พุทธศาสนาในอาเซียน

Home/พุทธศาสนาในอาเซียน

Kuthodaw Pagoda

2018-06-25T06:52:53+00:00

Each of the hundreds of marble tablets that surround Myanmar's Kuthodaw Pagoda make up a page of Buddhist teachings. Take a walking tour through the largest book in the world.

Kuthodaw Pagoda2018-06-25T06:52:53+00:00

พระพุทธศาสนาในประทศกัมพูชา

2020-10-07T05:15:02+00:00

พระพุทธศาสนาในประทศกัมพูชา กัมพูชาเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกฉียงใต้ที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตที่คล้ายกับชาวไทย พระพุทธศาสนาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ชาวกัมพูชานับถือเป็นศาสนาประจำชาติ ปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชามี 2 นิกาย คือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกายซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขปกครองสงฆ์ของแต่ละนิกาย ได้แก่ สมเด็จพระอัคคมหาสังฆราชาธิบดี เทพวงศ์แห่งมหานิกาย และสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี บัวครีแห่งธรรมยุติกนิกาย สำหรับวัดที่คณะทำงานดินทางมาถ่ายทำรายการวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในอาเซียนครั้งนี้ คือ วัดราชโบรพ์ กรุงเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่อดีต มีพระมหาพิมลธรรม พินแสมเป็นพระสังฆาธิการและพระราชาคณะปกครองกรุงเสียมราฐ ขนบธรรมเนียมประเพณีด้านพระพุทธศาสนาของชาวกัมพูชาในกรุงเสียมราฐ พระภิกษุสามเณรจะทำวัตรตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา และออกบิณฑบาตรและฉันภัตตาหารเช้าตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาเป็นต้นไป หลังจากนั้นพระภิกษุสามเณรจะเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วิทยาลัยสงฆ์ ส่วนวัฒนธรรมการบรรพชาอุปสมบทจะบวชตามความศรัทธาของแต่ละคนซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมวิถีพุทธไทยที่ผู้ชายเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะบวชและศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ วัดราชโบรพ์ยังเป็นวิทยาลัยศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุสามเณรในกรุงเสียมราฐและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันมีนิสิตพระภิกษุสามเณรประมาณ 300 รูป และหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมของวิทยาสงฆ์แห่งนี้ ประกอบด้วย วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิชาพระปริยัติธรรม ได้แก่ พระไตรปิฎก อภิธรรม พุทธประวัติ ภาษาบาลีสันสกฤต โดยนิสิตจะศึกษา 6 ต่อสัปดาห์ #ศูนย์อาเซียนศึกษามจร #สถาบันภาษามจร #วัดราชโบรพ์

พระพุทธศาสนาในประทศกัมพูชา2020-10-07T05:15:02+00:00

Buddhas underwater in the Ocean

2018-06-24T09:27:04+00:00

Buddhas underwater in the Ocean Buddha Statues were found under the ocean in Indonesia aged more than 1500 years This is an evidence to tell us that Buddhism was spreading to Indonesia and Buddhist religion was the primary religion in there. This discovery would bring the faith in Buddhism back to the world. The knowledge of truth is the knowledge of truth which always stay with the world. web.facebook.com/InnerDhamma 610214 Buddha Statues were found under the ocean in Indonesia aged more than 1500 years This is an evidence to tell us that Buddhism was spreading to Indonesia and Buddhist religion was [...]

Buddhas underwater in the Ocean2018-06-24T09:27:04+00:00

พระพุทธรูปไม้ไผ่ใหญ่และสวยที่สุดของโลก

2018-06-20T07:08:50+00:00

พระพุทธรูปไม้ไผ่ใหญ่และสวยที่สุดของโลก ประดิษฐานอยู่เมืองสะเทิม

พระพุทธรูปไม้ไผ่ใหญ่และสวยที่สุดของโลก2018-06-20T07:08:50+00:00

รูปคัมภีร์พระไตรปิฎก-สัญลักษณ์ของเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี

2018-06-20T06:50:55+00:00

เมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดีในตำนานเคยรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาจนกระทั่งพระเจ้าอนิรุทธ์หรืออโนรธาแห่งพุกามยกทัพมาตี แล้วนำผู้คน และสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาคือพระไตรปิฎก รวมทั้งพระเจ้ามนูหะกษัตริย์แห่งสะเทิมกลับไปพุกามด้วย คนมอญหรือพม่าจึงถือว่า เหตุการณ์นี้เป็นการปรากฏขึ้นของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในสังคมพม่าเป็นครั้งแรกและเจริญสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ สัญลักษณ์ของเมืองจึงทำเป็นรูปคัมภีร์พระไตรปิฎก   ที่มา พาเที่ยวพม่า พม่าพาเที่ยว

รูปคัมภีร์พระไตรปิฎก-สัญลักษณ์ของเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี2018-06-20T06:50:55+00:00

ก๊าวกูน  Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา

2018-06-20T07:09:13+00:00

ก๊าวกูน #Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา 7th A.D

ก๊าวกูน  Kawgoon เมืองผาอาน ถ้ำที่มีพระดินเผาติดผนังถ้ำที่สวยที่สุดในเมียนมา2018-06-20T07:09:13+00:00

วัดอูนาอ่อง

2018-06-15T08:04:10+00:00

วัดอูนาอ่อง หมู่บ้านกอนัต บริจากสร้างโดยเศรษฐีนามว่าอูนาอ่อง ใน คศ.1886 ถือว่าเป็นวัดราษฎรที่สวยที่สุดในรัฐมอญ

วัดอูนาอ่อง2018-06-15T08:04:10+00:00

พระนอนวินเส่งต่อว์ยะ พระนอนที่ยาวที่สุดในโลก

2018-06-15T07:55:36+00:00

พระนอนวินเส่งต่อว์ยะ พระนอนที่ยาวที่สุดในโลก สร้างในปี พศ.2534 ยาว 200 เมตร สูงเท่ากับตึก 5 ชั้น

พระนอนวินเส่งต่อว์ยะ พระนอนที่ยาวที่สุดในโลก2018-06-15T07:55:36+00:00

เหตุใดมอญต้องสร้างโบสถ์กลางน้ำ (อุทกสีมา)

2018-06-15T07:49:01+00:00

“โบสถ์กลางน้ำหน้าวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย)” ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร ภาพประวัติศาสตร์ “ประวัติคณะธรรมยุต” เขียนสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มา รามัญคดี - MON Studies ผู้เขียน อาโด๊ด เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2561 “เหตุใดมอญต้องสร้างโบสถ์ในน้ำ?” หลายคนตั้งคำถามเมื่อเห็นภาพโบสถ์มอญโบราณตั้งอยู่กลางน้ำ และยิ่งสงสัยมากขึ้นเมื่อทราบว่า ตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สถาปนาธรรมยุติกนิกายนั้น นอกจากพระองค์จะได้แบบอย่างวัตรปฏิบัติมาจากพระมอญแล้ว เมื่อทรงบวชแปลงจากมหานิกายเป็นธรรมยุต ก็ทรงสร้างโบสถ์กลางน้ำหน้าวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เพื่อให้การบวชแปลงของพระองค์เข้มขลังด้วยเช่นกัน อุทกสีมา สีมาน้ำ วัดเกรณา หมู่บ้านเกรณา แขวงเมืองจย้าจก์แหมะโร่ะฮ์ เมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ (ประเทศพม่า) อุทกสีมา สีมาน้ำ หรืออุโบสถกลางน้ำในภาพเป็นของวัดเกรณา หมู่บ้านเกรณา แขวงเมืองจย้าจก์แหมะโร่ะฮ์ เมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ (ประเทศพม่า) สร้างตามคติการสร้างอุทกสีมาอย่างเมื่อสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ กษัตริย์มอญแห่งอาณาจักรหงสาวดี (ครองราชย์ พ.ศ. 2013-2035) พระเจ้าธรรมเจดีย์ ได้ส่งทูตไปลังกาเพื่อทำการชำระสมณวงศ์ทั้งด้านพิธีกรรมและวินัยสงฆ์ เมื่อกลับมาแล้วก็ได้ทำการบวชแปลงพระสงฆ์ในเมืองมอญทั้งหมดเสียใหม่ จำลองแบบสีมาน้ำจากลังกา (เพื่อความบริสุทธิ์สะอาด) มาสร้างขึ้นในกรุงหงสาวดี โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สีมากัลยาณีใกล้เมืองหงสาวดี ใช้เป็นสถานที่สำหรับอุปสมบท รวมทั้งนิมนต์พระสงฆ์จากประเทศใกล้เคียงให้เข้ามาทำการบวชอีกครั้งหนึ่งทีสีมากัลยาณีแห่งนี้ ทำให้พิธีการบวชในประเทศใกล้เคียงที่นับถือพุทธศาสนาเป็นลักษณะเดียวกัน เรื่องราวเกี่ยวกับการชำระสมณวงศ์ดังกล่าวนี้ พระเจ้าธรรมเจดีย์โปรดฯให้จารึกลงบนศิลา 10 หลัก เรียกว่า “จารึกกัลยาณี” ซึ่งเมืองไทยก็ได้ใช้จารึกนี้เองในการสืบสวนจดบันทึกว่าด้วยประวัติพุทธศาสนาในส่วนของไทย วัดมอญในอดีต ทั้งในเมืองมอญและเมืองไทย ต่างสร้างสีมาหรืออุโบสถขึ้นในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น วัดศรัทธาธรรม (วัดมอญ) บางจะเกร็ง สมุทรสงคราม เคยสร้างเป็นแพลอยน้ำ ยามปกติก็จะผูกแพติดไว้กับชายฝั่ง เมื่อพระสงฆ์จะประกอบพิธีกรรมก็จะถอยแพออกไปกลางแม่น้ำ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็ดึงแพกลับเข้ามาผูกไว้ตามเดิม เช่นเดียวกับวัดปรมัยยิกาวาส อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันดี เพิ่งเลิกใช้สีมาน้ำไปไม่นาน (ภายหลังรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้มีการสร้างอุโบสถถาวรขึ้นแล้วก็ยังคงใช้สีมาน้ำแบบเดิมอยู่ต่อมาอีกยาวนาน) การสร้างอุทกสีมา นับเป็นคติแบบมอญมาแต่เดิม ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาหลายร้อยปี วัดมอญในเมืองไทยที่อยู่ริมน้ำส่วนใหญ่มักสร้างสีมาในลักษณะเดียวกันนี้ ปัจจุบันไม่พบสีมาน้ำในเมืองไทยแล้ว แม้แต่ในเมืองมอญ มีเพียงบางแห่งที่จำลองลักษณะของสีมาน้ำ แต่เป็นการก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนอย่างถาวร มีเพียงการขุดบ่อน้ำล้อมรอบเท่านั้น [ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ: รามัญคดี [...]

เหตุใดมอญต้องสร้างโบสถ์กลางน้ำ (อุทกสีมา)2018-06-15T07:49:01+00:00
Go to Top