MukraweC

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

3 ปัจจัย ผลักดันเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ โตไม่หยุด!

จากบทความที่เผยแพร่ลงใน vietnam-briefing.com ระบุว่า การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน, บรรยากาศการค้าขาย และค่าจ้างในอัตราที่แข่งขันได้ เป็น 3 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่อง และตัวเลขการเติบโตเป็นไปในเชิงบวก . 1. การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เวียดนามใช้จ่ายประมาณ 6% ของ GDP ไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และในบรรดาค่าใช้จ่ายเหล่านั้นคือ การก่อสร้างโครงการยักษ์ใหญ่ เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างนครโฮจิมินห์-กรุงฮานอย ที่มีความยาว 1,800 กิโลเมตร, สนามบินนานาชาติล็องถั่ญ ซึ่งในที่สุดจะมาแทนที่สนามบินนานาชาติเติ่นเซินเญิ้ต ในนครโฮจิมินห์ ซึ่งแออัดมากเกินไป และโครงการรถไฟฟ้าในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังงานจากขยะ . 2. บรรยากาศการค้าขาย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามมีความกระตือรือร้นในการลงนามข้อตกลงการค้าทวิภาคีหลายฉบับกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการเป็นสมาชิกของอาเซียน ยังทำให้เวียดนามกลายเป็นภาคีของบรรดาข้อตกลงการค้าเสรีที่กลุ่มภูมิภาคได้ลงนามอีกด้วย การรับรองมาตรฐานคุณภาพสินค้า การผลิต และสิทธิของพนักงานในข้อตกลงเหล่านี้ จะทำให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและสามารถขยายฐานการส่งออกได้ ตัวอย่างเช่น ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ได้กระตุ้นการส่งออกของเวียดนาม แม้จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปี 2564 รวมถึงความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่าง […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

Samsung และ LG จ่อลงทุนเพิ่มในเวียดนาม

Samsung และ LG บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ วางแผนที่จะลงทุนในเวียดนามเพิ่มเติมเป็นมูลค่ากว่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ Samsung จะลดการผลิตสมาร์ตโฟนในเวียดนามลง 2 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกลดลง . Samsung Electronics ซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม จะลงทุนเพิ่มอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งหมดเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง Samsung ผลิตสมาร์ตโฟนกว่าครึ่งหนึ่งในเวียดนามมาเป็นระยะเวลาหลายปี และกินสัดส่วนเกือบ 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ . สำนักข่าว Vietnam News รายงานหลังการประชุมระหว่างประธานาธิบดี เหวียน ซวน ฟุก และนาย Han Jong-hee ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Samsung ในวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ณ ประเทศเกาหลีใต้ว่า การลงทุนเพิ่มเติมนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้เวียดนามในฐานะ ‘แหล่งการผลิตหลัก’ ของ Samsung . นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังกล่าวในแถลงการณ์ว่า […]Read More

ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต โอกาสของไทยในอาเซียน

สรุปผลการประชุมผู้นำ APEC 2022 ครั้งที่ 33

  การประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือ APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตลอด 2 วันที่ผ่านมา (18-19 พฤศจิกายน) ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ ท่ามกลางความคาดหวังจากผลสำเร็จต่างๆ โดยเฉพาะด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันครั้งแรกระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ในรอบ 4 ปี ซึ่งนอกจากจะเป็นเวทีหารือระหว่างผู้นำและผู้แทนจาก 21 สมาชิกเขตเศรษฐกิจ ยังเป็นพื้นที่สำหรับการหารือระดับทวิภาคีของไทยและประเทศต่างๆ ไปจนถึงการจัดประชุมฉุกเฉินในประเด็นระดับโลก อย่างการยิงขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ของเกาหลีเหนือที่เกิดขึ้น โดยบรรดาผู้นำ APEC ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับแขกพิเศษที่เข้าร่วมการประชุมคือ ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส และเจ้าชายมูฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่งนอกจากการประชุมเวทีหลัก ยังมีเวทีคู่ขนานของผู้นำภาคธุรกิจ APEC (APEC CEO Summit) และการหารือระหว่างผู้นำ APEC […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

กัมพูชา คว้าแชมป์ ข้าวดีที่สุดของโลก

กัมพูชาคว้าอันดับ 1 ในการประกวดข้าวโลกประจำปี 2565 หรือ World’s Best Rice 2022 Award ในงานประชุมสัมมนาข้าวโลก ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยข้าวพันธุ์ ‘ผกา ลำดวน’ (Phka Rumdoul) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นข้าวที่ดีที่สุดประจำปีนี้ . นาย Dith Tina รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ได้เปิดเผยว่า ข้าวหอมเกรดพรีเมียมของกัมพูชาชนะการประกวดเป็นครั้งที่ 5 ในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมข้าวของประเทศในปีนี้ ต่อจากเมื่อปี 2561, 2557, 2556 และ 2555 ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติที่ยิ่งใหญ่และเป็นความภาคภูมิใจของทั้งประเทศกัมพูชาและชาวกัมพูชาทุกคน โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องของคุณภาพข้าว . นอกจากนี้ การชนะการประกวดดังกล่าวจะช่วยให้โลกรู้จักกัมพูชามากขึ้นในฐานะผู้ผลิตข้าวคุณภาพดีที่สุดในโลก รวมทั้งช่วยส่งเสริมคุณภาพของข้าวอีกด้วย โดยข้าวกัมพูชามีรสชาติที่อร่อย และมีกลิ่นหอม ซึ่งมีทั้งสำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ทั่วโลก . ด้าน นาย Song Saran ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา เปิดเผยว่าการผลิตข้าวที่ดีที่สุดของกัมพูชานี้ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทั้งกระทรวงการเกษตร […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

สินค้าเกษตร ลาว จ่อทะลักเข้า จีน

บรรดาผู้คนที่อาศัยอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ จะได้ลิ้มลองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่แปลกใหม่จาก สปป.ลาว กันแล้วในไม่ช้านี้ เนื่องมาจากข้อตกลงฉบับใหม่ที่เพิ่งได้รับการลงนามในงาน China International Import Expo (CIIE) ครั้งที่ 5 . รัฐบาลเขตหยางผู่ (Yangpu) ของจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกรมส่งเสริมการค้าของกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของ สปป.ลาว ระหว่างการจัดงาน CIIE เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว หยางผู่จะสนับสนุนสินค้าเกษตรคุณภาพจาก สปป.ลาว เพื่อเข้านำเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น อีกทั้งตอบสนองความต้องการของบรรดาผู้คนในท้องถิ่นอีกด้วย . ทั้งนี้ ศูนย์จำหน่ายอาหารนำเข้าของ สปป.ลาว จะถูกจัดตั้งขึ้นในหยางผู่ เพื่อให้บริการแก่ชาวเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคแถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี โดยสินค้าเกษตรหลักๆ ของ สปป.ลาว ได้แก่ ข้าว กล้วย มันฝรั่ง และข้าวโพด โดยสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น ข้าวโพดหวาน มันสำปะหลังแห้ง และเสาวรส เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนอย่างมาก . ขณะที่ รัฐบาลได้เปิดเผยว่า บริษัทอินเทอร์เน็ตชั้นนำในหยางผู่จะช่วยจัดหาทรัพยากรดิจิทัลและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ที่ดีกว่าเดิมเพื่อช่วยสนับสนุนการขายผลิตผลต่างๆ จาก […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

วิกฤติพลังงาน พลิกฟื้น พลังงานนิวเคลียร์ในเอเชีย

  การยอมรับพลังงานนิวเคลียร์เกิดขึ้นหลังจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในเอเชียมีราคาพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากรัสเซียรุกรานยูเครนจนเกิดความสับสนอลหม่านในตลาดต่างๆ โดยหลายประเทศตัดสินใจไม่ซื้อพลังงานจากรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกพลังงานเชื้อเพลิงรายใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะทำให้พลังงานเชื้อเพลิงมีปริมาณน้อยลง และราคาก็ยิ่งจะไต่ระดับสูงขึ้นในอนาคต ในปี 2563 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกคิดเป็นสัดส่วนราว 10% ของไฟฟ้าทั้งหมดในโลก โดยมีเพียง 15 ประเทศที่ร่วมกันผลิตพลังงานนิวเคลียร์โลกได้มากกว่า 91% ซึ่งสหรัฐฯนั้นเป็นประเทศอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 31% รองลงมาคือ จีน ที่ผลิตพลังงานนิวเคลียร์ได้ที่ 13.5% และอันดับที่ 3 คือ ฝรั่งเศสที่ 13.3% แต่เมื่อมองในมุมที่ว่า ประเทศใดพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์มากที่สุด ประเทศฝรั่งเศสนำโด่งมาเป็นที่ 1 ในสัดส่วนที่มากถึง 70.6% ตามมาด้วยประเทศสโลวะเกีย 53.1% และประเทศยูเครนที่ 51.2% ทั้งนี้ มีเพียงประเทศเกาหลีใต้ที่เป็นประเทศจากเอเชียติดอันดับที่ 13 พึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ที่ 29.6% แม้ว่าบางประเทศ เช่น เยอรมนี มีแผนที่จะค่อยๆ ยกเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ความต้องการใช้พลังงานไร้คาร์บอนอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการฟื้นคืนของ “พลังงานนิวเคลียร์” โดยขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กำลังยุตินโยบายต่อต้านนิวเคลียร์ ขณะที่ จีนและอินเดีย กำลังมุ่งสร้างเครื่องปฏิกรณ์มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนพลังงานในอนาคต และควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ระหว่างการสำรวจเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์เช่นกัน การยอมรับพลังงานนิวเคลียร์เกิดขึ้นหลังจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในเอเชียมีราคาพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากรัสเซียรุกรานยูเครนจนเกิดความสับสนอลหม่านในตลาดต่างๆ โดยหลายประเทศตัดสินใจไม่ซื้อพลังงานจากรัสเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกพลังงานเชื้อเพลิงรายใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะทำให้พลังงานเชื้อเพลิงมีปริมาณน้อยลง และราคาก็ยิ่งจะไต่ระดับสูงขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้พลังงานนิวเคลียร์ที่ทั้งเป็นพลังงานสะอาดและเชื่อถือได้ ยิ่งเป็นที่น่าสนใจสำหรับเหล่าผู้นำประเทศที่ต้องการควบคุมเงินเฟ้อ, บรรลุเป้าหมายการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการพึ่งพาผู้ค้าพลังงานจากต่างประเทศ การกลับมาของพลังงานนิวเคลียร์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยมีแรงสนับสนุนจากหลายประเทศนับตั้งแต่อังกฤษไปจนถึงอียิปต์ แต่ที่น่าประหลาดใจคือ เป็นไปได้อย่างไรที่พลังงานนิวเคลียร์กำลังเป็นที่สนใจในหมู่ประเทศเอเชียเช่นเดียวกัน เนื่องจากเคยเกิดภัยพิบัติที่นำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่ญี่ปุ่นเมื่อกว่า 10 ปีก่อนมาแล้ว ก่อนหน้านี้ อนาคตของพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชียค่อนข้างจะสดใสจนกระทั่งเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิพัดถล่มฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ในเดือนมีนาคม ปี 2554 โดยวิกฤติการณ์ครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์นั้นมีความเสี่ยงมากกว่าจะสร้างประโยชน์ ขณะที่เยอรมนีและไต้หวันตัดสินใจขีดเส้นตายที่จะปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ อีกทั้งค่าใช้ง่ายจำนวนมหาศาลในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่และความล่าช้าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งล้วนถูกมองว่าเป็นอุปสรรคด้วย เมื่อค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคต่างๆ สูงขึ้น […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

CLMV ชู 4 ประเทศ 1 จุดหมายปลายทาง กระตุ้นท่องเที่ยว

นาย Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของกัมพูชาได้เปิดเผยระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศ CLMV ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดเสียมราฐว่า ทั้งกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา และเวียดนาม ได้ตกลงนำแผนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว 3 ปี ระหว่างปี 2566-2568 มาใช้ โดยจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่อง ‘4 ประเทศ 1 จุดหมายปลายทาง’ พร้อมเรียกร้องให้มีการผลักดันแผนนี้ให้สามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย . นอกจากนี้ แผนความร่วมมือดังกล่าวยังเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวกให้การเดินทางระหว่างภูมิภาคง่ายขึ้น, การสร้างขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยว, การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและบรรดาชุมชนท้องถิ่น, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว, การทำโปรโมชั่นร่วมกัน ตลอดจนความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว . ขณะที่ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้บรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยว เตรียมข้อเสนอโครงการท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานประสานงานระดับชาติของกลุ่มประเทศ CLMV ตามทิศทางในอนาคตและแผนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เพื่อขออนุมัติเงินทุนจากเหล่าพันธมิตรในการดำเนินการ . อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีชื่นชมความคืบหน้าของความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งรวมถึงการขับรถท่องเที่ยวด้วยตนเอง, การเดินทางทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้นและเที่ยวบินตรงที่เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางต่างๆ ในภูมิภาค, การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง โดยการลดอุปสรรคที่ไม่จำเป็น รวมถึงการขยายวีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบจาริกแสวงบุญผ่านเส้นทางที่มีสถานที่สำคัญๆ ที่เชื่อมต่อกันภายในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการกระชับกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและการตลาดร่วมกัน […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

อาเซียนเห็นชอบในหลักการ เตรียมรับ “ติมอร์เลสเต” เป็นสมาชิกลำดับที่ 11

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( อาเซียน ) ออกแถลงการณ์ร่วมกัน เมื่อวันศุกร์ เกี่ยวกับการมีมติเห็นชอบในหลักการรับ ติมอร์เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน โดยกระบวนการสำคัญในลำดับต่อไปรวมถึง “การพิจารณาโรดแม็พ” เพื่อการเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลติมอร์เลสเต ต้องยื่นต่อประธานอาเซียนประจำปีหน้า นั่นคือ อินโดนีเซีย . ส่วนสาระสำคัญจากประเด็นอื่นในแถลงการณ์ รวมถึง การที่ติมอร์เลสเต ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน สามารถเข้าร่วมการประชุมได้ทุกระดับนับจากนี้เป็นต้นไป และการขอให้สมาชิกอาเซียนปัจจุบันร่วมกันมอบความสนับสนุนให้แก่ติมอร์เลสเต ในการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโฮเซ รามอส ฮอร์ตา ผู้นำติมอร์เลสเต กล่าวระหว่างการเยือนอินโดนีเซีย เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาว่า ติมอร์เลสเตถือเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ จนมีคุณสมบัติเพียงพอ ที่จะเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของประชาคม พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่า ติมอร์เลสเตจะสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอาเซียนได้อย่างสร้างสรรค์ อนึ่ง ติมอร์เลสเต ยื่นเอกสารสมัครเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นสมาชิกอาเซียน […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

สิงคโปร์ ทุ่ม 50 ล้านดอลลาร์ พัฒนา-ดึงดูดคนเก่งด้าน AI

นาย Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้กล่าวเปิดงานสัปดาห์นวัตกรรมและเทคโนโลยีของสิงคโปร์ (SWITCH) ประจำปี 2565 ซึ่งจัดโดย Enterprise Singapore ที่ศูนย์ประชุมรีสอร์ต เวิลด์ ว่า สิงคโปร์จะลงทุน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 71 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อดึงดูดและพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงจะเปิดศูนย์นวัตกรรมแห่งใหม่ 3 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้บรรดาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ทดสอบไอเดียใหม่ๆ ครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่ล้ำสมัยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเกษตรในเมือง ความงามและการดูแลตัวเอง . อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสิงคโปร์มีอยู่ 3 ประการ คือ การขาดแคลนบุคลากร, เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และความล่าช้าในการสร้างความยั่งยืน . ทั้งนี้ สิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนคนเก่งด้าน AI ในประเทศเป็น 2 เท่าภายใน 5 ปีข้างหน้า รวมถึงจะก่อตั้งกองทุนการวิจัยแห่งชาติแห่งใหม่ สำหรับ AI […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

มาเลเซีย เผชิญวิกฤตขาดแคลนไข่

ปัญหาการขาดแคลนไข่ยังคงสร้างความไม่พอใจแก่ผู้บริโภคชาวมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ว่าไข่ที่ออกสู่ตลาดจะมีจำนวนเท่าไรก็ขายหมดเกลี้ยง และหลายฝ่ายกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวนี้จะยืดเยื้อ . นาย Hong Chee Meng ประธานสมาคมสหพันธ์ผู้ค้าสินค้าเบ็ดเตล็ดของมาเลเซียกล่าวว่า ไข่ถูกขายหมดภายในไม่กี่ชั่วโมงเมื่อมาถึงร้านค้า ซึ่งภาวะไข่ขาดตลาดในครั้งนี้เกิดจากบรรดาฟาร์มสัตว์ปีกลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารไก่เพิ่มสูงขึ้น . ทั้งนี้ ผู้คนต่างติดตามสถานการณ์การขายไข่ในละแวกที่พวกเขาอาศัยอยู่ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตัวอย่างเช่น นาง Lim Ai Swam แม่บ้านอายุ 45 ปี อาศัยอยู่ที่บาตู ปาหัต ในรัฐยะโฮร์ เล่าให้ฟังว่า พวกเธอจะคอยเข้าไปดูความเคลื่อนไหวในกลุ่ม ‘egg updates’ ในเฟซบุ๊ก และทันทีที่มีข่าวเรื่องการเติมสต็อกไข่ที่ร้านค้าใด ผู้คนก็จะแห่ไปต่อคิวซื้อกัน ซึ่งเธอเองต้องการไข่จำนวน 20 ฟองต่อสัปดาห์สำหรับครอบครัว ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน . ด้าน นาย Tan Teck Hock ประธานสมาคมผู้ค้าสินค้าเบ็ดเตล็ดแห่งฝั่งกลังเผยว่า บรรดาผู้บริโภคต้องหันไปซื้อไข่กัมปง หรือไข่ที่มาจากการเลี้ยงไก่แบบปล่อยแทน แม้ว่าปริมาณไข่ประเภทนี้จะลดลง 50% เช่นกัน . อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา […]Read More

Translate »