ร่องรอยและอิทธิพลพุทธศาสนาสายธรรมตันตริกเถรวาทในอาเซียนราวพุทธศตวรรษที่ 18 (สุโขทัย) จนถึงปัจจุบัน: อิทธิพลและคุณูปการ

หากพูดถึงตันตริกเถรวาทกับคนไทยคงจะต้องถูกถามว่าคืออะไร เพราะดูเหมือนเป็นคำที่ผลิตขึ้นใหม่ หากแต่ความจริงคำนี้ใกล้เคียงกับคำที่พระถั๋งซำจัง (เสวี้ยนจาง) เคยใช้เมื่อบันทึกถึงสภาพการณ์ พฤติกรรม การปฏิบัติของพระสงฆ์ พุทธศาสนาสมัยพระเจ้าหรรษวัฒนะ ช่วงท่านเดินทางไปยังอินเดี ว่า มหายาน-สถวีระ และ หีนยาน-สถวีระ ซึ่งหมายถึงพระสงฆ์ที่แม้จะอยู่อารามเดียวกันแต่ก็มุ่งเน้นปฏิบัติและเป้าหมายต่างกัน พร้อมกล่าวถึงพระสงฆ์ที่มหาวิหารและอภัยคีรีวิหารที่ศรีลังกา
คำดังกล่าวยังปรากฎจารึกที่ลพบุรีสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ที่เกี่ยวถึงพระสงฆ์นักบวช โดยเฉพาะอรัณยกะ อิทธิพลจากอภัยคีรีวิหารกับมหาวิหารที่อยู่กันรอบเมือง มีอาวาส/อาราม เรียกว่า ตโปวนาวาสหรือตโปวนาราม
ในจารึกกล่าวถึง พระมหายาน-สถวีระ แต่หมายถึงพระสงฆ์ที่สังกัดทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท ทำให้เกิดการผสมตันตรยานหรือวัชรยานกับเถรวาท เกิดเป็น ตันตริกเถรวาท หรือ วัชรเถรวาท คำนี้บ่งบอกถึงอิทธิพลตันตรยานที่มีต่อพระสงฆ์เถรวาทอุษาคเนย์ที่ยังคงปฏิบัติแนวปกปิด เป็นคุยหยาน มีคัมภีร์ปฏิบัติธรรมเป็นของตนเอง คือโบราณกัมมัฏฐาน เป็นคำที่ใช้อ้างถึงแนวทางปฏิบัติที่ลึกลับในพุทธศาสนาเถรวาทอุษาคเนย์เป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับเวทมนต์ คาถา พิธีกรรม บางครั้งเรียกว่า โยคาวจร เป็นพระพุทธศาสนาสายกระแสนิยมหลักก่อนเข้าสู่ยุคใหม่ ในลาว กัมพูชา ไทย พม่า ทางใต้เวียดนาม ผืนแผ่นดินใหญ่อาเซียน
พุทธศาสนานิกายหรือกระแสธรรมที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดตันตริกเถรวาท คือ สำนักนิกายอภัยคีรีวิหารในลังกาสำนักนี้ได้เคยเปิดรับมหายาน ตันตรยานหรือวัชรยานและมีอิทธิพลต่ออุษาคเนย์พร้อมการเผยแพร่ไปที่ชวา ทวารวดี ศรีเทพ ศรีจนาศะ ภาคอีสาณีตอนเหนือแถบแม่น้ำโขงและเขมรก่อนและสมัยพระนคร
นอกจากนี้ยังมีพุทธศาสนานิกายอารี แม้ในพม่ารับอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาทจากมอญ ซึ่งมอญรับจากอินเดียใต้ ขณะพม่าที่รับอิทธิพลตันตรยานจากอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมทางใต้ของจีน รวมทั้งการบูชาศาสนาพื้นถิ่น การบูชานัตและบูชานาค อีกปัจจัยที่ก่อเกิดตันตริกเถรวาทในอุษาคเนย์เกิดจากฮินดู มหายานตันตรยานสมัยเขมรโบราณยุคพระนครด้วย
จะเห็นได้ว่า ในล้านนา อิทธิพลตันตริกเถรวาทเข้มข้น เช่น หลาบเงิน (แผ่นจารึกทำด้วยเงิน) มีอักษรจารึกธรรมมณีมนต์ (ธารณีมนต์) ที่อำเภอเชียงแสน จ. เชียงราย มันต์ดังกล่าวน่าจะเป็นของมหายานมันตรยาน มีบันทึกว่า ในสมัยพญากือนากษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย มีเถระนามว่า จันทเถระได้ขึ้นไปประกอบพิธีสาธยายมนต์ชื่อ มหาโยคีมันรปะราทะ บนดอยสุเทพเพื่อเพิ่มพูนปัญญาของตน และยังพบตุงกระด้างอยู่ทั่วไปในล้านนา อิงความเชื่อเรื่องไสยต่างๆ เช่น การสะเดาะเคราะห์ การไล่ผีสิงตัวผู้ป่วย (สูตรก๋วม/สวดครอบ และการสืบชะตาเมือง เมื่อบ้านเมืองเกิดภัยพิบัติหรือข้าวยากหมากแพงเป็นต้น
ยุคเบ่งบาน
จารึกตันตริกเถรวาทย้อนไปถึงสุโขทัย คศ.ต.ที่ 16 จึงสามารถกล่าวได้ว่ามีเป็นการปฏิบัติที่เก่ากว่ารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานในโลกพุทธศาสนาเถรวาทปัจจุบัน คัมภีร์สำคัญ ประกอบด้วย -คาถารัตนมาลา -กัมมฐานโบราณ และกรรมฐาน 40 ห้อง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เกิดมีแนวคิดโยคาจาร ในคศต.ที่ 18 (Yogāvacara (18th century) สมัยร. 1 พระองค์อาราธนาสมเด็จสุกไก่เถื่อน มาเป็นพระอาจารย์ผู้นำด้านกรรมฐาน และต่อมาแต่งตั้งเป็นสังฆราช สมัยร. 2 ปี คศ 1820
แม้แต่ใน ในศรีลังกา การฟื้นฟูสายกรรมฐาน ปี ราวคศ. 1750 ทำให้แนวปฏิบัติและตำราแนว โยคาวจร แพร่หลาย จากพระไทยสมัยอยุธยา มีคู่มือโยคาวจร
พระสงฆ์นิกายสยามวงศ์ ถือตามแนวทางโยคาวจร และสร้างวัดหลายแห่งรอบเมืองแคนดี้ จนกระทั่งปี 1970 การปฏิบัติสายโดยคาวจร เช่น การบริกรรม (ทวนเร็วๆ) อรหัง ยังมีบันทึกในศรีลังกา
ยุคอัปแสงด้านราชสำนัก
เมื่อถึง คศตที่ 19 เริ่มมีการปฏิรูปพุทธศาสนาใหม่จนนำไปสู่ยุคเสื่อมของสายตันตริกเถรวาท /คุยหยาน โดยเฉพาะการสถาปนานิกายธรรมยุตขึ้นโดยสมัย ร. 4 (ค.ศ. 1851–1868) กรุงรัตนโกสินทร์ หากแต่เริ่มมา ปีค.ศ. 1833 และนำไปเผยแผ่นิกายใหม่ ยังกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐอารักขาของสยามอยู่
การตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นนั้น ร.4 มุ่งใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นหลักให้พระสงฆ์ปฏิบัติและยึดถือ ภาษาบาลีแทน พยายามกฎจัดศาสนาที่อิงไสยเวทและเป็นท้องถิ่น ประเพณียึดตามคัมภีร์นี้ถือปฏิบัติตามการปฏิรูปของลังกาวงศ์ฝ่ายมหาวิหาร (ปฏิรูปใหญ่สมัย คศต.ที่ 12 ) ใช้ผลงานของพุทธโฆสาจารย์ ตีความตัวบทสืบการมา จนมองการปฏิบัติพุทธแบบอื่นเป็นสิ่งไม่ได้มาดั้งเดิมตามตัวบท การปฏิรูปนี้เองทำให้ปฏิบัติตามพระวินัยสงฆ์เคร่งครัด และนำไปสู่ความเสื่อมถอยของการปฏิบัติและการผลิตตำราหรือคัมภีร์ที่ไม่สอดคล้องกับคณะธรรมยุต เช่นเดียวกันในกัมพูชา สมัยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ก็ใช้นโยบายปราบปรามพุทธศาสนาในกัมพูชาก่อนการปฏิรูปก่อนนี้ แต่กระนั้นการปฏิบัติของพวกเดิมตันตริกเถรวาทก็ยังถือปฏิบัติในชนบทพื้นที่ห่างไกลการปฏิรูป
คศค. 20-21 (Legacy 20th-21st century) เกิดการปราบปรามขนานใหญ่มีการกำจัดศาสนาพุทธพร้อมพระสงฆ์สายตันตริกเถรวาทในกัมพูชาโดยกลุ่มเขมรแดง และการกีดกัน กดดันศาสนาภาพรวมจากพรรคคอมมิวนิสต์ เกิดผลกระทบอย่างหนักต่อแนวทางสายปฏิบัติตันตริกเถรวาทนี้
ปัจจุบัน
แม้เราจะไม่มีการเรียกสายปฏิบัตินี้แล้ว แต่ร่องรอยและการปฏิบัติก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ในบางสาย ซึ่งเป็นสายปฏิบัติที่ไม่อยู่ในการยอมรับของคณะสงฆ์อย่างเป็นทางการ ซึ่งยอมรับสายพอง-ยุบ หรือไม่ก็สายปฏิบัติพุทโธเป็นหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกัมมัฏฐานสายวัดราชสิทธาราม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติสมาธิจะไม่มีพัฒนาการหรือหยุดลง เพียงแต่เราจะยอมรับการปฏิบัติที่หลากหลายได้หรือไม่ อีกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือการสวดคาถาชินบัญชร แน่นอนว่านี่เป็นอิทธิพลของตันตริกเถรวาท เพราะการแต่งคาถาใช้แนวคิดที่ไม่ใช่เถรวาทจารีตแบบไทยเลย แต่ชาวพุทธไทยก็ยังเชื่ออยู่ ทั้งนี้ narrative ที่มาพร้อมกับคาถาชินบัญชรสำหรับผู้บริกรรม คือการนำสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต กล่าวโดยสรุปคือตันติกเถรวาทแม้จะลดความสำคัญไปตามบริบทสังคมแต่ก็ไม่เคยสูญหายไปจากสังคมเลย
เขียน: พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร.
เรียบเรียงและเผยแพร่ : พระอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : มุกรวี ฉิมพะเนาว์
บรรณาธิการ : พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร.
Connect with us, Connect the world.
#ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE
___
Facebook : Mcu Asean
Twitter : ascmcu
IG: ascmcu

Aphichet Somkamsri

Translate »