“คนสร้างศิลป์” กับการสร้างชุมชน และสร้างเมืองที่ยั่งยืนด้วยพุทธศิลป์

สร้างชุมชน และสร้างเมืองที่ยั่งยืนด้วยพุทธศิลป์”

            ประเทศไทยภายใต้การพัฒนาประเทศที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยนโยบาย Soft Power โดยมีต้นทุนคือวัฒนธรรมและประเพณี จึงทำให้ศิลปะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้

ศิลปะบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของแต่ละชาติ การส่งเสริมและรักษาก็เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราพูดถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความตระหนักและความรับผิดชอบต่อการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์

ทุกวันนี้ราพูดถึงแนวคิดการพัฒนาเมืองมากมาย เช่น แนวคิดเมืองสุขภาพ (Health City) เมืองคาร์บอนต่ํา (Low Carbon City) ชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism) ทั้งนี้ก็เพื่อปัญหาของชุมชนนั้นๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แนวคิดการพัฒนาเหล่านี้ได้ถูกปรับใช้โดยมีการพัฒนารูปแบบที่น่าสนใจ มีการบูรณาการกายภาพสิ่งแวดล้อม การขนส่ง สถาปัตยกรรม กฎหมายหรือข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสมดุล  เท่าเทียมที่ยั่งยืน

วันนี้ กองบรรณาธิการได้รับโอกาสพิเศษ พูดคุยกับท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปฏิเวธ เสาว์คง ประธานหลักสูตรสาขาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ร่วมแบ่งปันเรื่องราวแนวคิดการสร้างเมืองด้วยศิลปะและการส่เสริมพุทธศิลป์ในช่วงเวลาการขับเคลื่อนเศษฐกิจ Soft Power

อยากให้อาจารย์แบ่งปันแง่มุมจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่อยากให้คนทั่วไปเข้าใจ “คนสร้างศิลป์” สักนิดนึงครับ

“ศิลป์” มีอยู่ทุกที่ในทุกสายงานวิชาชีพ เช่น ศิลป์ในการจัดสวน ศิลป์ในการพูด เป็นต้น ดังนั้น เราควรใช้ศิลป์ให้มีความสุขในทุกสายวิชาชีพ โดยการวิเคราะห์หลักของศิลป์ สายวิชาชีพนั้นๆ คือการสร้างสรรค์มีกระบวนการในการใช้ศิลป์ให้ได้ประโยชน์สูงสุดในทุกสายวิชาชีพ

ศิลปะกับชุมชนสัมพันธ์กันอย่างไร

ศิลปะนอกจากจะอยู่ในทุกสายวิชาชีพแล้วนั้นยังสามารถใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกับชุมชนอาทิเช่นการวาดภาพปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัด โดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยการสร้างสรรค์ปรับปรุงร่วมกับผู้มีความรู้ทางด้านศิลป์ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน

ขยับประเด็นอีกนิดหนึ่ง เราพูดถึงการสร้างสังคมที่ยั่งยืน อาจารย์มองว่าศิลปะโดยเฉพาะพุทธศิลป์มีบทบาทด้านนี้มากน้อยเพียงไรครับ

พุทธคือศาสนา ศิลป์คือ ศิลปะ ดังนั้น พุทธศิลป์มีความสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมและชุมชนให้ยั่งยืน พัฒนาจิตใจ ความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างด้วยศักยภาพในชุมชน เพื่อคงไว้ซึ่งพุทธศิลป์ ในศาสนสถานสืบไป

 

พุทธศิลป์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะสร้างเมืองในฝันให้กับทุกคนได้จริงไหม เมื่อเรามองในแง่เศรษฐกิจอยากชวนเมืองในแง่ศิลปะที่ช่วยพัฒนา “คน” ด้วยครับ

สามารถทำได้ครับ  พุทธศิลป์สามารถสร้างเมืองในฝันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้โดยให้ผู้มีความรู้ด้านพุทธศิลป์ ถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนเพื่อพัฒนาในการสร้างสรรค์ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชน และเสริมสร้างศักยภาพแก่บุคคลในชุมชนอีกด้วย

คุยกันทิ้งท้าย หากจะถอดบทเรียนการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา อาจารย์อยากแบ่งปันเรื่องอะไรมากที่สุด และเราจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนครับ

พุทธศิลป์ทางล้านนานั้นมีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์มายาวนานหลายร้อยปี ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพุทธศิลป์ ควรร่วมด้วยช่วยกันเสริมสร้างแบ่งปันความรู้ทางพุทธศิลป์ให้แก่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างและคงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมพุทธศิลป์ล้านนาสืบไป

Aphichet Somkamsri

Translate »