ประวัติศาสตร์อาเซียน

Home/ประวัติศาสตร์อาเซียน

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา

2018-06-25T08:16:15+00:00

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา 46SHARES Facebook ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 มิถุนายน 2561 คอลัมน์ ล้านนาคำเมือง ผู้เขียน ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2561 อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “ปะติทินล้านนา” แปลว่า “ปฏิทินล้านนา” ความเป็นมาของความเชื่อและศรัทธาในสังคมล้านนามีวิวัฒนาการ ก่อนที่คนล้านนาจะหันมานับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คนล้านนาเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อเรื่องวิญญาณ นับถือผี บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่าสามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข เวลาคนล้านนาจะประกอบกิจกรรมใด จึงยึดถือในสิ่งที่เป็นสิริมงคล เชื่อในฤกษ์ยามเป็นหลัก วันไหนวันดี วันไหนไม่ดี วันไหน ยามใด ข้างขึ้นหรือแรม เดือนอะไร ทั้งหมดนี้เป็นสำเหนียกของคนล้านนาโบราณเสมอมา กระทั่งทุกวันนี้คนล้านนาแท้ๆ ก็ยังมีวัตรปฏิบัติคล้ายกับคนโบราณ แม้ว่าจะไม่เคร่งครัดเท่า คนล้านนาแท้ๆ มักจะรู้ว่าวันไหนเป็น “วันเสีย” วันนั้นๆ เป็นวันที่มี “กำลังวัน” ร้ายสูงสุด เป็นวันแรงทางลบ จึงเป็นวันที่ไม่เหมาะสำหรับกระทำการมงคลใดๆ ที่ท่องๆ กันเป็นอาขยานจนถึงทุกวันนี้ได้แก่ เกี๋ยง ห้า เก้า เสียอาทิตย์กับจันทร์ ยี่ หก สิบ เสียอังคารวันเดียว สาม เจ็ด สิบเอ็ด เสียเสาร์กับพฤหัส สี่ แปด สิบสอง เสียศุกร์กับพุธ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในสังคมเป็นรายละเอียดลงไปอีก เช่น วันนำโชคขึ้นอยู่กับวันทางจันทรคติ ข้างขึ้น ข้างแรม จะส่งผลดี-ร้ายต่อผู้คนต่างกัน เช่น วัน 1 ค่ำ ช้างแก้วขึ้นสู่โรงธรรม เป็นวันดี วัน 6 ค่ำ ลงสะเปาไปค้า เป็นวันดี วัน 12 ค่ำ บ่มีดีสักอย่าง เป็นวันไม่ดี วัน 14 ค่ำ ศัตรูปองฆ่า [...]

ล้านนาคำเมือง : ปฏิทินล้านนา2018-06-25T08:16:15+00:00

พระบรมราชโองการของฮ่องเต้คังซี

2018-06-25T07:26:44+00:00

"เราอ่านรายงานเกี่ยวกับความทุกข์ยากของราษฎรทุกค่ำคืน เพื่อจะได้รู้ว่าปีนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเป็นอย่างไร โจรขโมยมากน้อยแค่ไหน มีขุนนางคนไหนทุจริตหรือไม่ หากราษฎรยังใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เราก็ไม่อาจใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขได้ เหล่าขุนนางทุกกรมกอง ควรถือเอาความทุกข์ยากของราษฎรเป็นที่ตั้ง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อราษฎรก็พึงกระทำ อีกทั้งพึงหมั่นสังเกตและรับฟังความต้องการของราษฎรทั้งปวง" (朕夙夜求治,念切民依。邇年水旱頻仍,盜賊未息,兼以貪吏朘削,民力益占,朕甚憫焉。部院科道諸臣,其以民間疾苦,作何裨益,各抒所見以聞。) พระบรมราชโองการของฮ่องเต้คังซี (康熙帝 ค.ศ.1654 - 1722 ครองราชย์ ค.ศ.1661 - 1722) มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยราชวงศ์ชิง (清朝) พระราชทานแก่ขุนนางทั้งหลาย เมื่อวันติงเหม่า(丁卯 เป็นระบบการกำหนดวันตามปฏิทินจีนโบราณ) เดือนหก รัชศกคังซีปีที่แปด (ค.ศ.1669) หลังจับกุมอ๋าวป้าย(鰲拜) และสมัครพรรคพวกเพียงหนึ่งเดือน ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา ต่อมาฮ่องเต้พระองค์นี้ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงและในประวัติศาสตร์จีน พระบรมราชโองการนี้อ้างจากพงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 6 บทว่าด้วยพระราชประวัติฮ่องเต้เซิ่งจู่ เล่มที่ 1 (聖祖本紀一) ภาพประกอบ : พระบรมสาทิสลักษณ์(ภาพวาดเหมือน)ฮ่องเต้คังซี ขณะมีพระชนมายุราวๆ 16-20 พรรษา ทรงฉลองพระองค์ชุดมังกรของฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง

พระบรมราชโองการของฮ่องเต้คังซี2018-06-25T07:26:44+00:00

การติดต่อสัมพันธ์กันครั้งแรกระหว่างสยามกับต้าชิง หรือจีนราชวงศ์ชิง

2018-06-25T07:24:53+00:00

 "สยาม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของมณฑลยูนนาน ทางตะวันออกของพม่า ทางตะวันตกของเวียดนาม ทางใต้ของอ่าวป๋อไห่ รัชศกซุ่นจื้อปีที่ 9 (ค.ศ.1652 ตรงกับ พ.ศ.2195 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา) เดือน 12 สยามส่งทูตมาขอจิ้มก้อง ราชสำนักพระราชทานตราประทับ(印)ใหม่ พร้อมทั้งพระราชสาส์นแต่งตั้งจากฮ่องเต้(敕) สร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน และยอมรับฐานะของสยาม ตั้งแต่นั้นสยามก็ส่งทูตมาจิ้มก้องสม่ำเสมอมิได้ขาด" (暹羅,在雲南之南,緬甸之東,越南之西,南瀕海灣。順治九年十二月,暹羅遣使請貢,並換給印、敕、勘合,允之。自是奉貢不絕。) ข้อมูลว่าด้วยการติดต่อสัมพันธ์กันครั้งแรกระหว่างสยามกับต้าชิง หรือจีนราชวงศ์ชิง จากพงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 528 บทว่าด้วยสยาม (暹羅) ภาพประกอบ : จักรพรรดิชิงซื่อจู่ (清世祖) หรือฮ่องเต้ซุ่นจื้อ (顺治皇帝 ค.ศ.1638 - 1661 ครองราชย์ ค.ศ.1643 - 1661) ฮ่องเต้รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ชิง (清朝) (หากนับตั้งแต่ฮ่องเต้ไท่จู่ หรือนู่เอ่อฮาซื่อ แต่หากนับจากหวงไท่จี๋จะเป็นรัชกาลที่ 2) เป็นฮ่องเต้องค์แรกของราชวงศ์ชิงที่ได้เสด็จเข้าด่านจากแมนจูเรียมาประทับเป็นการถาวรที่พระราชวังต้องห้ามที่ปักกิ่ง และเป็นฮ่องเต้ต้าชิงพระองค์แรกที่มีสัมพันธไมตรีกับสยาม Worapong Keddit

การติดต่อสัมพันธ์กันครั้งแรกระหว่างสยามกับต้าชิง หรือจีนราชวงศ์ชิง2018-06-25T07:24:53+00:00

“เมื่อจอหงวนแห่งอันนัมตะลุยกรุงปารีส”

2020-10-08T15:46:40+00:00

เวียดนาม เป็นรัฐหนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งในด้านการเมืองการปกครอง ปรัชญา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเข้ามาใช้ในการปกครองรัฐอย่างเข้มข้น โดยหนึ่งกลไกสำคัญที่เวียดนามรับเข้ามาจากจีนเพื่อใช้ในการปกครองรัฐ นั่นคือ ระบบการสอบเข้ารับราชการ(科举) หรือการสอบจอหงวนนั่นเอง […]

“เมื่อจอหงวนแห่งอันนัมตะลุยกรุงปารีส”2020-10-08T15:46:40+00:00

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม

2018-06-24T10:44:22+00:00

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ที่ในสมัยหนึ่ง คนในเขต อำเภอเมือง ของ จังหวัดนครพนม บอกตัวเองว่า เป็นคนไทใหญ่  เพราะคนทั้งหมู่บ้านตั้งแต่ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ก็บอกว่าเขาอพยพเดินทางมาจากพม่า ลงมาตามแม่นำโขง ตั้งถิ่นฐานแถบเมืองลาว ระยะหนึ่งก่อนจะเข้ามาอยู่เมืองไทย ชาวบ้านในหมู่บ้านที่นครพนม เขาก็เชื่อว่าเขาคือคนไทใหญ่ เมื่อมาอ่านเวปไซค์ และ ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ ทำให้เชื่อสนิทใจว่า พี่น้อง ใน บ้านฟึ่ง บ้านหนองบัว ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม ที่นับถือผีบรรพบุรุษ "เจ้าผ้าขาว" เป็นชาวไทใหญ่ จริง อยากให้พี่น้องชาวไทใหญ่ ไปสืบข่าวดูนะ การล่มสลายของอาณาจักกรน่านเจ้านั้น ทำให้ชนชาติไตต้องถอยร่นลงไปทางใต้ และ ทิศตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง ประกอบด้วย หลายกลุ่ม กลุ่มไตอ่อน กลุ่มนี้อพยพลงไปทางตอนใต้ ได้สร้างเมืองพะยาว (พูกามยาว)ขึ้นก่อน หลังจากนั้นก็ได้สร้างอาณาจักรเงินยางเชียงแสน บางกลุ่มกระจายไปสร้างอาณาจักรโคตรบูรณ์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองนครพนม อีกพวกหนึ่งได้สร้างเมืองหลวงสึ่งเคอไต หรือ กรุงสุโขทัย ขึ้น ในช่วงที่ขุนรามคำแหง สร้างอาณาจักรสึ่งเคอไต นี่เอง ไตพวกที่สร้างเมืองเชียงรายคือพ่อขุนเมงราย กับพ่อขุนงำเมือง ได้เชิญพ่อขุนรามคำแหง มาร่วมหาทำเลสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา จนกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม2018-06-24T10:44:22+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง

2018-06-24T10:21:31+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมืองได้แก่ 1. ประตูป่าแดง 2. ประตูเชียงลาน 3. ประตูง่ามฟ้า 4. ประตูหนองผา 5. ประตูแจ่งเมือง 6. ประตูยางคำ 7. ประตูหนองเหล็ก 8. ประตูน้ำบ่ออ้อย 9. ประตูยาง 10. ประตูไก่ให้ม่าน 11. ประตูผายั้ง 12. ประตูป่าม่าน ** แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 ประตูครับคือ ประตูป่าแดง และประตูหนองผา

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง2018-06-24T10:21:31+00:00

พระพุทธศาสนาในประทศกัมพูชา

2020-10-07T05:15:02+00:00

พระพุทธศาสนาในประทศกัมพูชา กัมพูชาเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกฉียงใต้ที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตที่คล้ายกับชาวไทย พระพุทธศาสนาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ชาวกัมพูชานับถือเป็นศาสนาประจำชาติ ปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชามี 2 นิกาย คือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกายซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขปกครองสงฆ์ของแต่ละนิกาย ได้แก่ สมเด็จพระอัคคมหาสังฆราชาธิบดี เทพวงศ์แห่งมหานิกาย และสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี บัวครีแห่งธรรมยุติกนิกาย สำหรับวัดที่คณะทำงานดินทางมาถ่ายทำรายการวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในอาเซียนครั้งนี้ คือ วัดราชโบรพ์ กรุงเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่อดีต มีพระมหาพิมลธรรม พินแสมเป็นพระสังฆาธิการและพระราชาคณะปกครองกรุงเสียมราฐ ขนบธรรมเนียมประเพณีด้านพระพุทธศาสนาของชาวกัมพูชาในกรุงเสียมราฐ พระภิกษุสามเณรจะทำวัตรตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา และออกบิณฑบาตรและฉันภัตตาหารเช้าตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาเป็นต้นไป หลังจากนั้นพระภิกษุสามเณรจะเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วิทยาลัยสงฆ์ ส่วนวัฒนธรรมการบรรพชาอุปสมบทจะบวชตามความศรัทธาของแต่ละคนซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมวิถีพุทธไทยที่ผู้ชายเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะบวชและศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ วัดราชโบรพ์ยังเป็นวิทยาลัยศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุสามเณรในกรุงเสียมราฐและจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันมีนิสิตพระภิกษุสามเณรประมาณ 300 รูป และหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมของวิทยาสงฆ์แห่งนี้ ประกอบด้วย วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิชาพระปริยัติธรรม ได้แก่ พระไตรปิฎก อภิธรรม พุทธประวัติ ภาษาบาลีสันสกฤต โดยนิสิตจะศึกษา 6 ต่อสัปดาห์ #ศูนย์อาเซียนศึกษามจร #สถาบันภาษามจร #วัดราชโบรพ์

พระพุทธศาสนาในประทศกัมพูชา2020-10-07T05:15:02+00:00

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย

2018-06-24T09:33:15+00:00

ลำดับกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ของเมืองเชียงใหม่ นำมาจากหนังสือ ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำหริห์กุล ปล.หนังสือเล่มนี้ดีมากอีกเล่มหนึ่ง อ่านสนุก เขียนแล้วเข้าใจง่าย แอดมินอ่านเพลิน วางไม่ลงเลยทีเดียว เพราะอาจารย์สามารถทำให้เรื่องประวัติศาสตร์กลายมาเป็นเรื่องสนุกที่อ่านเพลินได้ # ไทย - พม่า : เพราะแผ่นดินเราติดกัน

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย2018-06-24T09:33:15+00:00

หนังสือ ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma

2018-06-15T08:21:16+00:00

หนังสือ #ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma 426 หน้า โดย หม่องทินอ่อง แปล โดย เพ็ชรี สุมิตร ดาวโหลดไฟล์ PDF ได้ทางลิงค์http://www.openbase.in.th/files/tbpj152.pdf ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma บทที่ 1 พม่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทที่ 2 อาณาจักรดั่งเดิม: มอญและปยุ บทที่ 3 อาณาจักรพุกามและจักรวรรดิพม่าครั้งแรก บทที่ 4 ความเสื่อมของอาณาจักรพุกามและการรุกรานของชนชาติมองโกล บทที่ 5 กรุงอังวะเป็นอริกับกรุงพะโค ไทยใหญ่เป็นอริกับมอญ บทที่ 6 จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 2 บทที่ 7 ความเสื่อมของอาณาจักรบุเรงนอง บทที่ 8 พระเจ้าอลองพญากับจักรวรรดิพม่าครั้งที่สาม บทที่ 9 พม่าในสมัยก่อนทำสงครามกับอังกฤษ บทที่ 10 อังกฤษบุกรุกพม่า ค.ศ.1824-1852 บทที่ 11 อังกฤษได้พม่า ค.ศ.1885 บทที่ 12 การกู้เอกราช ค.ศ.1886-1948 CR : มูลนิธิโครงการตำราฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำเนินงานภายใต้ปณิธาน "นัตถิ ปัญญา สมา อาภา" แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี ข้อมูลเพ่ิมเติมเกี่ยวกับโครงการตำราฯ คลิ๊ก:www.textbooksproject.org

หนังสือ ประวัติศาสตร์พม่า A History of Burma2018-06-15T08:21:16+00:00
Go to Top