About Us

 

ประวัติความเป็นมาของศูนย์อาเซียนศึกษา

 

We offer a wide range of high quality of teaching and extra-curricular activities.

“วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ และโครงการ”

วิสัยทัศน์

“ศูนย์กลางการเรียนรู้พระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน”

พันธกิจ

๑.  สร้างองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน
๒.  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน
๓.  บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน
๔.  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน

ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ และโครงการ

 ยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาองค์ความรู้และวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือด้านศาสนา ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมในอาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕  พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล

ค่านิยม (Shared Values)

KPI = K : Knowledge P: Professionalism I: Innovation

K : บุคลากรมีความรู้และความสามารถ ปฏิบัติงานบนพื้นฐานข้อเท็จจริงให้ความสำคัญกับการจีดากรความรู้และมุ่งผลิตงานวิชาการที่มีคุณภาพ

P : บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ ปฏิบัติงานโดยยึดหลักวิชา พัฒนาตนเองและยึดมั่นหลักธรรมาภืบาล

I : บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์และเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์

  • พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรม ในประเทศ และต่างประเทศ
  • พัฒนาความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียนผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
  • เผยแพร่และให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัย และนวัตกรรมด้านพระพุทธศาสนา และพหุวัฒนธรรมอาเซียน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการหาแหล่งทุนทำวิจัย และนวัตกรรมด้านพระพุทธศาสนา และพหุวัฒนธรรมอาเซียนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  • สำรวจและกำหนดปัญหาวิจัยด้านพระพุทธศาสนา และพหุวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาคมอาเซียน
  • สนับสนุนการทำวิจัยและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดำเนินงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา และพหุวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาคมอาเซียน
  • ส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยในประเทศ และต่างประเทศ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนวิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ให้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมอาเซียน
  • สำรวจ ส่งเสริมและสนับสนุนวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ให้พัฒนาหลักสูตรด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมอาเซียน
  • เผยแพร่ผลงานของแหล่งเรียนรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมอาเซียนในระดับขาติและนานาชาติ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเครือข่ายอาจารย์ นิสิต ศิษย์เก่า และสถานศึกษาและประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมอาเซียน ในสถานศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
  • พัฒนาการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งที่เป็นสมาชิกอาเซียนและที่ไม่เป็นสมาชิกอาเซียนในการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรม
  • สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล ชุมชน หรือหน่วยงาน ด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรม ระหว่างประเทศอาเซียน
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านศาสนา ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียนในประเทศไทย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมด้านศาสนา ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียนในประเทศไทย
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านศาสนา ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียนในประเทศสมาชิกอาเซียน

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”พัฒนาการการศูนย์อาเซียนศึกษา” open=”no”]

พัฒนาการการศูนย์อาเซียนศึกษา

ศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นส่วนงาน ๑ ใน ๓ ส่วนงานที่ตั้งขึ้นใหม่ ที่มีสถานะเทียบเท่ากับคณะ ศูนย์ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓๔ เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ง วันที่ ๒๕ธันวาคม ๒๕๕๖ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑) ส่วนงานบริหาร มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการของศูนย์บริหาร วางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย สร้างความร่วมมือ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งการบริการจัดการภายในออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานบริหารและกลุ่มงานวางแผนและพัฒนาเครือข่าย และ ๒) ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย จัดระบบสารสนเทศ และให้บริการวิชาการองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งการบริการจัดการภายในออกเป็น ๒ กลุ่มงาน ได้แก่กลุ่มงานวิจัยและสารสนเทศ และปฏิบัติงานส่งเสริมการทําวิจัย และเพื่อให้การดําเนินงานของศูนย์อาเซียนศึกษาดําเนินไปได้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์อาเซียนศึกษาไว้๔ ยุทธศาสตร์ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและส่วนงานของศูนย์อาเซียนศึกษาศูนย์อาเซียนศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จัดทําขึ้นนี้จะอํานวยประโยชน์ให้การดําเนินงานตามแผนงานให้บรรลุตามเป้าหมายด้วยดี

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในฐานะที่เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่เน้นการจัดการเรียนการสอนทางพระพุทธศาสนา โดยมีปรัชญาการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม เน้นจัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา มนุษย์สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และสันติสุข รวมทั้งมีพันธกิจที่ส่งเสริมการวิจัยและค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก โดยวิธีสหวิทยาการแล้วนําองค์ความรู้ที่ค้นพบมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม รวมทั้งพัฒนา คุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา

วันที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นวันที่เปิดตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีเป้าหมายหลักของการรวมตัวกันจําแนกเป็น ๓ เสาหลัก ประกอบด้วย ๑) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC) ๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC) และ ๓) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC) โดยที่ทั้งสามเสาหลักมีความสอดคล้องกับการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยทั้งด้านการบริหารและการจัดการศึกษา และเสาหลักที่สามเป็นเสาหลักที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่มุ่งมั่นในการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้และความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเพื่อธํารงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะ และวัฒนธรรม อันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีจัดการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และจากเสาหลักที่ได้กําหนดไว้นี้ทาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ซึ่งเป็นส่วนงานที่ตั้งขึ้นใหม่ที่มีสถานะเทียบเท่ากับคณะหรือศูนย์ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย การศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศ และการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ๆ ในประชาคมอาเซียน จากภารกิจที่กําหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น

เพื่อให้การดําเนินงานสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศูนย์อาเซียนศึกษาจึงได้ร่างกําหนดแผนยุทธศาสตร์ศูนย์อาเซียนศึกษาเพื่อกําหนดทิศทางในการดําเนินงานของศูนย์อาเซียนให้เป็นไปตามภารกิจ โดยแผนยุทธศาสตร์ที่ร่างขึ้นมุ่งเน้นการดําเนินงานตามกรอบของการบริหารงานของศูนย์แบ่งเป็น ๒ ส่วนงานคือ ส่วนงานบริหาร และส่วนงานวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดําเนินงานที่ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งสร้างฐานข้อมูลวิจัยและวิชาการทางอาเซียนศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลและสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านพระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียนต่อไป

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”ประวัติการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies Centre)” open=”no”]

ประวัติการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies Centre)

ศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นส่วนงาน ๑ ใน ๓ ส่วนงานที่ตั้งขึ้นใหม่ ที่มีสถานะเทียบเท่ากับคณะศูนย์ (ศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและวิทยาลัยพระธรรมทูต) ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓๔ เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ง วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีพระเดชพระคุณพระราชวรเมธี, ดร. (ประสิทธิ์พฺรหฺมรํสี) รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รักษาการผู้อํานวยการศูนย์อาเซียนศึกษา รูปแรก ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจ อํานาจ หน้าที่ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเรื่อง ภารกิจอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัยพ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ดังนี้

“ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่ายการศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศ และการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน คอยประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ในประชาคมอาเซียน แบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. ส่วนงานบริหาร มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการของศูนย์บริหารวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย สร้างความร่วมมือ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งการบริการจัดการภายในออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๑.๑ กลุ่มงานบริหาร ปฏิบัติงานด้านธุรการ ประสานงานด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชีพัสดุ นโยบายและแผนพัฒนา รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๑.๒ กลุ่มงานวางแผนและพัฒนาเครือข่าย ปฏิบัติงานด้านการวางแผน งานโครงการและกิจกรรมต่างๆ พัฒนาเครือข่าย สร้างความร่วมมือแบบพหุภาคีระหว่างส่วนงานของมหาวิทยาลัยและประชาคมอาเซียน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๒. ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย จัดระบบสารสนเทศ และให้บริการวิชาการองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๒.๑ กลุ่มงานวิจัยและสารสนเทศ ปฏิบัติงานส่งเสริมการทําวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้พร้อมนําลงสู่การปฏิบัติที่จริง บริหารและติดตามงานวิจัย จัดระบบสารสนเทศเพื่อเป็นคลังข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๒.๒ กลุ่มงานบริการวิชาการ ปฏิบัติงานให้บริการวิชาการเกี่ยวกับองค์ความรู้ของประชาคมอาเซียน เผยแพร่องค์ความรู้สู่พื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมการเรียนรู้การฝึกอบรม การสื่อสารกับสังคม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย”

จากภารกิจดังกล่าว ศูนย์อาเซียนศึกษาจําเป็นต้องกําหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อรองกับการดําเนินงานของศูนย์ให้สําเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายของการจัดตั้งศูนย์เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัยทางพระพุทธศาสนา โดยมีโครงสร้างของศูนย์อาเซียน ดังนี้

ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึ้นเพื่อมีภารกิจ อํานาจ หน้าที่ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ภารกิจ อํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ โดยที่ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย การศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศ และการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน คอยประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ในประชาคมอาเซียน และแบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ส่วน และในแต่ละส่วนงานมีสภาพการดําเนินงานปัจจุบันดังนี้

๑. ส่วนงานบริหาร ในขณะนี้ได้กําลังดําเนินเพื่อสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ามาบรรจุในหน่วยงาน ดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประจําศูนย์อาเซียนศึกษา และการจัดหาอุปกรณ์ครุภัณฑ์สําหรับใช้ในสํานักงานของศูนย์อาเซียนศึกษา การสร้างความร่วมมือ และเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิชาการของประเทศอาเซียนจากการเข้าร่วมงานสัมมนาที่ประเทศเวียดนาม และนักวิชาการไทยของมหาวิทยาลัยในประเทศ

๒. ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อนําเสนอของบประมาณสนับสนุนจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จํานวน ๒ แผนงานวิจัย และ ๖ โครงการวิจัยย่อย และได้มีการจัดทําเนื้อหาสาระน่ารู้และบทความวิชาการเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนลงในฐานข้อมูลออนไลน์ที่เว็บไซต์ http://www.asc.mcu.ac.th/ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับสังคมเผยแพร่องค์ความรู้สู่พื้นที่สาธารณะ

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”ส่วนงานบริหาร นโยบายแผนงาน และพัฒนาเครือข่าย” open=”no”]

ส่วนงานบริหาร นโยบายแผนงาน และพัฒนาเครือข่าย

๑ กลุ่มงานสารบรรณ

-ร่างและตรวจสอบหนังสือออก

-ดูแลลงทะเบียนรับ – ส่งหนังสือราชการ ทั้งภายในและภายนอกศูนย์

-จัดทำร่างคำสั่ง ประกาศ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานและดำเนินงานของศูนย์

-ลงทะเบียนรับหนังสือราชการเสนอให้ผู้บริหารพิจารณาสั่งการผู้รับผิดชอบและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

-แจ้งข่าวและประชาสัมพันธ์หนังสือราชการและเอกสารต่างๆ

-รวบรวม คัดแยก จัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบ และทำลายเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้อง

-จัดเตรียมงานประชุมของศูนย์

-จัดทำแฟ้มประวัติบุคลากร

-บันทึกและตรวจสอบการลาของบุคลากร

-ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

๒ กลุ่มงานคลังและพัสดุ

-งานการเงินและรายได้

-งานการบัญชี

-งานพัสดุ

-งานงบประมาณและตรวจก่อนจ่าย

-ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

๓ กลุ่มงานนโยบายแผนงานและพัฒนาเครือข่าย

-งานนโยบายและแผน

-งานงบประมาณ

-งานประกันคุณภาพ

-งานจัดการความรู้ และงานการบริหารความเสี่ยง

-งานวิเทศสัมพันธ์

-งานพัฒนาบุคลากร

-ประสานงานศูนย์พหุภาษา การแปลและล่ามแห่งอาเซียน

-งานโฆษณาประชาสัมพันธ์

-ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”ส่วนวิชาวิจัย สารสนเทศและการบริการวิชาการ” open=”no”]

๒. ส่วนวิชาวิจัย สารสนเทศและการบริการวิชาการ

๑ กลุ่มงานวิจัย

-งานวิจัย

-ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

๒ กลุ่มงานทะเบียนและสารสนเทศ

-งานสารสนเทศ

-ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

๓ กลุ่มงานบริการวิชาการ

-ให้การบริการ

-ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”โครงสร้างการบริหารงานศูนย์อาเซียนศึกษา” open=”no”]

โครงสร้างการบริหารงานศูนย์อาเซียนศึกษา

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”บุคลากร” open=”no”]

บุคลากร

ผู้บริหารนโยบาย

พระราชวรเมธี,ดร.         รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

ผู้บริหารศูนย์อาเซียนศึกษา

พระศรีธวัชเมธี   รองผู้อำนวยการ

พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต,ดร.     รักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร

ดร.ลำพอง กลมกูล                   รักษาการผู้อำนวยการส่วนงานวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ

เจ้าหน้าที่ประจำ

๑. พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที    นักจัดการงานทั่วไป

๒. นางสาวมุกรวี ฉิมพะเนาว์       นักจัดการงานทั่วไป

บุคลากรแบ่งตามกลุ่มงานในศูนย์อาเซียนศึกษา

ส่วนงานบริหาร

๑.พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต,ดร.  นักวิชาการศึกษา

๒.พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที      นักจัดการงานทั่วไป

ส่วนวิชาการ

๑. ดร.ลำพอง กลมกูล                 นักวิจัย

๒. นางสาวมุกรวี ฉิมพะเนาว์         นักจัดการงานทั่วไป

[/fusion_toggle][fusion_toggle title=”คณะกรรมการประจำศูนย์” open=”no”]

 คณะกรรมการประจำศูนย์

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
————————–—

คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ ๒๐๔ / ๒๕๕๘
คณะกรรมการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา

เพื่อให้การบริหารงานศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และข้อ ๔ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยคณะกรรมการประจำและการจัดระบบงานในสถาบัน สำนักหรือ ศูนย์ พ.ศ.๒๕๔๑ จึงแต่งตั้งผู้มีรายนามต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย

๑. พระราชวรเมธี, ดร. ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา
๒. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร. กรรมการ
๓. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. กรรมการ
๔. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, ดร. กรรมการ
๕. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ดร. กรรมการ
๖. พระมหาสมพงษ์ คุณากโร, ดร. กรรมการ
๗. พระระพิณ พุทฺธิสาโร, ดร. กรรมการ
๘. พระครูพิพิธปริยัติกิจ, ดร. กรรมการ
๙. อธิบดีกรมอาเซียน หรือผู้แทน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๐. ดร.ประภัสส์ เทพชาตรี ผอ. ศูนย์อาเซียน มธ. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๑. ดร.ลำพอง กลมกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๒. ดร. มนตรา เลี้ยวเส็ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๓. นางสาวสายพิรุณ เพิ่มพูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๔. พระมหาเด่นพงษ์ พุทฺธรกฺขิโต กรรมการและเลขานุการ
๑๕. นางสาวอรเนตร บุนนาค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

พุทธภาษิตประจำมหาวิทยาลัย กล่าวไว้ว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างของโลก ดังนั้น ศูนย์อาเซียนศึกษา มจร. มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อก่อเกิดปัญญาแก่ประชาชน จึงตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์รวมทางปัญญา โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียน

 

พระพุทธศาสนาในอาเซียนถือว่ามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มาพร้อมกับการสร้างกลุ่มอาเซียน กล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์อาเซียน คือประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา คือประวัติศาสตร์อาเซียน โดยเริ่มตั้งแต่อดีต ดินแดนสุวรรณภูมิ ยุคการเข้ามา ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาสร้างความมั่นคง ณ ดินแดนอาเซียน ยุคการเข้ามาของศาสนาใหม่ อิสลามและคริสศาสนา และยุคล่าอาณานิคม จนกระทั่งหลายประเทศในประชาคมอาเซียนได้รับอิสรภาพ และยุคร่วมสมัยปัจจุบัน ส่งผ่านต่อไปยังอนาคมเพื่อคนรุ่นต่อไปในประเทศประชาคมอาเซียน

 

การเรียนรู้แบบยั่งยืนและตลอดชีวิต เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในอาเซียนนับเป็นความท้าทายใหม่ ก่อเกิดเรียนรู้และเข้าใจความเป็นมา วิธีคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีวิถีปฏิบัติ ทัศนคติที่หล่อหลอมจิตวิญญาณของชนชาติอาเซียนผ่านพระพุทธศาสนา และศาสนาทั้งหลาย เป็นการเรียนรู้แบบพหูนิยม บนความหลากหลาย จากที่มาหลายหลาก จุดมุ่งหมายเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและแต่ละบุคคลสามารถเข้าถึงความสุข ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ไปพร้อมกัน ศูนย์อาเซียนศึกษาพร้อมเป็นเพื่อนร่วมเดินทางบนเส้นทางของอาเซียนศึกษา ดังคำกล่าวที่ว่า ศูนย์รวมทางปัญญา พระพุทธศาสนาในอาเซียน เรียนรู้ไปพร้อมกับเรา