อาเซียนสังคม-วัฒนธรรม-ประเพณี

Home/อาเซียนสังคม-วัฒนธรรม-ประเพณี

เมืองลางเคอ รัฐฉาน ฤดูร้อนจะร้อนกว่าเมืองอื่นๆในรัฐฉาน

2018-06-24T10:26:43+00:00

เมืองลางเคอ รัฐฉาน ฤดูร้อนจะร้อนกว่าเมืองอื่นๆในรัฐฉาน แต่ฤดูฝนวิวสวยๆก็มีมากมาย มนเสน่ห์ของเมืองนี้คือเป็นเมืองเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นถั่วเน่า งาดำ ยาเส้น ชากเก และอื่นๆอีกมากมาย สินค้าสมัยก่อนคนหนุ่มสาวจะแบกหามหรือใส่หลังม้ามาขายที่เมืองแม่ฮ่องสอนของไทย โดยการเดินทางแบบค้างคืนในป่า ต้องพกข้าวสาร อาหาร น้ำมาเอง โดยใช้เวลาเดินทางโดยเท้าประมาณ 3-4 วัน แต่ปัจจุบันจากแม่ฮ่องสอนไปลางเคอใช้เวลาเดินทาง 5-6 ชม.ก็ถึงแล้วโดยมีถนนลาดยางบางพื้นที่ในตะวันออกแม่น้ำสาละวิน แต่ฝั่งตะวันตกเป็นถนนลาดยางทั้งหมด  

เมืองลางเคอ รัฐฉาน ฤดูร้อนจะร้อนกว่าเมืองอื่นๆในรัฐฉาน2018-06-24T10:26:43+00:00

บนถนนสู่มัณฑเลย์ เรื่องเล่าจากชาวดิน 

2018-06-24T09:40:28+00:00

แนะนำหนังสือครับ :) หนังสือ บนถนนสู่มัณฑเลย์ เรื่องเล่าจากชาวดิน :) ตอนแรกก็คิดว่าคงเป็นงานเขียนเรื่องสั้นธรรมดาๆ แอดมินกะว่าหยิบมาอ่านเพื่อฆ่าเวลาเรื่อยเปื่อย แต่ที่ไหนได้หนังสือเล่มนี้ช่างมีเสน่ห์และไม่เหมือนเล่มไหนที่เคยอ่านมาจริงๆ หนังสือ บนถนนสู่มัณฑเลย์ เรื่องเล่าจากชาวดินเล่มนี้ เขียนโดยคุณ เมียะ ตัน ติน นักเขียนร่วมสมัยชาวพม่า เป็นงานเขียนประเภทแนวเหมือนจริง ที่เกิดจากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับผู้คนหลากหลายสาขาอาชีพระหว่างการเดินสายบรรยายด้านวรรณกรรมและนำมาถ่ายทอดในรูปของการสัมภาษณ์ที่บอกเล่าถึง ชีวิต ความรัก ความใฝ่ฝัน รอยยิ้ม และน้ำตา ที่ล้วนมีสีสันและลักษณะเฉพาะ ซึ่งผู้เขียนได้นำมาเขียนรวมเข้าด้วยกันเป็นผลงานชิ้นนี้ ทำให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นสภาพชีวิตของชาวพม่าอันเรียบง่ายและไม่ได้ต่างไปจากชีวิตของคนชนชาติอื่นแต่อย่างใดเลย ปล.หนังสือเล่มนี้ไม่ได้แปลจากภาษาพม่าต้นฉบับนะครับ แต่แปลมาจากฉบับแปลภาษาอังกฤษอีกทอดหนึ่งนะครับ

บนถนนสู่มัณฑเลย์ เรื่องเล่าจากชาวดิน 2018-06-24T09:40:28+00:00

Buddhas underwater in the Ocean

2018-06-24T09:27:04+00:00

Buddhas underwater in the Ocean Buddha Statues were found under the ocean in Indonesia aged more than 1500 years This is an evidence to tell us that Buddhism was spreading to Indonesia and Buddhist religion was the primary religion in there. This discovery would bring the faith in Buddhism back to the world. The knowledge of truth is the knowledge of truth which always stay with the world. web.facebook.com/InnerDhamma 610214 Buddha Statues were found under the ocean in Indonesia aged more than 1500 years This is an evidence to tell us that Buddhism was spreading to Indonesia and Buddhist religion was [...]

Buddhas underwater in the Ocean2018-06-24T09:27:04+00:00

ก๊าวกูน  Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา

2018-06-20T07:09:13+00:00

ก๊าวกูน #Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา 7th A.D

ก๊าวกูน  Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา2018-06-20T07:09:13+00:00

ลาวพลัดถิ่น กว่า 200,000 คน ในดินแดนเมียนมา

2018-06-20T06:06:34+00:00

19 กรกฎาคม 2017 ลาวพลัดถิ่น กว่า 200,000 คน ในดินแดนเมียนมา !!! ยังคงภาษา วัฒนธรรม ประเพณี กว่า 200 ปี . บทสัมภาษณ์ ลุงปาน ลาวพลัดถิ่น บ้านป่าหวาย รัฐกะเหรี่ยง - Footage . *** นำมาให้ชมเพื่อการศึกษา โพสต์นี้สงวนสิทธิ์ งดแสดงความคิดเห็น พาดพิงบุคคลอื่น บุคคลใด หรือ ประเทศใดๆ นะคะ แอดจะลบ หรือ แบน ตามความเหมาะสม *** แอดโลกสวยค่ะ .. ดราม่าเชิญเล่นช่องอื่น...อ่ะเคร่ . ชาวลาวอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสยามกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ตั้งแต่สงครามต้นสมัยรัตนโกสินทร์ 200 ปีมาแล้ว พวกเขาเหล่านี้ถูกกวาดต้อนมาพร้อมกับพระแก้วมรกต พระบาง เพื่อเป็นแรงงานให้กับสยาม โดยชาวสยามได้ใช้ให้ชาวลาวเหล่านี้ปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงกองทัพสยาม คนเหล่านี้จึงมาที่นี่พร้อมกับการเริ่มต้นของเมืองหลวงแห่งใหม่ . บรรพบุรุษพวกลาวกลุ่มนี้ถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานอยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีชายแดนติดพม่า และมะริด ทวาย เมาะตะมะในพม่าซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเมืองขึ้นของสยาม จำนวนปัจจุบันมีหลายหมื่นคนในพม่าแต่เฉพาะอยู่ในเขตไทย (อำเภอทองผาภูมิ) ประมาณ 10,000 คน พวกเขาพูดภาษาลาว ถือฮีตสิบสองคองสิบสี่เหมือนลาวในลาวและลาวอีสาน . ปัจจุบัน ชาวลาว อาศัยอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงและรอยต่อรัฐมอญ มี 12 หมู่บ้านใหญ่ๆ อาทิเช่น บ้านหนองโค , บ้านหนองมัง , บ้านป่าหวาย , บ้านป่าคอก , บ้านสองแคว , บ้านหนองบัว , บ้านแหย่แหล่ , บ้านชเวตองโบ , บ้านทุ่งแม่โด่ง , บ้านแมตะโก่ง , บ้านพัดตะแหล่ และ บ้านใหม่ . ทุกหมู่บ้าน มีบัตรประชาชนเมียนมา ชีวิตความเป็นอยู่สุขสบาย #ลาวพลัดถิ่น  ที่มา พาเที่ยวพม่า [...]

ลาวพลัดถิ่น กว่า 200,000 คน ในดินแดนเมียนมา2018-06-20T06:06:34+00:00

ตะจาน ประเพณีสงกรานต์ของพม่า

2018-06-20T07:11:11+00:00

ตะจาน คล้ายกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน คือ การเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อนและเปรียบเหมือนเป็นการลบล้างสิ่งไม่ดีจากปีเก่าเพื่อความเป็นสิริมงคล ในสมัยอดีตจะใช้การเล่นสาดน้ำอย่างเบา ๆ โดยใช้ยอดหว้าอ่อนชุบใส่น้ำปรุงแล้วแตะเบา ๆ บนไหล่ของผู้ที่จะเล่นสาดน้ำด้วย นอกจากการเล่นสนุกสนานแล้ว ยังมีประเพณีบุญ คือ การทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น การตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, ถือศีลปฏิบัติธรรม, ทำความสะอาดวัดหรือศาสนสถาน, ทำบุญบ้าน, สระผมหรืออาบน้ำทำความสะอาดให้แก่คนชราที่ไร้ญาติ รวมถึงการปล่อยสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก, ปลา หรือสัตว์ใหญ่อย่าง วัวหรือควาย นอกจากนี้แล้วผู้คนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างถิ่น ก็จะเดินทางกลับสู่ถิ่นเกิดเพื่อกราบไหว้ผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น พ่อแม่, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา เป็นต้น และเชื่อว่าหากได้สระผมหรือตัดเล็บก่อนไปทำบุญที่วัด จะเป็นการตัดสิ่งไม่ดีในปีเก่าทิ้งไปและรับสิ่งดี ๆ เข้ามา

ตะจาน ประเพณีสงกรานต์ของพม่า2018-06-20T07:11:11+00:00

หนังสือ ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma

2018-06-15T08:21:16+00:00

หนังสือ #ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma 426 หน้า โดย หม่องทินอ่อง แปล โดย เพ็ชรี สุมิตร ดาวโหลดไฟล์ PDF ได้ทางลิงค์http://www.openbase.in.th/files/tbpj152.pdf ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma บทที่ 1 พม่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทที่ 2 อาณาจักรดั่งเดิม: มอญและปยุ บทที่ 3 อาณาจักรพุกามและจักรวรรดิพม่าครั้งแรก บทที่ 4 ความเสื่อมของอาณาจักรพุกามและการรุกรานของชนชาติมองโกล บทที่ 5 กรุงอังวะเป็นอริกับกรุงพะโค ไทยใหญ่เป็นอริกับมอญ บทที่ 6 จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 2 บทที่ 7 ความเสื่อมของอาณาจักรบุเรงนอง บทที่ 8 พระเจ้าอลองพญากับจักรวรรดิพม่าครั้งที่สาม บทที่ 9 พม่าในสมัยก่อนทำสงครามกับอังกฤษ บทที่ 10 อังกฤษบุกรุกพม่า ค.ศ.1824-1852 บทที่ 11 อังกฤษได้พม่า ค.ศ.1885 บทที่ 12 การกู้เอกราช ค.ศ.1886-1948 CR : มูลนิธิโครงการตำราฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำเนินงานภายใต้ปณิธาน "นัตถิ ปัญญา สมา อาภา" แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี ข้อมูลเพ่ิมเติมเกี่ยวกับโครงการตำราฯ คลิ๊ก:www.textbooksproject.org

หนังสือ ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma2018-06-15T08:21:16+00:00

สระอโนดาต

2018-06-15T08:17:32+00:00

ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา เป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด สถานที่หนึ่งในนั้นคือ สระอโนดาต สระอโนดาต ตั้งอยู่ศูนย์กลางของป่าหิมพานต์ สายน้ำที่ไหลจากป่าหิมพานต์ ได้ไหลลงมาหล่อเลี้ยงดินแดนชมพูทวีปด้านล่างให้มีความสมบูรณ์ ไม่มีวันเหือดแห้งจนกว่าจะสิ้นมหากัปป์ สระอโนดาตล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ๕ เขาโน้มเข้าหากัน คือ สุทัสสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และเขาไกรลาส สระอโนดาตนั้นมีท่าน้ำอยู่ ๔ ท่า ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท่าสิงห์ (สีหมุข) ท่าช้าง (หัตถีมุข) ท่าม้า (อัสสมุข) และท่าวัว (อุสภมุข) สายน้ำจากสระอโนดาตจะไหลออกจากปากสัตว์มงคลทั้งสี่ทิศ ไหลเวียนขวาทักษิณาวรรต ๓ รอบ แล้วไหลออกจากสระเป็นสายน้ำ ผ่านแดนหิมพานต์ เป็นสี่ทิศลงสู่มหานทีสีทันดร น้ำจากสระอโนดาตที่ไหลออกทางทิศใต้ ไหลออกไปพุ่งกระทบภูเขา ทำให้น้ำพุ่งขึ้นเป็นละอองฝอยในอากาศ เรียกว่า อากาศคงคา ตามไตรภูมิกล่าวว่า น้ำพุ่งกระเด็นขึ้นไปถึง ๖๐ โยชน์ แล้วจึงตกไปบนแผ่นดิน กลายเป็นสระโบกขรณี ไหลผ่านระหว่างภูเขา ๕ ลูก เกิดเป็นปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหี และสรภู ที่ไหลหล่อเลี้ยงดินแดนทางทิศใต้ให้อุดมสมบูรณ์ Location : Maha Sandar Muni Pagoda Mandalay Coordinate : 21.926846, 96.068245 . "เพลินพม่า" อย่างที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน The people ,the culture, the food: Let me show you Myanmar!

สระอโนดาต2018-06-15T08:17:32+00:00
Go to Top