อาเซียนสังคม-วัฒนธรรม-ประเพณี

Home/อาเซียนสังคม-วัฒนธรรม-ประเพณี

การแต่งกายของชาวตะเลงในพม่าและสยาม

2020-10-07T05:18:48+00:00

ชาวตะเลงในพม่า แต่งกายคล้ายคลึงชาวพม่า แตกต่างกันน้อยมาก ผู้ชายนุ่งผ้าหน้าแคบ ยาวประมาณ ๘ หลา ไม่ตัดเข้าทรง เวลานุ่งรวบชายผ้าไว้ข้างหน้าพับสามทบ ทิ้งชายผ้ายาว หรือบางครั้งเอาพาดบ่า สำหรับคนแก่ จะเอาชายผ้าพันคอกันหนาวตอนเช้าเหมือนผ้าพันคอหรือผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายใช้นุ่งประจำวัน ส่วนผ้าไหมใช้นุ่งในโอกาสพิเศษ ร่างท่อนบนสวมเสื้อตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีขาว หรือสีเข้ม เข้ารูปพอดีตัว ใช้ผ้าไหมสีสดโพกศีรษะ ผู้หญิงนุ่งผ้าลักษณะเดียวกับผู้ชาย แต่ลวดลายและความยาวต่างกัน สวมเสื้อสีขาวหรือสีต่างๆ ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ในโอกาสพิเศษคล้องหรือห่มผ้าไหมสีสด หญิงสูงอายุบางคนนุ่งผ้าถุงหน้าแคบมาก เป็นผ้าไหมผืนสี่เหลี่ยมเพลาะติดกัน ๒ ผืน เวลาเดินเผยเห็นขา ทั้งชายและหญิงสวมรองเท้าแตะเหมือนกัน ชายชาวตะเลงในสยามแต่งกายคล้ายคลึงชาวสยาม นุ่งผ้านุ่งโจง แต่นิยมสวมเสื้อแบบพม่า ภายหลังนิยมสวมเสื้อแบบตะวันตกตามความนิยมของสยาม อีกทั้งสวมหมวกด้วย ชาวตะเลงในสยามไม่โพกศีรษะ ด้วยตัดผมสั้น การไว้ผมแบบดั้งเดิมของชาวตะเลงอาจสืบค้นได้ยาก นักประวัติศาสตร์ชาวตะเลงบอกว่า เมื่อพระเจ้าตะบินชเวที ขึ้นครองบัลลังก์เมืองพะโคได้ ๔ ปี ก็ตัดผมตามอย่างธรรมเนียมมอญ มีคนบอกว่าไม่ตัดผมสั้นเหมือนชาวตะวันตกหรือสยาม แต่เป็นทรงเหมือนชามคว่ำบนศีรษะ เล็มปลายผมให้เรียบเสมอกัน หญิงชาวมอญในสยามไว้ผมยาวเกล้ามวยบริเวณท้ายทอย แตกต่างจากทรงผมชาวพม่า เพราะชาวพม่าเกล้าผมกลางศีรษะ และนุ่งผ้าแตกต่างจากชาวพม่า หญิงชาวสยามหาบไม้คานส่วนหญิงชาวพม่าเทินสัมภาระบนศีรษะ หญิงชาวมอญสวมเสื้อแขนยาวสีขาว ในโอกาสพิเศษ และสวมเสื้อสีเข้มในชีวิตประจำวัน ชาวตะเลงในสยามไม่สักหมึก ขณะชาวตะเลงในพม่าสักหมึกกันทั่วไป มีหลักฐานชัดเจน บันทึกนักเดินทางในสมัยโบราณระบุว่า รอยสักเป็นสิ่งแยกแยะชาวพม่าออกจากชาวตะเลง ในสยามมีคนสักหมึกน้อย ส่วนใหญ่อาจารย์สักหมึกชาวพม่าผู้เดินทางท่องเที่ยวมาเป็นคนสักให้ ฯลฯ สุทธิศักดิ์ ถอดความ ภาพ Mameet ชาวตะเลงธิดาเจ้าเมืองเเปร ('A Series of Views in Burmah) Talaings by Halliday R. Publication date 1917

การแต่งกายของชาวตะเลงในพม่าและสยาม2020-10-07T05:18:48+00:00

ฉากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า : จิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์

2020-10-07T05:06:02+00:00

ฉากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า : จิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี วันนี้นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวพุทธ ที่มีหลายๆท่านได้โพส ข้อความต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) ด้วยความสำคัญของวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้านี้เองจึงเป็นตอนสำคัญที่มักปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังในวัดหลายๆ แห่ง เช่นที่วัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงฉากสำคัญ เช่น ขบวนแห่พระบรมศพ ของพระพุทธเจ้า และฉากถวายพระเพลิงพระบรมศพ นอกจากนั้นยังแสดงภาพมโหรสพ สมโภชเอิกเกริก เช่น การแสดงหนังใหญ่จากวัดขนอน วงปี่พาทย์มอญ หุ่นละครเล็ก โรงหุ่น ภาพจิตรกรรมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคติความเชื่อที่ชาวมอญมีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและยังเชื่อมโยงไปสู่ประเพณีการจัดงานศพพระสงฆ์ ที่ชาวมอญให้ความสำคัญและสืบทอดมาจนทุกวันนี้... แอดมิน :เม้ยกวาญฮะกอ ที่มาภาพ : www.voicetv.co.th ,th.readme.me

ฉากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า : จิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์2020-10-07T05:06:02+00:00

เสาหงส์ในประเทศพม่า (มัณฑะเลย์ – พุกาม)

2018-06-25T09:25:46+00:00

"เสาหงส์ในประเทศพม่า (มัณฑะเลย์ - พุกาม)" ชาวมอญอาศัยอยู่หนาแน่นในเมืองต่างๆ ของประเทศพม่าตอนกลาง - ตอนใต้ เช่น ย่างกุ้ง พะโค เมาะละแหม่ง เร (เย) ฯลฯ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะได้พบกับวัดมอญ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องพบเสาหงส์ภายในวัดมอญอันเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชุมชนมอญ ทว่าจากการเดินทางผ่านบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีตของชาวพม่าซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่น มัณฑะเลย์ สะกาย พุกาม อมรปุระ กลับพบว่ามีวัดมอญแทรกตัวอยู่ทั่วไป โดยสังเกตได้จากเสาหงส์ และสิ่งอื่นๆ เช่น รูปปั้น หรือ แผ่นจารึก ฯลฯ จากการสอบถามชาวบ้านในท้องถิ่น พบว่าวัดมอญเหล่านี้อยู่ในย่านที่มีชาวมอญอาศัยอยู่ในปัจจุบันหรือในอดีต หรือแม้แต่ในย่านที่ชาวบ้านเล่าว่าไม่เคยได้ยินเรื่องชุมชนมอญในท้องถิ่นที่ตัวเองอาศัยอยู่เลย แต่จากหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์ พบว่าชุมชนชาวมอญมีอยู่ทั่วไปในอาณาจักรพม่าในอดีต ทั้งที่เป็นเชลยสงคราม พ่อค้าวาณิช ช่างฝีมือรับจ้างหรือแม้แต่ผู้ติดตามพระสงฆ์องคเจ้ามาอาศัยอยู่ในอาณาจักรพม่ามาแต่โบราณ ปัจจุบันเชื้อสายชาวมอญผู้สร้างวัดวาอารามถวายไว้ในพระพุทธศาสนาอาจจะหลงเหลืออยู่แค่เรื่องเล่าขานอยู่ในกลุ่มอนุชนรุ่นหลังที่รับว่าตัวเองมีเชื้อสายมอญ หรืออาจจะสูญหายตายจากไปแล้ว หรือแม้แต่ไม่ยอมรับหรือไม่รู้จักรากเหง้าของตัวเอง ไม่ว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร เสาหงส์ในวัดมอญก็ยังยืนตระหง่านบอกเล่าที่มาของตนอยู่อย่างภาคภูมิ เม้ยโดงทอ ภาพ : เสาหงส์ในวัดมอญเมืองมัณฑะเลย์ - สะกาย - พุกาม

เสาหงส์ในประเทศพม่า (มัณฑะเลย์ – พุกาม)2018-06-25T09:25:46+00:00

เยี่ยมยามรีสอร์ทร่วมสมัย : ความเป็นไปของมอญกับการท่องเที่ยว

2018-06-25T08:29:13+00:00

" เยี่ยมยามรีสอร์ทร่วมสมัย : ความเป็นไปของมอญกับการท่องเที่ยว" ในยุคที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกำลังได้รับความสนใจ ชุมชนมอญหลายแห่งในประเทศไทยได้รับการผลักดันให้ก้าวลงสู่สนามธุรกิจทางด้านนี้ ประเพณี เทศกาลงานบุญ เครื่องแต่งกาย อาหาร การกินอยู่ ศิลปะหัตถกรรม ฯลฯ ต่างถูกนำมาใช้เพื่อสร้างสีสันให้กับผู้มาเยือน แอดมินได้มีโอกาสมาเยือนรีสอร์ทริมแม่น้ำแม่กลอง ใน ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี แล้วก็พบว่า "ความเป็นมอญ" ได้กลายมาเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมยาม หากมีเวลาลองมาสัมผัสความเป็นมอญ แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง พบปะพี่น้องชาวมอญในชุมชนใกล้เคียง แล้วตักตวงความประทับใจในช่วงวันหยุดกลับไปกับตัวคุณ แอดมินเม้ยโดงทอ สถานที่ : แอนทีค ริเวอร์ ไซด์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

เยี่ยมยามรีสอร์ทร่วมสมัย : ความเป็นไปของมอญกับการท่องเที่ยว2018-06-25T08:29:13+00:00

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา

2018-06-25T08:16:15+00:00

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา 46SHARES Facebook ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 มิถุนายน 2561 คอลัมน์ ล้านนาคำเมือง ผู้เขียน ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2561 อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “ปะติทินล้านนา” แปลว่า “ปฏิทินล้านนา” ความเป็นมาของความเชื่อและศรัทธาในสังคมล้านนามีวิวัฒนาการ ก่อนที่คนล้านนาจะหันมานับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คนล้านนาเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อเรื่องวิญญาณ นับถือผี บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่าสามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข เวลาคนล้านนาจะประกอบกิจกรรมใด จึงยึดถือในสิ่งที่เป็นสิริมงคล เชื่อในฤกษ์ยามเป็นหลัก วันไหนวันดี วันไหนไม่ดี วันไหน ยามใด ข้างขึ้นหรือแรม เดือนอะไร ทั้งหมดนี้เป็นสำเหนียกของคนล้านนาโบราณเสมอมา กระทั่งทุกวันนี้คนล้านนาแท้ๆ ก็ยังมีวัตรปฏิบัติคล้ายกับคนโบราณ แม้ว่าจะไม่เคร่งครัดเท่า คนล้านนาแท้ๆ มักจะรู้ว่าวันไหนเป็น “วันเสีย” วันนั้นๆ เป็นวันที่มี “กำลังวัน” ร้ายสูงสุด เป็นวันแรงทางลบ จึงเป็นวันที่ไม่เหมาะสำหรับกระทำการมงคลใดๆ ที่ท่องๆ กันเป็นอาขยานจนถึงทุกวันนี้ได้แก่ เกี๋ยง ห้า เก้า เสียอาทิตย์กับจันทร์ ยี่ หก สิบ เสียอังคารวันเดียว สาม เจ็ด สิบเอ็ด เสียเสาร์กับพฤหัส สี่ แปด สิบสอง เสียศุกร์กับพุธ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในสังคมเป็นรายละเอียดลงไปอีก เช่น วันนำโชคขึ้นอยู่กับวันทางจันทรคติ ข้างขึ้น ข้างแรม จะส่งผลดี-ร้ายต่อผู้คนต่างกัน เช่น วัน 1 ค่ำ ช้างแก้วขึ้นสู่โรงธรรม เป็นวันดี วัน 6 ค่ำ ลงสะเปาไปค้า เป็นวันดี วัน 12 ค่ำ บ่มีดีสักอย่าง เป็นวันไม่ดี วัน 14 ค่ำ ศัตรูปองฆ่า [...]

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา2018-06-25T08:16:15+00:00

เปลมอญเมืองมอญ

2018-06-25T08:14:27+00:00

เปลมอญเมืองมอญ __________________ เปลสำหรับเด็กน้อยหรือเด็กที่ยังแบเบาะของชาวมอญที่รัฐมอญนั้นจะแตกต่างจากที่ไทย เปลที่ไทยนั้นเวลาแกว่งเปล จะแกว่งไปมาซ้ายขวา หรือแกว่งโยกไปมาหน้าหลัง แต่เปลของชาวมอญที่รัฐมอญนั้นจะมีสปริงอยู่สามสี่อันผูกกับขื่อบ้าน แล้วเอาเปลผูกต่อกับสปริง เวลาแกว่งก็จะเป็นลักษณะตึงลงเพื่อให้เปลโยกขึ้นโยกลง เดี๋ยวนี้คุณแม่ชาวมอญยิ่งสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีเครื่องมอเตอร์นำเข้าจากมาเลเซียช่วยทำหน้าที่ดึงเปลขึ้นลงให้ ส่วนคุณแม่ลูกอ่อนก็มีเวลาพักผ่อนหรือไปทำภาระกิจอย่างอื่นได้อีกหลายชั่วโมง _________________ แอดมิน#สมิงนนทบุรีศรีรามัญ

เปลมอญเมืองมอญ2018-06-25T08:14:27+00:00

Kuthodaw Pagoda

2018-06-25T06:52:53+00:00

Each of the hundreds of marble tablets that surround Myanmar's Kuthodaw Pagoda make up a page of Buddhist teachings. Take a walking tour through the largest book in the world.

Kuthodaw Pagoda2018-06-25T06:52:53+00:00

Paw Daw Mu Pagoda ผ่องว์ด่อว์มูเจดีย์เมืองมะริด

2018-06-25T05:52:34+00:00

Paw Daw Mu Pagoda ผ่องว์ด่อว์มูเจดีย์เมืองมะริด กับตำนานเล่าขานของโพโพอาว ที่อธิฐานบูรณะเจดีย์ ในช่วงสงครามโลก ช่วงเย็นค่ำ ชาวบ้านเป็นจำนวนมากจะมานั่งสมาธิ สวดมนต์ที่เจดีย์นี้

Paw Daw Mu Pagoda ผ่องว์ด่อว์มูเจดีย์เมืองมะริด2018-06-25T05:52:34+00:00

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม

2018-06-24T10:44:22+00:00

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ที่ในสมัยหนึ่ง คนในเขต อำเภอเมือง ของ จังหวัดนครพนม บอกตัวเองว่า เป็นคนไทใหญ่  เพราะคนทั้งหมู่บ้านตั้งแต่ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ก็บอกว่าเขาอพยพเดินทางมาจากพม่า ลงมาตามแม่นำโขง ตั้งถิ่นฐานแถบเมืองลาว ระยะหนึ่งก่อนจะเข้ามาอยู่เมืองไทย ชาวบ้านในหมู่บ้านที่นครพนม เขาก็เชื่อว่าเขาคือคนไทใหญ่ เมื่อมาอ่านเวปไซค์ และ ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ ทำให้เชื่อสนิทใจว่า พี่น้อง ใน บ้านฟึ่ง บ้านหนองบัว ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม ที่นับถือผีบรรพบุรุษ "เจ้าผ้าขาว" เป็นชาวไทใหญ่ จริง อยากให้พี่น้องชาวไทใหญ่ ไปสืบข่าวดูนะ การล่มสลายของอาณาจักกรน่านเจ้านั้น ทำให้ชนชาติไตต้องถอยร่นลงไปทางใต้ และ ทิศตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง ประกอบด้วย หลายกลุ่ม กลุ่มไตอ่อน กลุ่มนี้อพยพลงไปทางตอนใต้ ได้สร้างเมืองพะยาว (พูกามยาว)ขึ้นก่อน หลังจากนั้นก็ได้สร้างอาณาจักรเงินยางเชียงแสน บางกลุ่มกระจายไปสร้างอาณาจักรโคตรบูรณ์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองนครพนม อีกพวกหนึ่งได้สร้างเมืองหลวงสึ่งเคอไต หรือ กรุงสุโขทัย ขึ้น ในช่วงที่ขุนรามคำแหง สร้างอาณาจักรสึ่งเคอไต นี่เอง ไตพวกที่สร้างเมืองเชียงรายคือพ่อขุนเมงราย กับพ่อขุนงำเมือง ได้เชิญพ่อขุนรามคำแหง มาร่วมหาทำเลสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา จนกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม2018-06-24T10:44:22+00:00

การตีกลองก้นยาวก้าลาย ในสมัยก่อน

2018-06-24T10:36:25+00:00

การตีกลองก้นยาวก้าลาย ในสมัยก่อน จะใช้คนตี มอง (ฆ้อง)ยืนเรียงแถว ไม่เหมือนสมัยใหม่ ที่ใช้คานหาม แต่ของพี่น้องชาติพันธ์ปะโอยังคงใช้คนยืนเรียงแถวตีอยู่นะ แต่ของชาติพันธ์ไตเราหาดูยากแล้วละ นานๆจะเห็นสักครั้ง เป็นภาพที่เก่าแก่หาดูได้ยากสักหน่อยครับ แต่มีเสน่ห์จัง

การตีกลองก้นยาวก้าลาย ในสมัยก่อน2018-06-24T10:36:25+00:00
Go to Top