ศิษย์เก่า มหาจุฬาชาวเวียดนามกลับมาเยี่ยมมหาวิทยาลัย ด้วยความภาคภูมิใจ ยังคงยึดมั่นหลักการ Come to Learn, Leave to Serve พร้อมจัดเวทีเเลกเปลี่ยน สร้างแรงบันดาลใจศิษย์เก่า-ปัจจุบัน
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์อาเซียนศึกษา ต้อนรับคณะศิษย์เก่าจากประเทศเวียดนาม นำโดย พระอาจารย์ Thic Chau Vien (Le Huu Phuoc) ซึ่งมีโอกาสเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ หมู่บ้านพลัมประเทศไทย
การเดินทางมายังมหาจุฬาลงกรณรราชวิทยาลัยครั้งนี้ พระอาจารย์ Thic Chau Vien ได้ถือโอกาสเข้ากราบคารวะคณาจารย์คณะพุทธศาสตร์ที่ท่านเคยศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติด้วย
ในการนี้ได้เข้าพบบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา โดยมีพระมหาสมพงษ์ สนฺจิตฺโต, ดร. และบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาให้การต้อนรับ
พระอาจารย์ Thic Chau Vien ปัจจุบันกำลังซึ่งศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขามหายานศึกษา ที่ Ryukoku University กรุงเกียวโต ประเทสญี่ปุ่น ได้แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นศิษย์ของสถาบันแห่งนี้ ขณะที่เรียนได้รับการดูแลจากคณาจารย์ด้วยความเมตตาและที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมระหว่างเถรวาทและมหายาน ซึ่งท่านถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอย่างมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นให้ท่านเข้าใจความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาและเป็นพื้นฐานที่ทำให้ท่านไปศึกษาต่อด้านพระพุทธศาสนาที่ญี่ปุ่นด้วย
แต่สิ่งที่ทำให้ศูนย์อาเซียนศึกษา ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งไปกว่านั้น เมื่อท่าน Thic Chau Vien ชื่นชมว่าศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ท่านตัดสินใจไปเรียนต่อที่ Ryukoku University จากประสบการณ์ที่ท่านเข้าฝึกอบรมการพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking) และเข้าแข่งขันการกล่าวสุนทรพจน์และตอบปัญหาภาษาอังกฤษที่คณะมนุษยศาสตร์และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่สอง เป็นจุดเปลี่ยนที่สร้างความมั่นใจให้ท่านกล้าสื่อสารมากขึ้น
ทั้งนี้ คณะนิสิตได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยด้วย เช่น พระอาจารย์ Giác Minh Luật ศิษย์เก่าคณะพุทธศาสตร์ สาขาพระพุทธศาสนา ปัจจุบันเป็นหนึ่งในพระสงฆ์ที่ทำงานพระพุทธเชิงรุกด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชนทั่วประเทศเวียดนาม ท่านกล่าว่า เมื่อเรียนจบแล้ว ท่านได้มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการเผยแผ่ธรรมะให้กับเยาวชนเวียดนาม ปัจจุบันมีศิษย์และกิจกรรมที่ท่านเปิดอบรมเยาวชนทั่วประเทศและเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วโลก เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐและญี่ปุ่น ท่านกล่าวทิ้งท้ายว่า ประสบการณ์ที่มหาจุฬา เป็นที่แรกที่ฝึกท่านให้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายและรู้จักเพื่อน ๆ สหายธรรมต่างนิกาย นั่นคือความเป็นนานาชาติ
บทบาทของท่าน Giác Minh Luật และ Thic Chau Vien สะท้อนถึงหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของมหาจุฬาที่ปลูกฝังให้แก่นิสิตเสมอ นั่นคือ Come to Learn, Leave to Serve
เมื่อศูนย์อาเซียนศึกษาสอบถามถึงเครือข่ายนิสิตเก่าว่ามีท่านใดทำกิจจรรมอะไรอยู่บ้าง สิ่งที่ให้เราประทับใจนั่นคือการได้รับทราบว่าตอนนี้มีศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกำลังศึกษาในระดับมหาบัณฑิตที่ Oxford University และ Harvard University ด้วย
ในโอกาสอันใกล้นี้ ศูนย์อาเซียนศึกษาจะประสานงานไปยังกลุ่มนิสิตและเครือข่ายนิสิตเก่าเพื่อสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและจะจัดเวทีสร้างแรงบันดาลใจนิสิตเก่า-ปัจจุบัน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อไป