Yearly Archives: 2020

Home/2020

จักรพรรดินีนาม เฟือง: เจ้าหญิงองค์สุดท้าย…ของเวียดนาม

2020-10-08T15:42:20+00:00

#ประวัติศาสตร์จากประเทศเพื่อนบ้าน ขอนำเสนอ เจ้าหญิงองค์สุดท้าย...ของเวียดนาม (จักรพรรดินีนาม เฟือง) ภาพประกอบ: ทรงฉายในพระราชพิธีอภิเษกสมรส ปี 2477 โดย: Nguyen Dynasty photographer --------------- ประวัติ จักรพรรดินีนาม เฟือง พระนามาภิไธยเดิม เหงียน หืว ถิ ลาน ศาสนนาม มารี-เตแรซ เป็นพระอัครมเหสีในจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของเวียดนาม เป็นจักรพรรดินีพระองค์ที่สองและพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์เหงียน จักรพรรดินีนาม เฟือง มีพระนามาภิไธยเดิมว่า มารี-เตแรซ เหงียน หืว ถิ ลาน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ณ เมืองก่อกง อันเป็นเมืองแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ขึ้นกับโคชินไชนา หนึ่งในสามดินแดนอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส อภิษกสมรส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2477 ข่าวการหมั้นของเหงียน หืว ถิ ลาน กับพระเจ้าบ๋าว ดั่ย กษัตริย์แห่งอันนัม ได้เผยแพร่ออกไป พระเจ้าบ๋าว ดั่ย ได้กล่าวว่า "พระราชินีในอนาคตได้รับการเลี้ยงดูเหมือนเราในฝรั่งเศส เป็นการรวมระหว่างบุคลิกของนางคือ ความสง่าแห่งตะวันตกและเสน่ห์แห่งตะวันออก เราได้มีโอกาสพบนาง เชื่อว่านางเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญเพื่อเป็นมิตรที่ดีของเราและผู้เท่าเทียมกับเรา เราแน่ใจในจริยวัตรและแบบอย่างที่ดี เราควรยกย่องนางเป็น สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของจักรวรรดิ (First Woman of the Empire)" ลังจากพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการที่พระราชวังฤดูร้อนในเมืองด่าหลัต พระเจ้าบ๋าว ดั่ย ได้อภิเษกสมรสกับเหงียน หืว ถิ ลาน ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่เมืองเว้ พระราชพิธีจัดขึ้นตามหลักพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้นำคาทอลิกของครอบครัวฝ่ายหญิงได้โต้เถียงอย่างรุนแรง คนในประเทศจึงไม่พอใจการเลื่อมใสในศาสนาของเจ้าสาว บางคนกล่าวว่าการสมรสนี้ "เป็นการจัดตามกลลวงของฝรั่งเศส" หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้เขียนว่า "ทำให้เกิดความไม่พอใจไปทั่ว" ในประเทศนี้ เหงียน หืว ถิ ลานปฏิเสธที่จะยอมละทิ้งคาทอลิกและได้ร้องอุทธรณ์ถึง [...]

จักรพรรดินีนาม เฟือง: เจ้าหญิงองค์สุดท้าย…ของเวียดนาม2020-10-08T15:42:20+00:00

วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย

2020-10-07T05:27:32+00:00

วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย  โดย ดร.พระมหาเกียงศักดิ์ อินทปัญโญ วัดสุทธิวราราม กรุงเทพ การเขียนข้อเสนอโครงกาวิจัยเพื่อขอรับทุนวิจัยจากหน่วยให้ทุนวิจัยต่างๆ ผู้วิจัยจำเป็นต้องวิเคราะห์ ลักษณะผู้ให้ทุน กรอบการวิจัยที่ผู้ให้ทุนประกาศรับ และสำรวจความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยที่จะสอดคล้องกับ กรอบวิจัยที่แหล่งทุนวิจัยนั้นต้องการ วันนี้ขอนำเสนอ PMU หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แหล่งทุนนี้ เน้นการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้มีโอกาสเข้ามาร่วมกันคิด วางแผน กำหนด ลงมือดำเนินการและการวัดผลในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนาอย่างมีกลยุทธ์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ แพลตฟอร์มที่น่าสนใจ คือแพลตฟอร์มที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในโปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและ วางรากฐานทางเศรษฐกิจ จากการสำรวจกรอบประเด็นวิจัยที่ บพข ประกาศกรอบนโยบาย ซึ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกรอบวิจัยที่นักวิจัยของ มจร. พอจะนำมากำหนดเป็นประเด็นเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อเบียดตัวเองให้ได้รับทุนวิจัยจาก PMU นี้ มีประเด็นน่าสนใจดังนี้ กรอบวิจัยที่ 5. การท่องเที่ยวและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์: การพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวและ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก 5.1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสินค้าสร้างสรรค์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนา สินค้าสร้างสรรค 5.2 พัฒนารูปแบบธุรกิจ เช่น Creative Startups และ Social Enterprise 5.3 พัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น การท่องเที่ยวเมืองรอง และย่านสร้างสรรค์ 5.4 การศึกษาด้านการตลาด โดยการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์การท่องเที่ยว 5.5 การวิเคราะห์จัดกลุ่มนักท่องเที่ยว และการกำหนดกลยุทธ์การตลาดการ ท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะ 5.6 พัฒนาระบบมาตรฐานการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 5.7 พัฒนาระบบบัญชีต้นทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ที่สำคัญ กรอบวิจัยที่ 6. การท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ (Wellness tourism) ประกอบด้วย - การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) - การท่องเที่ยวบริการสุขภาพ (Spa & Wellness Tourism) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) - [...]

วิเคราะห์แหล่งทุนวิจัย2020-10-07T05:27:32+00:00
Go to Top