MukraweC

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน ฐานข้อมูล

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

อาเซียน (ASEAN) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต […]Read More

EVENTS ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ขอเชิญร่วมงาน The 1st International Online Conference On ASEAN Perspective And

The 1st ICAPI_2022 Teaser: https://youtu.be/fCEtt4uQlV8 \ ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติออนไลน์ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “ASEAN Perspective and Innovation” จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาลีศึกษาพุทธโฆส และ Smaratungga Buddhist College ประเทศอินโดนีเซีย ลงทะเบียนที่ Link: https://sites.google.com/mcu.ac.th/asean-studies 🔶Welcome to Attend and Register the 1st International Online Conference Read More

ฐานข้อมูล ประเทศสมาชิกอาเซียน

เที่ยวบรูไน ไปไหนดี?

  1.มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน (Omar Ali Saifuddien Mosque) มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน หนึ่งในมัสยิดที่สวยที่สุดของโลก เป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 พระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และสร้างเสร็จในปีค.ศ. 1958 มัสยิดนี้เป็นมัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไนตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และมัสยินนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1958 มีความงดงามจนได้ชื่อว่า “มินิทัชมาฮาล” ภายในประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนและกระเบื้องคลาสสิค เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอิสลามกับสถาปัตยกรรมอิตาลี สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของมัสยิดแห่งนี้ก็คือโดมทองคำสูง 52 เมตร สร้างด้วยทองคำบริสุทธิ์มากถึง 3.3 ล้านแผ่น ภายนอกล้อมรอบด้วยสวนกว้างใหญ่ มีเรือจำลองพระราชพิธีในสระ ตอนกลางคืนจะมีการเปิดไฟประดับสวยงาม ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและใช้เป็นเวทีประกวดอ่านคัมภีร์อัลกุรอานอีกด้วย   2.มัสยิดทองคำ เจมส์ อาร์ อัสซานัส โบลเกียห์ (Jame Asr Hassanil […]Read More

ฐานข้อมูล ประเทศสมาชิกอาเซียน

Brunei Darussalam ประเทศบรูไนดาลุสซาราม

Brunei Darussalam บรูไนตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก (743,330 ตาราง กม.) โดยมีพื้นที่ร้อยละ 73 อยู่ในกาลิมันตันของอินโดนีเซีย ร้อยละ 26 อยู่ในรัฐซาบาห์และซาราวักของมาเลเซีย และร้อยละ 1 ในบรูไน (5,765 ตาราง กม.)  พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะเป็นป่าร้อนชื้นซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ล้านปี   ในอดีตบอร์เนียวเป็นชื่อที่ระบุในเอกสารประวัติศาสตร์ของจีนว่าเป็นหนึ่งในเมืองท่าของการค้าขายระหว่างราชวงศ์หมิงของจีนและราชวงศ์มัชปาหิต (Majapahit) ของอินโดนีเซีย  ต่อมาในปี คศ. 1400 สุลต่านของบรูไนได้ประกาศอิสรภาพออกจากอาณาจักรมัชปาหิต และราชวงศ์ Bolkiah (โบลเกียห์) ได้ปกครองบอร์เนียวตอนเหนือนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงในช่วงระหว่างปีคศ. 1600 – 1800 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม ประเทศโปรตุเกส อังกฤษ และดัตช์ ได้ขยายอิทธิพลมายังเกาะบอร์เนียว โดยในปี คศ. 1842 สุลต่านบรูไนได้ยกดินแดน (รัฐซาราวัก) ให้แก่ชาวอังกฤษชื่อ James Brooke ที่เข้ามาช่วยขับไล่กลุ่มกบฎและได้สร้างราชวงศ์ซาราวักขึ้นหรือที่เรียกกันว่า”ราชาคนขาว”ในดินแดนดังกล่าว ในปี คศ. […]Read More

กฏบัตรประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

กฎบัตรอาเซียน ASEAN Charter

  กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ เมื่อปี 2548 ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้มีมติให้จัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของอาเซียน สู่การมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มีสถานะทางกฎหมาย และที่สำคัญกว่านั้น คือ ให้อาเซียนมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง โดยมีหลักการ แนวคิด และกรอบการทำงาน ที่ลึกซึ้งและชัดเจน ทั้งในการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก และการทำงานร่วมกับประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศภายนอกภูมิภาค หลังจากที่ผู้นำอาเซียนได้มีมติในเรื่องดังกล่าว ประเทศสมาชิกก็ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Eminent Persons Group – EPG) ขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎบัตรอาเซียน โดยขอให้กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำข้อเสนอแนะที่ “ห้าวหาญและมีวิสัยทัศน์” (Bold and Visionary) ข้อเสนอแนะสองเรื่องหลักของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง คือ 1. ให้มีการปฏิรูปหลักการและแนวทางปฏิบัติของประเทศสมาชิก 2. […]Read More

Translate »