ตำนานพันปีของกษัตริย์หุ่ง นิทานบรรพชนสู่มรดกโลกของเวียดนาม

ตำนานพันปีของกษัตริย์หุ่ง นิทานบรรพชนสู่มรดกโลกของเวียดนาม

ความร่ำรวยด้านวัฒนธรรมและประเพณีของอุษาคเนย์นั้นสามารถยืนยีนได้จากขนมธรรมเนียมอันเก่าแก่ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพชนก่อนประวัติศาสตร์ หนึ่งในวัฒนธรรมร่วมรากของอุษาคเนย์ที่ได้รับรองจาก UNESCO ที่เพิ่งผ่านการจัดเฉลิมฉลองไปเมื่อไม่นานนั่นก็คือสงกรานต์หรือที่ชาวอุษาคเนย์เรียกว่าวันขึ้นปีใหม่ตามความเชื่อท้องถิ่น

อย่างไรก็ตามอุษาคเนย์ยังมีประเพณีเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าและสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้มากมายในแต่ละประเทศ สำหรับชาวเวียดนาม ประเพณีไหว้กษัตรยิ์หุง องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้รับรองวัฒนธรรมความเชื่อเก่าแก่ในจังหวัดฟู้เถาะเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ

ชาวเวียดนามล้วนให้เคารพต่อบรรพกษัตริย์หุ่ง ทุกปีเมื่อถึงเดือนสามตามจันทร์คติชาวเวียดนามจะเดินทางมานมัสการวิหารหุ่ง  เพื่อขอพรบรรพชน ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและให้ประเทศมีความสงบสุขอีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์และความเคารพในรากเหง้า

เทศกาลประจำปีซึ่งเรียกว่า “วันรำลึกกษัตริย์หุ่ง”  หรือ เทศกาลศาลเจ้าหุ่ง (เวียดนาม: Giỗ Tổ Hùng Vương หรือ Lễ hội đền Hùng) เป็นเทศกาลของเวียดนามที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 11 ของเดือน 3 ทางจันทรคติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์หุ่ง (Hùng Vương)

ตามความเชื่อของชาวเวียดนามปฐมกษัตริย์หุ่ง มีบรรชนเป็นเจ้าแม่เอาเกอและพญามังกรหลากลอง โดยเมื่อพญามังกรได้แต่งงานกับนางหงส์ มีไข่ออกมา ๑๐๐ ฟอง ทั้งสองแบ่งคนละครึ่งไปเลี้ยงคนละที่ โดยเอิวเกอบินขึ้นเขาไปทางเหนือ ส่วนหลักลองกวานเลื้อยลงทะเลมาทางใต้

ไข่ 100 ฟองนั้นฟักออกมาเป็นมนุษย์ร้อยคน เป็นบรรพชนของกลุ่มชนเผ่านับร้อยเผ่าทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี เรื่อยลงมาจนถึงบริเวณเวียดนามเหนือ บุตรคนโตซึ่งอยู่กับ เอิวเกอ (นางหงส์) ผู้เป็นแม่ได้สถาปนาราชวงศ์หุ่งเวือง (Hong Voung) ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองอาณาจักรวันลาง (ปัจจุบันคือฮานอย) ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง หรือฟองโจว (Phong Chu) ปัจจุบันคือจังหวัดฟู้เถาะ ส่วนกลุ่มตอนใต้เรียกว่า “หลักเวียต” (Lac Viet) ผู้เป็นพ่อหรือพญามังกร

จากตำนานเราอาจจะเห็นว่า นิทานบรรพชนของชาวเวียดนามมีความเชื่อมโยงกันกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การแต่งงานข้ามชนเผ่าที่แตกต่างกัน มีคติของการแยกชาย หญิง จากนั้นก็มีการแบ่งการปกครองในรูปบบเครือญาติ และที่สำคัญ กลุ่มทางตอนใต้ที่เป็นบรรพชนมังกรนั้นมีความใกล้ชิดกับความเชื่อลุ่มน้ำโขงที่มังกรอาจมีความหมายถึง “นาค” ก็เป็นได้

 

อ่านเพิ่มเติม :-

 

Aphichet Somkamsri

Translate »