การนับถือศิวลึงค์ที่ปรากฎในอุษาคเนย์ (The Shiva Lingam of Metaphysical Disciplines in Southeast Asia)

The Shiva Lingam of Metaphysical Disciplines in Southeast Asia
การนับถือศิวลึงค์ที่ปรากฎในอุษาคเนย์เป็นความเชื่อที่ได้รับมาจากฮินดูไศวนิกายของอินเดีย
ในเทวาลัยฮินดูจะมีห้องที่เรียกว่า “ครรภคฤหะ (Garbhagrha)” สำหรับเป็นที่ประดิษฐานของศิวลึงค์กับฐานโยนี ศิวลึงค์จะแทนความหมายถึงองค์พระศิวะ อันเป็นกำเนิดของจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งปวง (ตามคติความเชื่อพระศิวะถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและจักรวาล)
ศิวลึงค์มีได้หลายรูปแบบและหลายประเภท แตกต่างกันไป ทั้งนี้ยังมีลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติด้วย เรียกว่า “สวยัมภูลึงค์” จะเป็นภูเขา หินก็ได้ ส่วนลึงค์ที่มนุษย์สร้างขึ้นจะเรียกว่า “มานุษลึงค์” พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การบูชาศิวลึงค์นั้นมิเพียงแต่นำความสุข ความรุ่งเรืองมาสู่ผู้บูชาตามความเชื่อในคมภีร์ปุราณะ ผู้ปฏิบัติต้องสมาทานหลักปฏิบัติตนตามคำสอนนิกายไศวะด้วย
ในเวียดนาม เราพบความเชื่อนิกายไศวะ โดยเฉพาะชาวจาม ในอดีตนั้นชาวจามมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับชาวเขมรยุคพระนคร มีอาณาจักรเป็นของตัวเอง หลักฐานโบราณคดียังสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมจามที่เข้ามาถึงลุ่มแม่นำโขงด้วย
แม้ว่า การบูชาพระศิวะในคัมภีร์จะระบุถึงเครื่องบูชาที่พระศิวะโปรด อย่างไรก็ดี การนำเครื่องบูชาอันเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นก็เป็นเสน่ห์อีกประการเมื่อศาสนาจากอินเดียเดินทางมาถึงอุษาคเนย์ ซึ่งไม่เพียงแต่ศาสนาพราหมณ์ฮินดูเท่านั้น พุทธศาสนาเมื่อเข้ามาในดินแดนแถบนี้ก็ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตและสังคมของผู้คนตามยุคสมัย
ขอบคุณ
ภาพประกอบ: พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร.
เรียบเรียงและเผยแพร่ : พระอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : มุกรวี ฉิมพะเนาว์
บรรณาธิการ : พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร.
อ่านเพิ่มเติม :-
(3) ผาสุข อินทราวุธ, รูปเคารพในศาสนาฮินดู (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๒ – รองศาตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ, “ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนาและความเชื่อของเมืองสงขลากับหัวเมืองต่างๆ และดินแดนภายนอก, การสัมมนาทางวิชาการเรื่องสงขลาศึกษา : ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองสงขลา ๒๗-๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวังขลา .สงขลา : สถาบันทักษิณศึกษา, ๒๕๓๕.
(4) สมมาตร์ ผลเกิด. (2018). ศิวลึงค์: ศาสนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 5(1), 53-64.

Aphichet Somkamsri

Translate »