admin

Home/admin

About admin

This author has not yet filled in any details.
So far admin has created 48 blog entries.

นัต ผีของชาวพม่า

2018-06-15T08:10:43+00:00

นัต หมายถึงผีของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาในพม่า นัตเป็นผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่งเทวดาคล้ายเทพารักษ์ คอยดูแลคุ้มครองสถานที่ที่ตนเมื่อครั้งยังมีชีวิตมีความสัมพันธ์อยู่ โดยอาจจะมีศาลลักษณะคล้ายศาลเพียงตาตั้งบูชาอยู่ในสถานที่นั้น แต่เดิม นัตเป็นเพียงผีหรือวิญญาณทั่วไปที่สิงสถิตย์ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หรือภูเขา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่านไป จึงมีความเชื่อว่านัตเริ่มมีตัวตนและเริ่มผูกพันเข้ากับการตายของคน นัตที่เป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์นี้ยังมีความแตกต่างจากเทพเทวดาตรงที่นัตจะอาศัยอยู่เฉพาะในภพภูมิมนุษย์ มิได้อยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า นัตในสังคมพม่าที่จะกล่าวถึงในบทความนี้เป็นนัตในความหมายของ “วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตายร้าย” เป็นภูตผู้เป็นที่พึ่งของปุถุชนทั่วไป นัตที่เป็นภูตผีนี้จะมีฐานะกึ่งเทพกึ่งผี คืออยู่ระหว่างเทพและผี มีระดับสูงกว่าผีทั่วไป แต่มิเทียบเท่าเทวดา นัตจึงไม่ใช่ผีธรรมดาสามัญ หากทว่าเป็นวิญญาณของมนุษย์ผู้ตายจากด้วยภัยอันร้ายแรงผู้คนให้ความเคารพบูชา และมีพิธีเข้าทรงลงผี ด้วยเชื่อว่านัตจะให้ความช่วยเหลือและคุ้มกันภัยในหมู่ผู้ศรัทธากราบไหว้ อีกทั้งเหล่าสาวกของนัตจะต้องนอบน้อมต่อนัตดุจเจ้า ยามพูดคุยกับนัตผ่านร่างทรงก็ต้องกล่าววาจาด้วยภาษาชั้นสูงอย่างพูดกับพระราชา ตลอดจนให้ความยำเกรงต่อศาลซึ่งเป็นที่สถิตของนัต ไม่สวมรองเท้าเข้าศาลนัต และไม่แสดงอาการลบหลู่ นัตจึงเป็นผีที่มีฐานะและบทบาทเท่ากับผีเจ้าพ่อเจ้าแม่ของไทย เพราะสถิตพำนักอยู่บนสรวงสวรรค์ มักไม่ข้องแวะกับกิจบนโลกมนุษย์ การจัดแบ่งเช่นนี้ชี้ชัดได้ทันทีว่าเอ้าก์นัตไม่ใช่เทวาหรือพรหมาบนสวรรค์ชั้นฟ้า หากแต่เป็นผีพื้นถิ่นที่คอยอารักษ์ผู้คนอยู่บนแดนมนุษย์ นัตที่ลือนาม นัตนอกที่คนพม่ารู้จักเป็นอย่างดี คือ 1.มีงมหาคีริ ตลอดจนนัตที่เป็นเครือญาติของนัตตนนี้ ได้แก่ เมีย ๑ น้องสาว ๒ ลูกชาย ๒ และหลานสาว ๑ รวมเป็นนัตวงศ์มีงมหาคีริ มี ๗ ตน มีงมหาคีริเป็นนัตหลวงที่มีกำเนิดแถบเมืองตะกอง ในเขตพม่าตอนเหนือ มีตำนานเล่าสืบย้อนไปถึงสมัยพุกามยุคแรกก่อนรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา( ค.ศ.๑๐๔๔-๑๐๗๗) ต่อมามีงมหาคีริตนนี้ได้กลายมาเป็นนัตประจำบ้านหรือนัตเรือน คอยดูแลความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินในบ้าน 2.นัตในวงศ์มีงมหาคีริที่รู้จักกันดี ได้แก่ ชเวนะเบ เป็นเมียมีงมหาคีริ ชเวเมียตหน่า เป็นน้องสาวคนโต โตงปั่งหละ เป็นน้องสาวคนเล็ก และชิงแนมิ เป็นลูกสาวของโตงปั่งหละ 3.ชเวพีญญีนอง เป็นนัตหลวงสองพี่น้อง มีกำเนิดอยู่ทางเหนือของเมืองมัณฑะเล มีตำนานร่วมสมัยกับเรื่องราวของพระเจ้าอโนรธา นัตคู่นี้เป็นนัตครูที่บรรดาร่างทรงนัตจะต้องเซ่นสรวงกันทุกปี 4.เยงังป่ายอูฉิ่งจี เป็นนัตดูแลท้องทะเล จัดว่าเป็นนัตของชาวพม่าตอนล่างที่ใช้ชีวิตทำมาหากินกับทะเล 5.โก-มโยะฉิ่ง นัตเชื้อสายไทใหญ่ ดูแลพื้นที่เจ้าก์แซแถบเมืองมัณฑะเล และดูแลบ้านป่าดงดอย 6.ปะคันอูมีงจ่อ หรือปะคันมีงจี เป็นนัตดูแลเมืองปะคัน ซึ่งอยู่บนเส้นทางจากเมืองพะโคะกู่สู่มัณฑะเล นัตตนนี้มีนิสัยขี้เหล้าเมาพนัน 7.โปปาแมด่อ เป็นนัตเจ้าแม่ดูแลพื้นที่เขาโปปาแห่งพุกามและบริเวณใกล้เคียง 8.นังกะไร่ หรือพะโคแมด่อ เป็นนัตนางกระบือ กล่าวว่าเป็นเจ้าแม่ของชาวมอญในเขตพม่าตอนล่าง ปัจจุบันนับถือกันมากในเขตย่างกุ้งและพะโค 9.อะเมเยยิง เป็นนัตผู้ดูแลเมืองบั้งจี่ แถบเมืองปะคัน . นัตที่กล่าวมานี้จัดว่าเป็นนัตที่มีกำเนิดมาแต่ละท้องถิ่น และแต่ละพื้นที่ก็นิยมบูชานัตแตกต่างกันไป นอกจากนี้ชาวพม่าบางคนยังนิยมนับถือนัตเฉพาะตนสืบทอดกันเฉพาะครอบครัว [...]

นัต ผีของชาวพม่า2018-06-15T08:10:43+00:00

วัดอูนาอ่อง

2018-06-15T08:04:10+00:00

วัดอูนาอ่อง หมู่บ้านกอนัต บริจากสร้างโดยเศรษฐีนามว่าอูนาอ่อง ใน คศ.1886 ถือว่าเป็นวัดราษฎรที่สวยที่สุดในรัฐมอญ

วัดอูนาอ่อง2018-06-15T08:04:10+00:00

พระนอนวินเส่งต่อว์ยะ พระนอนที่ยาวที่สุดในโลก

2018-06-15T07:55:36+00:00

พระนอนวินเส่งต่อว์ยะ พระนอนที่ยาวที่สุดในโลก สร้างในปี พศ.2534 ยาว 200 เมตร สูงเท่ากับตึก 5 ชั้น

พระนอนวินเส่งต่อว์ยะ พระนอนที่ยาวที่สุดในโลก2018-06-15T07:55:36+00:00

เหตุใดมอญต้องสร้างโบสถ์กลางน้ำ (อุทกสีมา)

2018-06-15T07:49:01+00:00

“โบสถ์กลางน้ำหน้าวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย)” ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร ภาพประวัติศาสตร์ “ประวัติคณะธรรมยุต” เขียนสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มา รามัญคดี - MON Studies ผู้เขียน อาโด๊ด เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2561 “เหตุใดมอญต้องสร้างโบสถ์ในน้ำ?” หลายคนตั้งคำถามเมื่อเห็นภาพโบสถ์มอญโบราณตั้งอยู่กลางน้ำ และยิ่งสงสัยมากขึ้นเมื่อทราบว่า ตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สถาปนาธรรมยุติกนิกายนั้น นอกจากพระองค์จะได้แบบอย่างวัตรปฏิบัติมาจากพระมอญแล้ว เมื่อทรงบวชแปลงจากมหานิกายเป็นธรรมยุต ก็ทรงสร้างโบสถ์กลางน้ำหน้าวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เพื่อให้การบวชแปลงของพระองค์เข้มขลังด้วยเช่นกัน อุทกสีมา สีมาน้ำ วัดเกรณา หมู่บ้านเกรณา แขวงเมืองจย้าจก์แหมะโร่ะฮ์ เมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ (ประเทศพม่า) อุทกสีมา สีมาน้ำ หรืออุโบสถกลางน้ำในภาพเป็นของวัดเกรณา หมู่บ้านเกรณา แขวงเมืองจย้าจก์แหมะโร่ะฮ์ เมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ (ประเทศพม่า) สร้างตามคติการสร้างอุทกสีมาอย่างเมื่อสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ กษัตริย์มอญแห่งอาณาจักรหงสาวดี (ครองราชย์ พ.ศ. 2013-2035) พระเจ้าธรรมเจดีย์ ได้ส่งทูตไปลังกาเพื่อทำการชำระสมณวงศ์ทั้งด้านพิธีกรรมและวินัยสงฆ์ เมื่อกลับมาแล้วก็ได้ทำการบวชแปลงพระสงฆ์ในเมืองมอญทั้งหมดเสียใหม่ จำลองแบบสีมาน้ำจากลังกา (เพื่อความบริสุทธิ์สะอาด) มาสร้างขึ้นในกรุงหงสาวดี โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สีมากัลยาณีใกล้เมืองหงสาวดี ใช้เป็นสถานที่สำหรับอุปสมบท รวมทั้งนิมนต์พระสงฆ์จากประเทศใกล้เคียงให้เข้ามาทำการบวชอีกครั้งหนึ่งทีสีมากัลยาณีแห่งนี้ ทำให้พิธีการบวชในประเทศใกล้เคียงที่นับถือพุทธศาสนาเป็นลักษณะเดียวกัน เรื่องราวเกี่ยวกับการชำระสมณวงศ์ดังกล่าวนี้ พระเจ้าธรรมเจดีย์โปรดฯให้จารึกลงบนศิลา 10 หลัก เรียกว่า “จารึกกัลยาณี” ซึ่งเมืองไทยก็ได้ใช้จารึกนี้เองในการสืบสวนจดบันทึกว่าด้วยประวัติพุทธศาสนาในส่วนของไทย วัดมอญในอดีต ทั้งในเมืองมอญและเมืองไทย ต่างสร้างสีมาหรืออุโบสถขึ้นในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น วัดศรัทธาธรรม (วัดมอญ) บางจะเกร็ง สมุทรสงคราม เคยสร้างเป็นแพลอยน้ำ ยามปกติก็จะผูกแพติดไว้กับชายฝั่ง เมื่อพระสงฆ์จะประกอบพิธีกรรมก็จะถอยแพออกไปกลางแม่น้ำ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็ดึงแพกลับเข้ามาผูกไว้ตามเดิม เช่นเดียวกับวัดปรมัยยิกาวาส อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันดี เพิ่งเลิกใช้สีมาน้ำไปไม่นาน (ภายหลังรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้มีการสร้างอุโบสถถาวรขึ้นแล้วก็ยังคงใช้สีมาน้ำแบบเดิมอยู่ต่อมาอีกยาวนาน) การสร้างอุทกสีมา นับเป็นคติแบบมอญมาแต่เดิม ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาหลายร้อยปี วัดมอญในเมืองไทยที่อยู่ริมน้ำส่วนใหญ่มักสร้างสีมาในลักษณะเดียวกันนี้ ปัจจุบันไม่พบสีมาน้ำในเมืองไทยแล้ว แม้แต่ในเมืองมอญ มีเพียงบางแห่งที่จำลองลักษณะของสีมาน้ำ แต่เป็นการก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนอย่างถาวร มีเพียงการขุดบ่อน้ำล้อมรอบเท่านั้น [ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ: รามัญคดี [...]

เหตุใดมอญต้องสร้างโบสถ์กลางน้ำ (อุทกสีมา)2018-06-15T07:49:01+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉาน อดีด มีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง

2018-06-15T07:44:20+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉาน อดีด มีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมืองได้แก่ 1. ประตูป่าแดง 2. ประตูเชียงลาน 3. ประตูง่ามฟ้า 4. ประตูหนองผา 5. ประตูแจ่งเมือง 6. ประตูยางคำ 7. ประตูหนองเหล็ก 8. ประตูน้ำบ่ออ้อย 9. ประตูยาง 10. ประตูไก่ให้ม่าน 11. ประตูผายั้ง 12. ประตูป่าม่าน ** แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 ประตู คือ ประตูป่าแดง และประตูหนองผา ที่มา Tai Community Online

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉาน อดีด มีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง2018-06-15T07:44:20+00:00

เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

2018-06-15T08:05:52+00:00

เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังจากที่ทัพพระเจ้าตากหักเอาเมืองจันทบูร (จันทบุรี) ลงได้แล้ว ก็ยังจัดทัพไปยังเมืองตราดด้วย ก่อนจะย้อนกลับมาตั้งหลักอยู่ที่เมืองจันทบูร เพื่อต่อเรือรบ เป้าหมายต่อไปคือ เมืองธนบุรี ที่มารูปภาพและเนื้อหา หนังสือ พระเจ้าตากเบื้องต้น # ไทย - พม่า : เพราะแผ่นดินเราติดกัน

เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช2018-06-15T08:05:52+00:00

พระเกล็ดพญานาควัดยางกวง

2018-06-15T07:41:00+00:00

พระเกล็ดพญานาควัดยางกวง.ว่ากันว่าพระองค์นี้มีเทวดาคอยรักษา.ศักดิ์สิทธิ์นัก.ขอพรสิ่งใดก็ได้สมดังใจปราถนา ....ตำนานสร้างวัด.สมัยก่อนเชียงตุงมีผีเปรตออกอาละวาด.ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว.จนเป็นไข้.เจ็บป่วยล้มตายกันเป็นอันมาก.เมื่อชาววัดชาวเมือง.นิมนต์พระมาสวดทำพิธีไล่ผี.แต่จะทำเท่าไหร่ก็ไม่เคยสำเร็จ.วันหนึ่งมีพระธุดงค์มาจากเชียงใหม่.ระหว่างทางท่านได้ยินเสียงเด็กเลี้ยงควายท่องบทสวดมนต์.ท่องไปเหมือนบ่นผิดๆถูกๆ.สวดก็ซ้ำคำ.ออกเสียงก็เพี้ยนทำให้บทสวดไร้ซึ่งพุทธานุภาพ.ท่านจึงเมตตาแก้ไขให้ถูกต้องและเมื่อเด็กเล่าเรื่องเปรตให้ฟังท่านยังช่วยอนุเคราะห์.ทำพิธีจนปราบผีเปรตได้สำเร็จ ....ต่อมาพระยาผายู(พ.ศ.1879-1898)แห่งเมืองเชียงใหม่ทรงทราบเรื่องเข้า.จึงได้นิมนต์พระเถระรูปเดิมขึ้นไปเชียงตุงอีกครั้งหนึ่ง.เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาสายสวนดอกนครพิงค์.เมื่อท่านได้จำพรรษาที่นั่นจึงได้สร้างวัดยางกวงขึ้นมา.โดยภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป.จีวรประดับด้วยแก้วหลากสีมองดูคล้ายเกล็ดพญานาค.ชาวเชียงตุงจึงเรียกว่า พระเกล็ดนาค ...ตำนานของพระพุทธรูป.เล่ากันว่ามีพญานาคอาศัยอยู่ในหนองตุงตนหนึ่ง.มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก.จึงได้เลื้อยขึ้นมาในเวลากลางคืนเพื่อสักการะพระพุทธรูปเป็นประจำ.ทุกครั้งที่มาก็จะเอากายเลื้อยพันพระพุทธรูปนี้ไว้.นานวันเข้าผิวองค์พระจึงมีรอยเกล็ดนาค.ต่อมาชาววัดชาวบ้านได้สังเกตเห็นรอยดังกล่าว.จึงชวนกันนำแก้วหลากสีมาประดับให้สวยงามเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง.กลายมาเป็นพระเกล็คนาคแห่งวัดยางกวง.ถึงปัจจุบันนี้ ที่มา เชียงตุงอยู่ดีกินหวาน

พระเกล็ดพญานาควัดยางกวง2018-06-15T07:41:00+00:00

วัดอินเชียงตุง ในอดีต ศิลปะแบบวัดไทเขิน(ไตขืน) เมื่อ 60 ปีที่แล้ว

2018-06-15T08:07:22+00:00

วัดอินเชียงตุง ในอดีต ศิลปะแบบวัดไทเขิน(ไตขืน) เมื่อ 60 ปีที่แล้ว

วัดอินเชียงตุง ในอดีต ศิลปะแบบวัดไทเขิน(ไตขืน) เมื่อ 60 ปีที่แล้ว2018-06-15T08:07:22+00:00
Go to Top