอองซาน ซูจี พิจารณายกเลิกนำภาษาพม่า เช่น อู และ ดอว์ เป็นต้น ซึ่งมีความหมายว่า อาหรือลุง และน้าหรือป้า นำหน้าชื่อภาษามอญในเอกสารที่ทางราชการออกให้ โดยเยาวชนอ้างเป็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่ไม่ได้รับการแก้ไข้มาเป็นเวลานาน เราต้องการที่จะให้ใช้คำว่า “Mi” นำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงชาวมอญ และ”Mehm” ใช้แทนเด็กผู้ชาย นี่เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรา เมื่อเราไปสำนักงานทะเบียนแห่งชาติ ก็เกิดความขัดแย้งเพราะเจ้าหน้าที่ทำเหมือนเป็นเรื่องปกติ มีหง่วยเล จากมูลนิธิ Cetana Development Foundation กล่าว โดย มีหง่วยเล ยังอธิบายเพิ่มเติมโดยยกตัวอย่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอย่าง นางมี ลาวี ห่าน ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2015 ที่คณะกรรมการเลือกตั้งขอให้ผู้สมัครรายนี้ต้องใช้คำว่า “ดอว์” ในภาษาพม่า นำหน้าชื่อของเธอ ซึ่งเป็นชื่อภาษามอญ โดย มีหง่วยเล ได้ร้องขอให้นางอองซาน ซูจี ป้องกันอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก อย่างไรก็ตาม นางซูจีได้อธิบายแย้งว่า คนทั่วไปไม่ทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรมมอญ โดยเชื่อว่า ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะโจมตีวัฒนธรรมมอญ “พวกเขาพูดตามที่พวกเขาเข้าใจ บางคนเรียกรัฐมนตรีกระทรวงฝ่ายชาติพันธุ์ว่า อูหน่ายเท็ตลิน นั่นเป็นวิธีแสดงออกถึงความเคารพ ไม่ได้ต้องการให้เขาอับอายแต่อย่างใด” นางซูจี ยังกล่าวว่า คนมอญสามารถบอกไม่ต้องใส่คำนำหน้าเป็นภาษาพม่าในการเขียนทั่วๆ ไปได้ แต่หากเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางการกำหนดไว้ ส่วนนายอูเอมิ้นโก่ รองเลขาธิการกระทรวงฝ่ายชาติพันธุ์เผยว่า ทางกระทรวงแรงงาน การอพยพและประชากรได้จัดทำคู่มือแนะนำวิธีเขียนชื่อของคนกลุ่มชาติพันธุ์เอาไว้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คนกลุ่มชาติพันธุ์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความรู้สึกว่า พวกเขาถูกยัดเยียดความเป็นพม่าให้เมื่อต้องใส่คำนำหน้าภาษาพม่าอย่างคำว่า อูและดอว์ ที่มา Mon News Agency แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ สำนักข่าวชายขอบ : http://transbordernews.in.th/home/?p=19124 .

เยาวชนมอญร้อง ดอว์ซูจี ยกเลิกใช้คำนำหน้าภาษาพม่านำชื่อชาวมอญ อ้างเพื่อให้เกียรติคนชาติพันธุ์2020-10-08T15:48:21+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง

2018-06-24T10:21:31+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมืองได้แก่ 1. ประตูป่าแดง 2. ประตูเชียงลาน 3. ประตูง่ามฟ้า 4. ประตูหนองผา 5. ประตูแจ่งเมือง 6. ประตูยางคำ 7. ประตูหนองเหล็ก 8. ประตูน้ำบ่ออ้อย 9. ประตูยาง 10. ประตูไก่ให้ม่าน 11. ประตูผายั้ง 12. ประตูป่าม่าน ** แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 ประตูครับคือ ประตูป่าแดง และประตูหนองผา

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง2018-06-24T10:21:31+00:00

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย

2018-06-24T09:33:15+00:00

ลำดับกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ของเมืองเชียงใหม่ นำมาจากหนังสือ ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำหริห์กุล ปล.หนังสือเล่มนี้ดีมากอีกเล่มหนึ่ง อ่านสนุก เขียนแล้วเข้าใจง่าย แอดมินอ่านเพลิน วางไม่ลงเลยทีเดียว เพราะอาจารย์สามารถทำให้เรื่องประวัติศาสตร์กลายมาเป็นเรื่องสนุกที่อ่านเพลินได้ # ไทย - พม่า : เพราะแผ่นดินเราติดกัน

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย2018-06-24T09:33:15+00:00

หนังสือ ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma

2018-06-15T08:21:16+00:00

หนังสือ #ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma 426 หน้า โดย หม่องทินอ่อง แปล โดย เพ็ชรี สุมิตร ดาวโหลดไฟล์ PDF ได้ทางลิงค์http://www.openbase.in.th/files/tbpj152.pdf ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma บทที่ 1 พม่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทที่ 2 อาณาจักรดั่งเดิม: มอญและปยุ บทที่ 3 อาณาจักรพุกามและจักรวรรดิพม่าครั้งแรก บทที่ 4 ความเสื่อมของอาณาจักรพุกามและการรุกรานของชนชาติมองโกล บทที่ 5 กรุงอังวะเป็นอริกับกรุงพะโค ไทยใหญ่เป็นอริกับมอญ บทที่ 6 จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 2 บทที่ 7 ความเสื่อมของอาณาจักรบุเรงนอง บทที่ 8 พระเจ้าอลองพญากับจักรวรรดิพม่าครั้งที่สาม บทที่ 9 พม่าในสมัยก่อนทำสงครามกับอังกฤษ บทที่ 10 อังกฤษบุกรุกพม่า ค.ศ.1824-1852 บทที่ 11 อังกฤษได้พม่า ค.ศ.1885 บทที่ 12 การกู้เอกราช ค.ศ.1886-1948 CR : มูลนิธิโครงการตำราฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำเนินงานภายใต้ปณิธาน "นัตถิ ปัญญา สมา อาภา" แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี ข้อมูลเพ่ิมเติมเกี่ยวกับโครงการตำราฯ คลิ๊ก:www.textbooksproject.org

หนังสือ ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma2018-06-15T08:21:16+00:00

เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

2018-06-15T08:05:52+00:00

เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังจากที่ทัพพระเจ้าตากหักเอาเมืองจันทบูร (จันทบุรี) ลงได้แล้ว ก็ยังจัดทัพไปยังเมืองตราดด้วย ก่อนจะย้อนกลับมาตั้งหลักอยู่ที่เมืองจันทบูร เพื่อต่อเรือรบ เป้าหมายต่อไปคือ เมืองธนบุรี ที่มารูปภาพและเนื้อหา หนังสือ พระเจ้าตากเบื้องต้น # ไทย - พม่า : เพราะแผ่นดินเราติดกัน

เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช2018-06-15T08:05:52+00:00
Go to Top