จากสามเณรผู้ใคร่ในการศึกษา สู่พระมหาเถระผู้เป็นปราชญ์แห่งยุค
จากสามเณรผู้ใคร่ในการศึกษา
สู่พระมหาเถระผู้เป็นปราชญ์แห่งยุค
เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคล
วันคล้ายวันอายุวัฒนมงคล ครบ ๖๓ ปี
พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต
กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๒
เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร
ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต
นามเดิมชื่อ ประยูร มีฤกษ์
เกิดเมื่อวันที่ 17 เดือนกันยายน พ.ศ. 2498
เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี
บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 11 ปี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุด
ในด้านบาลีของการศึกษาศึกษาของคระสงฆ์ไทย
คือสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
ขณะเป็นสามเณรและได้รับการอุปสมบท
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในฐานะนาคหลวง
สองปีต่อมา ท่านได้รับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต
สาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี
ประเทศอินเดีย ได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส
ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาปรัชญา
วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านซึ่งเขียน
เป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ในชื่อเรื่องว่า
“อนัตตาในปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม”
มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง
หลังจากที่จบปริญญาเอก ท่านได้เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยระยะหนึ่ง
ในปี 2529 ท่านได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม
ให้ไปเป็นพระธรรมทูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ
และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจาก
สมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2540 และในปีถัดมาก็ได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค 2 รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง
นอกจากงานปกครองคณะสงฆ์แล้ว
ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า 60 เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ปรัชญากรีก พุทธวิธีสร้างสันติภาพ จริยธรรมชาวพุทธ โลกทัศน์ของชาวพุทธ และ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลสหประชาชาติ
ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและ
ทั่วโลกตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็น
ชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร
และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ สหประชาชาติ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก”
ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาท่านได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรม
และแสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายครั้งในที่ประชุมนานาชาติในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้ง
สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ
ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึง
พระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาปรัชญาแก่ท่าน
ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก
ครั้งที่สอง จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการจัดประชุมสภา
ผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 12 -14 มิถุนายน พ.ศ. 2545
สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ 24-29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการ
ทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ
“เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล
และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และจากนั้นเป็นต้นมาก็
เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา
วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา
วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม
อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 ตามลำดับ
หลังจากการจัดประชุมวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548 ประมุขสงฆ์และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนาม
ในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาของโลก
ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 -29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ภายหลังการประชุมท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
ขอน้อมบูชาธรรม ในพระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต
เนื่องในอภิลักขิตสมัยเจริญอายุวัฒนมงคล ครบ ๖๓ ปี
วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๑
ภาพ : พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
ข้อมูล : สารานุกรมเสรี