พระบัวเข็ม จากรามัญสู่ไทย ความเชื่อแห่งสายน้ำ

พระบัวเข็ม จากรามัญสู่ไทย ความเชื่อแห่งสายน้ำ

พระบัวเข็มจากรามัญสู่ฉาน เทศกาลสำคัญช่วงออกพรรษา​กับขบวนเรือที่ยิ่งใหญ่งดงาม สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักที่สุดในรัฐฉานคือ”อินเล” เป็นทะเลสาบในดินแดนแห่งเทือกเขาที่สวยงาม ที่นี่จะมีเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า “เทศกาล Phaung Daw Oo Pagoda” เพื่อบูชาพระบัวเข็ม เทศกาลนี้จัดขึ้นในช่วงออกพรรษาเดือนตุลาคมของทุกๆปี ไฮไลน์ของงานคือขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปบัวเข็มสี่องค์ลงขบวนเรือแห่ไปรอบทะเลสาบเป็นเวลากว่า18 วันและการแข่งขันใช้ขาพายเรือของชาวบ้านในแต่ละชุมชน

พระบัวเข็ม เป็นที่ศรัทธานิยมกันมากในหมู่ชาวมอญ ชาวพม่าและชาวไต สำหรับในสยามนั้น ความศรัทธาในพระบัวเข็มค่อยๆเผยแพร่เข้ามาในสยามสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 พระบัวเข็ม อุบัติขึ้นด้วยการนำติดตัวเข้าสู่

แผ่นดินสยามโดย “พระภิกษุชาวมอญ” รูปหนึ่ง นำมาถวายแด่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ฉายา “พระวชิรภิกขุ” ไม่มีเอกสารใดระบุนามของพระภิกษุชาวมอญรูปนั้นว่าจะใช่ “พระซาย” ฉายา “พุทฺธวํโส” หรือไม่ พระซายคือผู้สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้แก่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จนถึงขนาดขออุปสมบทใหม่ใน วงศ์พระสงฆ์มอญ(รามัญนิกาย) เมื่อ พ.ศ.2372 นำไปสู่การตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ.2376 ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้นำพระบัวเข็มองค์นั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีขอฝนหรือ “พระพิรุณศาสตร์” ทำให้ชาวสยามเชื่อกันว่า พระบัวเข็มมีพุทธคุณในแง่เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์

____

ขอบคุณข้อมูลและภาพขากเพจเชียงตุงอยู่ดีกินหวาน

ศูนย์อาเซียนศึกษา มจร

พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที

รายงาน

Aphichet Somkamsri

Translate »