MukraweC

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

อาเซียน-แคนาดา ถก FTA รอบแรก ตั้งเป้าสรุปผลเจรจาภายใน 2 ปี

อาเซียนและแคนาดาเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา หรือ ACAFTA (อา-คาฟ-ต้า) รอบแรกอย่างเป็นทางการแล้ว พร้อมมอบคณะทำงานกลุ่มย่อย 17 กลุ่ม เร่งเดินหน้าเจรจาให้สำเร็จโดยเร็ว ล่าสุดคืบหน้าแล้ว 11 ประเด็น ส่วนอีก 6 ประเด็น อยู่ระหว่างหารือ เตรียมเจรจารอบต่อไปเดือน พ.ย. นี้ ตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาภายใน 2 ปี นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่อาเซียนและแคนาดาได้ประกาศเปิดเจรจา FTA ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยอาเซียนและแคนาดาได้จัดประชุมคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา (ACAFTA) ครั้งที่ 1 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม และ 1 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อหารือภาพรวมการเจรจา โครงสร้างการเจรจา และวางแผนการเจรจาในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะจัดประชุม 4 ครั้งต่อปี และตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาภายใน 2 ปี นางอรมน […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ลาวมุ่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

รัฐบาล สปป.ลาว ได้ให้คำมั่นว่าจะกระจายแหล่งพลังงานต่าง ๆ ในประเทศ โดยจะให้ความสำคัญกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลม และระบบชีวมวล ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในฤดูแล้ง รวมถึงลดปริมาณการนำเข้าพลังงาน ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ระบุว่า ปัจจุบันนี้ 81% ของไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ใน สปป. ลาว มาจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ รองลงมาคือ 17% จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขณะที่ แหล่งพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล คิดเป็นเพียง 2% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้อยู่ในประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเป็น 11% ตามที่ลงนามไว้ในแผน 5 ปี สำหรับปี 2564-2568 ในทางกลับกัน จะลดสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าถ่านหินเหลือเพียง 75% และ 14% ตามลำดับ ภายในปี 2568 ปัจจุบัน สปป.ลาว มีโรงงานผลิตพลังงาน 90 แห่งทั่วประเทศ โดยมีกำลังการผลิตรวมเกือบ 11,000 เมกะวัตต์ ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

เวียดนามลงสนามเตรียมขึ้นแท่นเป็นตัวเต็งผู้ผลิตชิปโลก

ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์หรือผู้ผลิตชิปชั้นนำกำลังขยายกิจการในเวียดนาม ท่ามกลางการแข่งขันที่กำลังร้อนแรงในระดับโลก เวียดนามได้ก้าวขึ้นมาเป็นจุดสนใจของหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตชั้นนำอย่าง Samsung หลังประกาศแผนจะเริ่มผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ความแม่นยำสูง (Ball Grid Array) ในโรงงานทางตอนเหนือของจังหวัดท้ายเงวียน ในเดือนกรกฎาคมปี 2566 โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะช่วยยกระดับชื่อเสียงของอุตสาหกรรมไมโครคอนดักเตอร์ของเวียดนามซึ่งเป็นผลจากขนาดธุรกิจและอิทธิพลต่างๆ ของ Samsung Gu Wenjun หัวหน้านักวิเคราะห์ของบริษัทวิจัยตลาดเซี่ยงไฮ้ Icwise กล่าวว่า เวียดนามกำลังจะกลายเป็นจุดหมายปลายทางใหม่สำหรับอุตสาหกรรมไมโครคอนดักเตอร์ เนื่องจากมีเขตอุตสาหกรรมที่มีความชำนาญเรื่องของการทดสอบและและกระบวนการบรรจุวงจร นอกจากนี้ บริษัทวิจัยตลาดของสหรัฐอเมริกา Technavio กล่าวว่าตลาดชิปของเวียดนามยังมีศักยภาพที่จะสามารถเติบโตได้ถึง 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 ประกอบกับการใช้ IoT ที่เพิ่มมากขึ้นก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ดี เวียดนามยังเป็นที่ตั้งโรงงานของ Intel ที่มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงงานผลิตทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท Steve Long ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นของ Intel กล่าวในเดือนพฤษภาคมว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มั่นคงของเวียดนาม รวมถึงตลาดแรงงานที่มีแต่คนวัยหนุ่มสาวยังช่วยให้ Intel สามารถเอาชนะวิกฤติการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ได้ แต่ Technavio มองว่าอุตสาหกรรมชิปของเวียดนามยังขาดแรงงานที่มีทักษะและแรงงานส่วนใหญ่ยังคงทำแต่งานที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ อย่างไรก็ดี นครโฮจิมินห์นับเป็นศูนย์กลางเซมิคอนดักเตอร์ของเวียดนาม มีวิศวกรด้านวงจรรวมเพียง 1,000 คนและมีวิศวกรด้านระบบสมองกลฝังตัวเพียง […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

สิงคโปร์ยกเลิกกฎหมายรักร่วมเพศ

สิงคโปร์ซึ่งเป็นที่เลื่องลือเกี่ยวกับการเข้มงวดเรื่องรักร่วมเพศ มีความเคลื่อนไหวที่ทำให้ธงสีรุ้ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ออกมาโบกสะบัดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกกฎหมายอาญาห้ามคู่เกย์มีเพศสัมพันธ์กัน นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ ออกมาประกาศเมื่อช่วงค่ำวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายอาญามาตร 337A ที่ห้ามชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยระบุว่า สิ่งที่เขาได้ประกาศไปเป็นสิ่งที่ควรทำ และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ และยังกล่าวด้วยว่า สังคมปัจจุบันยอมรับเกย์มากขึ้น การยกเลิกมาตรา 377A จะช่วยให้คู่เกย์ชาวสิงคโปร์รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น แต่ผู้นำสิงคโปร์ยังคงยึดมั่นในนิยามของการแต่งงานตามกฎหมายที่ระบุ ให้ทำได้เฉพาะระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย ซึ่งจำเป็นที่สิงคโปร์ต้องคงไว้ เพื่อการรักษาแบบแผนดั้งเดิมเกี่ยวกับการสร้างครอบครัวและบรรทัดฐานทางสังคม อย่างไรก็ตาม แม้นายลีจะยอมยกเลิกกฎหมายดังกล่าวซึ่งห้ามการมีเพศสัมพันธ์ของคู่เกย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สิงคโปร์จะสนับสนุนการออกกฎหมายรับรองการแต่งงานของเพศเดียวกัน ดังเช่นในบางประเทศ ทั้งนี้ มาตรา 377A ของสิงค์โปร์ อาจถือได้ว่าเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ยุคที่สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งอังกฤษบังคับใช้กฎหมายอาญาดังกล่าวที่ระบุว่า การร่วมเพศ “อย่างผิดธรรมชาติ” ระหว่างชาย หญิง หรือ สัตว์ เป็นสิ่งต้องห้ามในอินเดีย ที่เป็นหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ และกฎหมายอาญาที่บังคับใช้ในอินเดียนี้ ก็ถือเป็นต้นแบบของกฎหมายอาญาในประเทศอาณานิคมของอังกฤษ ที่ปรากฏการบังคับใช้ในประเทศอาณานิคมอังกฤษอย่าง เคนยา มาเลเซีย เมียนมา และสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์ยังคงมาตรานี้ไว้ แม้จะประกาศอิสรภาพเมื่อปี 2508 […]Read More

ฐานข้อมูล ประเทศสมาชิกอาเซียน

Kingdom of Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา

Kingdom of Cambodia or Cambodia                 ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือประเทศกัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับสามประเทศในภูมิภาคอาเซียน ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และประเเทศลาว (แขวงอัตตะปือ และ จําปาสัก) ทิศใต้     ติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตก  ติดกับประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)                 […]Read More

ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม  อาเซียนได้ให้ความสำคัญต่อการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว โดยไม่เพียงแต่ส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น หากแต่ยังมีความพยายามขยายขอบเขตความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมออกไปยังประเทศต่าง ๆ นอกอาเซียนและนอกภูมิภาคเอเชียอีกด้วย โดยในปี พ.ศ. 2520 (10 ปี หลังการก่อตั้งอาเซียน) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันริเริ่มโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Environment Programme: UNEP) ในการจัดทำโครงการอนุภูมิภาคด้านสิ่งแวดล้อม 1 (the ASEAN Sub-Regional Environment Programme: ASEP I) พร้อมกับจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (the ASEAN Experts Group on the Environment: AEGE) ภายใต้คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (the ASEAN Committee on Science and Technology: COST) เป็นผู้ดำเนินโครงการอนุภูมิภาคด้านสิ่งแวดล้อม 1 มีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2520 […]Read More

ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม

ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความร่วมมือเฉพาะด้าน” คือ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1. การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร 2. แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ 3. ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง 4. ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเอกลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)   แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่างๆ 6 ด้าน 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ให้ความสำคัญกับการศึกษาการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม […]Read More

ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

ความร่วมมือประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจ

ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน […]Read More

ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

ความร่วมมือประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง

 ความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่า เชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่ 1. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) สนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เมื่อปี 2519 เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศสมาชิกหลักการสำคัญของสนธิ สัญญา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือและยอมรับในการปฏิบัติตาม ได้แก่ 1.1 เคารพในเอกราช การมีอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและเอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ 1.2 ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก 1.3 การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน 1.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี 1.5 การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกำลัง 1.6 การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน เมื่อเดือนธันวาคม […]Read More

ฐานข้อมูล โอกาสของไทยในอาเซียน

โอกาสของไทยในอาเซียน

“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community – AEC)  ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2558 จากความร่วมมือของประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย เมียนมา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ความร่วมมือดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนเองเหมือนดังสหภาพยุโรป แต่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ยังแตกต่างจากสหภาพยุโรปในบางเรื่อง เช่น ประเทศอาเซียนยังใช้เงินสกุลเดิมของแต่ละประเทศอยู่ซึ่งแตกต่างจากสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในการทำการค้าขายกัน การใช้เงินสกุลเดียวกันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการค้าสูงเพราะไม่ต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินไปมาทุกครั้งเวลาทำการซื้อขายกันเพราะทุกคนในภูมิภาคใช้เงินสกุลเดียวกันอยู่แล้วและทำให้การท่องเที่ยวหรือย้ายถิ่นฐานในเชิงแรงงานสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีผลกระทบกับประเทศไทยโดยตรงทั้งทางบวกและทางลบ ที่เห็นได้ชัดคือการค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนมีความเป็นเสรีมาก เพราะมีการยกเลิกภาษีนำเข้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับสินค้าบางประเภทที่เรียกกันว่าสินค้าอ่อนไหวเพื่อดูแลเกษตรกรในประเทศ อีกทั้งยังทำให้ผู้ผลิตของไทยสามารถขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีแรงงานราคาต่ำทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และหากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการยังไม่พร้อมจะขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่น การเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมีความเสรีทำให้ไทยไม่ขาดแคลนแรงงานอีกต่อไป ทำให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุนในโครงการใหม่ๆ เพราะมีอุปทานทางด้านแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุน รวมไปถึงโอกาสด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์อาเซียนศึกษา มจร ขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใน ในบทความวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยในกระแส AEC: มายาคติ […]Read More

Translate »