ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่คาดการณ์ หวังผ่อนคลายสถานการณ์เงินเฟ้อที่คาดว่าจะพุ่งสูงเกิน 6% ในปีนี้ ท่ามกลางเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลง . ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรที่มีสัญญาขายคืนระยะเวลา 7 วัน (Seven-Day Reverse Repurchase Rate) ที่ 50 จุดเป็น 4.25% เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่นักเศรษฐศาสตร์เพียง 7 จาก 37 คนเท่านั้นที่คาดการณ์ไว้ เพราะส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับขึ้นแค่ 25 จุด . อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะสูงกว่า 6% ภายในสิ้นปีนี้ จาก 4.69% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา . นอกจากนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังเป็นการปรับขึ้นที่รุนแรงที่สุดของธนาคารกลางอินโดนีเซียนับตั้งแต่กลางปี 2561 เนื่องจากสกุลเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงถึง 15,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐมีท่าทีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว และถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะค่อนข้างมีความยืดหยุ่นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ค่าเงินที่อ่อนตัวลงได้เพิ่มความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ประกอบกับราคาสินค้าที่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการเคลื่อนไหวของรัฐบาลในการลดเงินอุดหนุนด้านพลังงานบางส่วนด้วย . อย่างไรก็ดี นาย Warjiyo ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียยังสามารถควบคุมได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงมากขึ้นไปอีกไม่จำเป็นสำหรับอินโดนีเซีย […]Read More
หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ด้วยความหวังที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อและกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 . สายการบินแห่งชาติของรัสเซีย Aeroflot จะกลับมาให้บริการการบินระหว่างมอสโกและภูเก็ตของไทยตามปกติภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งภูเก็ตถือเป็นปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย แต่เส้นทางบินดังกล่าวได้ถูกระงับไปหลังเกิดสงครามยูเครน-รัสเซีย . อย่างไรก็ดี การกลับมาดำเนินการใหม่ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยและด้วยเหตุที่จีนยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์อยู่ รัสเซียจึงกลายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ไทยจึงตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียให้ได้ 1 ล้านคนภายในปีนี้ . นอกจากนี้ ไทยและรัสเซียยังได้ตกลงที่จะขยายการค้าแบบทวิภาคีให้ได้มูลค่าแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2566 ซึ่งมากกว่าปี 2564 เกือบ 4 เท่า อีกทั้งไทยยังมีการส่งออกรถยนต์และอาหาร และนำเข้าน้ำมันดิบและปุ๋ยจากรัสเซียด้วย . ขณะเดียวกัน เวียดนามและรัสเซียก็มีการเจรจาเรื่องการขยายการส่งออกข้าวสาลีเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกข้าวสาลีของรัสเซียไปยังเวียดนามลดลงกว่า 190,000 เมตริกตันในปี 2564 จาก 2.6 ล้านเมตริกตันในปี 2561 หลังจากพบการปนเปื้อนของเมล็ดทิสเซิลในข้าวสาลี . อย่างไรก็ดี รัสเซียจะส่งข้าวสาลีแบบปลอดเมล็ดทิสเซิลรุ่นทดลองให้เวียดนามโดยเร็วที่สุดภายในต้นเดือนกันยายน ซึ่งข้าวสาลีถูกใช้อย่างกว้างขวางในเวียดนามสำหรับการทำขนมปังและเส้นก๋วยเตี๋ยว เวียดนามเองก็หวังที่จะควบคุมราคาภายในประเทศจากการเพิ่มการนำเข้าจากรัสเซีย . ขณะที่ เมียนมาก็กระชับความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยจะเริ่มนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียโดยเร็วที่สุดภายในเดือนกันยายน ภายใต้ข้อตกลงที่เจรจากันไว้ตอนนาย Min Aung Hlaing ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาได้เดินทางไปเยือนรัสเซียในเดือนกรกฎาคม […]Read More
“เอเปค” โจ ไบเดน ไม่มาไทย : สำคัญไหมในมุมความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดย ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคในไทย เพื่อร่วมงานแต่งงานของหลานสาวที่ทำเนียบขาว ด้านนักรัฐศาสตร์มองว่า คนไทยอาจรู้สึก “น้อยใจ” แต่อยากให้มองที่ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม มากกว่าการที่ผู้นำจะมาหรือไม่ มากกว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ จะไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ที่จะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ระหว่าง 18-19 พ.ย.นี้ ด้วยเหตุผล “ทางครอบครัว” ไทยพีบีเอสเวิลด์ รายงานว่า ทำเนียบขาวได้แจ้งต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ดีซี ว่า ไบเดนจะส่งรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเอเปคในไทยแทน ข่าวนี้ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ทางโลกโซเชียลในหลายแง่มุมว่า ผู้นำสหรัฐฯ อาจมองการเยือนไทยไม่สำคัญ เป็นการหักหน้า ไปจนถึงการที่รัฐบาลไทยเชิญประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคด้วย แต่ ผศ.ประพีร์ อภิชาตสกล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกกับบีบีซีไทยว่า การที่ผู้นำสหรัฐฯ ไม่มาไทยนั้น มองได้หลายแง่มุม […]Read More
คณะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิงของ สปป. ลาว จะดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเข้ามาปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิงลาว ภายหลังจากเผชิญสภาพวิกฤติการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและการเงินรั่วไหล ทำให้ต้องเร่งปฏิรูปใหม่ เนื่องจากธุรกิจมีความอ่อนแอและมีความเสี่ยงในอนาคต . เจ้าหน้าที่คณะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิงลาวซึ่งไม่ประสงค์ออกนามกล่าวว่า “จะเป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อเข้ามาช่วยปฏิรูปหรือช่วยปรับปรุงรัฐวิสาหกิจในด้านน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่ใช่การเข้าไปบริหาร โดยจะเป็นการเข้ามาวิเคราะห์และวิจัยว่าการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาเป็นแบบใด และจะต้องดำเนินการและวางนโยบายอย่างไรในอนาคต อีกทั้งเรื่องโครงสร้างและการจัดตั้งต้องปรับปรุงอย่างไรด้วย” . สำหรับบริษัทที่จะถูกจัดจ้างจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหลายข้อ ได้แก่ ต้องเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์, มีความรู้และความสามารถในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจในด้านน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออุตสาหกรรมที่ใกล้เคียง, เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรและบุคลากร, เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย, เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบ, เชี่ยวชาญด้านการเงินบัญชี และเชี่ยวชาญด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น . นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิง กล่าวว่า สปป.ลาว เผชิญวิกฤติการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงมาตั้งแต่ปลายปี 2564 แล้ว แต่มาวิกฤติหนักจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพียง 60 ล้านลิตรต่อเดือน แต่การใช้จริงต้องนำเข้า 120 ล้านลิตรต่อเดือน โดยปัจจัยสำคัญมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้เงินกีบอ่อนค่า การขาดเงินตราต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน . อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมารัฐบาล สปป. ลาว ได้ช่วยเหลือด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงเหลือ 7% จากเดิมที่เก็บ 10% […]Read More
รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติและอยู่ระหว่างพิจารณาแผนการสร้างสนามบินในภาคเหนือและภาคกลาง ผ่านการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) . สนามบินแห่งแรกนั้นตั้งอยู่ในเมืองซาปา จังหวัดหล่าวกาย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม และเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสนามบินดังกล่าวมีเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าและการทหาร สามารถรองรับเครื่องบิน Airbus A320 321 และเครื่องบินขนาดเท่ากัน และรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี โดยมีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 3.65 ล้านล้านด่อง รวมกองทุนจากรัฐบาลจำนวน 6.61 แสนล้านด่อง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 50 ปี แบ่งเป็นก่อสร้างกว่า 3 ปี และดำเนินกิจการอีก 46 ปี 2 เดือน . สำหรับสนามบินแห่งที่ 2 คือในจังหวัดเซินลา ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ก็มีการขออนุญาตการก่อสร้างสนามบินในรูปแบบของ PPP เช่นกัน โดยสนามบินแห่งใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมและเพิ่มส่วนต่อขยายจากสนามบินที่ถูกทิ้งร้างไว้ โดยจะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านด่อง ซึ่งในเฟสที่ 1 จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1 ล้านคนและสินค้าได้ 350 ตันต่อปี […]Read More
ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด (โจโควี) แห่งอินโดนีเซีย ได้มีคำสั่งให้สำนักงานจังหวัดใช้งบประมาณเพื่อควบคุมต้นทุนค่าขนส่งและรับมือกับผลกระทบของเงินเฟ้อจากราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา . ภายใต้ความกดดันในการควบคุมงบประมาณอุดหนุนราคาพลังงานที่ขยายตัวขึ้น โจโควีได้ปรับราคาเชื้อเพลิงที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐขึ้น 30% ส่งผลให้เกิดการประท้วงทั่วทั้งประเทศ . โดยโจโควีกล่าวว่า จากการคำนวณของกระทรวงฯ พบว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีก 1.8 จุด หากไม่มีแผนรับมือ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซง และส่วนภูมิภาคจะต้องดำเนินการเหมือนกับช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อีกทั้งยังเสริมว่าผู้นำในระดับท้องถิ่นได้รับคำสั่งให้ใช้งบประมาณให้ครอบคลุมต้นทุนขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแจกจ่ายอาหารพื้นฐานอย่างหอมแดงและไข่ด้วย . อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมของอินโดนีเซียอยู่ที่ 4.69% เข้าใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี และอยู่ในอัตราที่สูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีสาเหตุมาจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น . นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมอินโดนีเซียได้ประกาศปรับขึ้นอัตราขั้นต่ำค่าบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปฯ 13.33% ต่อกิโลเมตร เพื่อชดเชยราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีผลไปเมื่อวันที่ 10 ก.ย. และยังมีการปรับขึ้นอัตราพื้นฐานขั้นต่ำสำหรับ 4 กิโลเมตรแรกของการเดินทางประมาณ 13-31% ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้บริการในแต่ละแห่ง ทั้งนี้เป็นการปรับขึ้นแค่บริการขนส่งไม่กระทบกับบริการเดลิเวอรี่ . อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีโจโควีร้องขอให้สาธารณชนสามัคคีกัน […]Read More
นาย Huang Xilian เอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ เผยว่า จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่ที่สุด ได้อนุมัติให้นำเข้าทุเรียนสดจากฟิลิปปินส์แล้ว หลังจากได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญที่คัดเลือกโดยสถานทูต ลงพื้นที่ไปยังภูมิภาคดาเวาเพื่อตรวจสอบการเข้าถึงแหล่งเพาะปลูก ทั้งนี้ ท่านทูตยังได้โพสต์ในเฟซบุ๊กของตัวเองด้วยว่า ฟิลิปปินส์ผ่านการประเมินความเสี่ยงทั้งในด้านการเก็บผลผลิต การบรรจุผลไม้ การเฝ้าระวังศัตรูพืช การควบคุมสารเคมี การป้องกันโรคโควิด 19 และระบบตรวจสอบย้อนกลับของทุเรียนในพื้นที่ . นอกจากนี้ นาย Huang ยังเพิ่มเติมว่า ในปี 2564 จีนนำเข้าทุเรียนปริมาณ 822,000 ตัน มูลค่า 4.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 82.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 การจัดส่งทั้งหมดเพิ่มขึ้นอีก 60% ทำให้ทุเรียนกลายเป็นผลไม้นำเข้าที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาดจีน โดยทุเรียนจากเมืองดาเวามีคุณภาพสูงและรสชาติดีที่ผู้บริโภคชาวจีนจะต้องชื่นชอบ . “ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทำกำไรได้มากที่สุด การที่ทุเรียนสดคุณภาพสูงจากฟิลิปปินส์ได้ถูกนำเข้ามายังจีน ซึ่งมีประชากรราว 1.4 พันล้านคน จะเป็นประโยชน์ต่อชาวสวนผลไม้ของฟิลิปปินส์หลายแสนคน และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่มินดาเนาอย่างมาก โดยจีนยังคาดหวังให้ฟิลิปปินส์ส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรต่างๆ มายังจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น” นาย Huang กล่าวสรุป . […]Read More
รัฐบาล สปป.ลาว เดินหน้ายุทธศาสตร์ 3 สร้าง เพื่อบรรเทาความยากจน และทำให้ลาวสามารถหลุดพ้นจากรายชื่อประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดของสหประชาชาติในปี 2569 ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง มีเป้าหมายสร้างจังหวัดให้เป็นหน่วยวางยุทธศาสตร์ อำเภอต้องเข้มแข็งในทุกด้าน และหมู่บ้านเพื่อเป็นหน่วยพัฒนา เจ้าหน้าที่อาวุโสจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกันที่เวียงจันทน์ เพื่อประเมินการเปิดตัวยุทธศาสตร์การสร้างทางการเมือง ในระดับรากหญ้า โครงการพัฒนาชนบทและการลดความยากจน และยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจระหว่างปี 2559-2564 และร่างแผนจนถึงปี 2568 โดยมีนายทองลุน สีสุลิด เลขาธิการพรรคและประธานประเทศ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้นำคนอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุม รองประธานประเทศ ดร.บุญทอง จิตมะนี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง มุ่งเน้นการพัฒนาระดับรากหญ้า โดยเฉพาะการลดความยากจนในชนบทตามที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์นี้ยังช่วยยกระดับการบริหารงานในระดับอำเภออีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้เงิน 248 พันล้านกีบ ใน 943 โครงการ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรใน 109 หมู่บ้านใน 51 อำเภอภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง ขณะที่กลไกกองทุนเพื่อการพัฒนาอำเภอ(District Development […]Read More
มาเลเซียคว้าที่ 1 ที่ตั้ง GBS ที่สามารถแข่งขันได้สูงสุดในอาเซียน
มาเลเซียถูกจัดให้เป็นสถานที่ตั้งบริการธุรกิจระดับโลก (Global Business Services: GBS) ที่มีการแข่งขันสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและจีน ตามเลขดัชนีของ Kearney บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ดัชนีสถานที่ตั้งบริการระดับโลก (Global Services Location Index: GSLI) ประจำปี 2564 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเอเชียยังคงครองอันดับ 7 ใน 10 อันดับแรกอย่างต่อเนื่อง โดยอินเดียอยู่ในอันดับ 1 ด้วยคะแนน 7.09 รองลงมาคือจีนที่ 6.80 และมาเลเซียที่ 6.22 เป็นอันดับ 3 ของโลกและอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดัชนีดังกล่าวออกทุก 2 ปีและเก็บข้อมูลจากทั้งหมด 60 ประเทศทั่วโลกในหัวข้อหลัก 4 หมวดหมู่ ได้แก่ – ความน่าดึงดูดทางการเงิน – ความพร้อมและทักษะของประชาชน – สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ […]Read More
Nguyen Anh Tuan รองผู้อำนวยการหน่วยงานการลงทุนต่างประเทศของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่า เวียดนามจะหันมาให้ความสนใจกับผู้ประกอบการและบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ขณะเดียวกัน จะจัดลำดับความสำคัญของโครงการการลงทุนต่าง ๆ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีชั้นสูง อุตสาหกรรมที่สนับสนุน และนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ อีกทั้งยังจะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการของเวียดนามได้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่านี้ด้วย ด้าน Nguyen Thi Thu Ha ผู้อำนวยการทั่วไปของ Invest Global ระบุว่า ด้วยประชากรเกือบ 100 ล้านคน และสภาวะต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย เวียดนามจึงมีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับการพัฒนา ด้วยความคาดหวังที่จะเนรมิตอุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนามให้แข็งแกร่งและมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม มีรายงานระบุว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแล้ว จำนวนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนของเวียดนามในอุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีน้อยมาก และมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานสำหรับผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ในเวียดนามได้ ขณะที่ Dang Hoang Mai ตัวแทนสถาบันกลยุทธ์และนโยบายเพื่ออุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เผยว่า เวียดนามมีศักยภาพที่จะพัฒนาตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ในอนาคต เนื่องจากอัตราส่วนการเป็นเจ้าของรถยนต์ของเวียดนามในปัจจุบันอยู่ที่ 23 คันต่อประชากร 1,000 คน ตัวเลขดังกล่าว หากเทียบกับไทยและมาเลเซียแล้ว เป็นเพียง 10% […]Read More