แผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025
ฉสรแา Click >>> https://image.mfa.go.th/mfa/0/OcXc7u4THG/เอกสาร/MPAC(1).pdfRead More
ฉสรแา Click >>> https://image.mfa.go.th/mfa/0/OcXc7u4THG/เอกสาร/MPAC(1).pdfRead More
คาดว่าในปลายปี พ.ศ.2566 องค์การยูเนสโก จะพิจารณาสงกรานต์ในประเทศไทย ให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ด้าน วธ.พร้อม เสนอ ” ผ้าขาวม้า ” เป็นมรดกภูมิปัญญาฯ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯ ครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการเสนอ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ลงมติเห็นชอบ ไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ดำเนินการเสนอเอกสารต่อองค์การยูเนสโก เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในปลายปี พ.ศ. 2566 โดยจะมีรายการ “ต้มยำกุ้ง” ที่ […]Read More
สิงคโปร์เห็นว่า พลังงานจากไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อมีการเผาไหม้ จึงมีศักยภาพที่จะเป็นพลังงานทดแทนแห่งอนาคต แม้จะยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มลงทุนในด้านการพัฒนาพลังงานจากไฮโดรเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสิงคโปร์ คาดว่า จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจนได้ครึ่งหนึ่งของความต้องการภายในประเทศภายในปี 2593 ทั้งนี้ นาย Wong ได้ประกาศยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนแห่งชาติ เพื่อเป็นหนทางไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มความยั่งยืนในอนาคต และความร่วมมือในระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ (1) การศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้พลังงานจากไฮโดรเจนในวงกว้าง เช่น แอมโมเนีย ที่เป็นพาหะพลังงานของไฮโดรเจน สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้กับภาคการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทางทะเล ทั้งนี้ สิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มผลิตและใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงในปี 2570 (2) การเพิ่มการลงทุน 2 เท่าในโครงการวิจัยและพัฒนาไฮโดรเจน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการนำเข้า การจัดการ และการใช้ไฮโดรเจนอย่างปลอดภัย โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ประสานงานกลางระหว่างภาคอุตสาหกรรมและนักวิจัย เพื่อพัฒนาผลจากการศึกษาและวิจัยให้เป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริ (3) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับต่างประเทศที่มีเป้าหมายและแนวคิดใกล้เคียงกัน อาทิ การสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานและความหลากหลายในการนำเข้าไฮโดรเจนของสิงคโปร์ (4) การศึกษาเงื่อนไขของพื้นที่และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฮโดรเจนใหม่ใน สิงคโปร์ ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังสูง เนื่องจากสิงคโปร์มีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น (5) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและแรงงานให้พร้อมต่อการใช้ระบบไฮโดรเจนขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีงานประเภทใหม่ ๆ เช่น การซื้อ ขาย และจัดเก็บไฮโดรเจน และการตรวจสอบ/รับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอน เป็นต้น นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีแผนการขยายแผนการเงินสีเขียวและเขตพลังงาน โดยประเมินว่า […]Read More
นาย Anthony Loke Siew Fook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซียเปิดเผยว่า มาเลเซียตั้งเป้าที่จะดึงดูดการลงทุนจากบรรดาบริษัทจากจีนให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในวงกว้าง . อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับมาเลเซีย แต่รัฐบาลก็พยายามที่จะก้าวข้ามด้วยการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมด้วยเทคโนโลยีในด้านนี้ เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศ . นาย Loke Siew Fook อธิบายเพิ่มเติมว่า รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นเทรนด์สำคัญที่จะกำหนดรูปแบบของทั้งระบบการขนส่งสาธารณะและการเดินทางด้วยรถส่วนตัว และมาเลเซียต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับกระแสความนิยมนี้ โดยนโยบายอุตสาหกรรมของมาเลเซียนั้นต้องการที่จะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า ย้ายฐานการผลิตมายังมาเลเซียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตแบตเตอรี่ ที่มีการนำเสนอสิ่งจูงใจต่างๆ อีกทั้งยังมีบริษัทจากจีนจำนวนมากที่ให้ความสนใจลงทุนในมาเลเซีย ทั้งในรูปแบบของการตั้งโรงงานและอื่นๆ อีกมากมาย . นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงความยั่งยืน รวมถึงให้ความสำคัญกับการบูรณาการและการเชื่อมต่อระหว่างกันกับแผนขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคการขนส่ง ที่จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น . ทั้งนี้ มาเลเซียมีโครงการมากมายที่อยู่ระหว่างเตรียมการ แต่คำถามก็คือ จะเชื่อมโยงโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่มองภาคการขนส่งเป็นแค่การลำเลียงจากจุด A ไปยังจุด B แต่มองถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่จะต้องสร้างคุณค่าต่อการพัฒนาให้กับภูมิภาคและพื้นที่ที่มีเครือข่ายการขนส่งครอบคลุมด้วย ที่มา AEC ConnectRead More
นาย Say Samal รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า กัมพูชาเป็นชาติแรกในกลุ่มอาเซียนที่วางกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านเป้าหมายปี 2593 ของกัมพูชา . ซึ่ง Samal ระบุว่าประมาณ 2.3% ของ GDP ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การปกป้องผืนป่า และเพื่อเตรียมการสำหรับกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน . โดยกัมพูชาเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับแผนงานดังกล่าวต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เกี่ยวกับมาตรการที่จะริเริ่มเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (LTS4CN) . นอกจากนี้ Neth Pheaktra โฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมยังกล่าวว่า ระบบคาร์บอนเครดิตยังเป็นประโยชน์ต่อกัมพูชา จากการปกป้องผืนป่าผ่านการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การปศุสัตว์ และการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ประกอบกับจะได้รับประโยชน์ในระยะสั้นจากการค้าในตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ ส่วนในระยะยาวจะมาจากการจ่ายชำระตามผลการดําเนินการภายใต้ UNFCCC ที่มา AEC ConnectRead More
Just in: วันที่ 5 มกราคม 2566 บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา นำโดยพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ,รองผู้อำนวยการและรักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหารศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมเจริญพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยมีพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร., อธิการบดี เป็นประธาน ณ อาคารวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More
นาย Pan Sorasak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ได้ขอให้บรรดานักธุรกิจและนักลงทุนจากสหภาพยุโรปมุ่งเป้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยได้กล่าวระหว่างการประชุมสุดยอดทางธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดร่วมกันระหว่างสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน และบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ จากภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ว่าอาเซียนและสหภาพยุโรปได้ร่วมมือกันมาอย่างยาวนาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างและขยายความสัมพันธ์ระหว่างสองประชาคมในทุกแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าและการทำธุรกิจ . ทั้งนี้ อาเซียนและสหภาพยุโรปรวมถึงประชาคมโลกโดยรวม ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 รวมถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังเพิ่มความท้าทายให้สูงขึ้นไปอีก . อย่างไรก็ตาม ด้วยความพยายามและความร่วมมือของภูมิภาคและกับบรรดาประเทศพันธมิตร ซึ่งรวมถึงสหภาพยุโรป ทำให้ทั้งสองภูมิภาคค่อยๆ เอาชนะภัยคุกคามระดับโลกและเริ่มที่จะฟื้นตัวได้ . นอกจากนี้ นาย Pan ยังเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนต่างๆ ในการเป็นพลังขับเคลื่อนส่งเสริมการดำเนินการตามกลไกที่กำหนดโดยรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ และในนามของรัฐบาลกัมพูชา ตลอดจนการเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนปี 2565 เขาได้เรียกร้องให้บรรดานักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักธุรกิจและนักลงทุนจากยุโรป เลือกภูมิภาคอาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่มีศักยภาพ ที่มา: AEC ConnectRead More
ขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าพิเศษที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็นจำนวน 25 ตู้ บรรจุกล้วยสดจำนวน 500 ตันออกจากสถานีเวียงจันทน์ ใน สปป. ลาว ไปในวันพุธที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา . โดยรถไฟดังกล่าวได้เดินทางข้ามภูเขาและแม่น้ำไปทางตอนเหนือตามเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ไปยังเมืองฉางชา เมืองหลวงของมณฑลหูหนาน ทางตอนใต้ของจีน . อย่างไรก็ดี นี่เป็นรถไฟขนกล้วยขบวนแรกที่เดินทางตรงไปยังเมืองใดเมืองหนึ่งของจีน นับตั้งแต่มีการเปิดใช้รถไฟจีน-ลาวในปีที่ผ่านมา และยังเป็นรถไฟเปิดตัวของโครงการ One Way, Two Parks ระหว่างรัฐบาลมณฑลหูหนานและ สปป. ลาว อีกด้วย . ซึ่งในต้นปีที่ผ่านมา มณฑลหูหนานและกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของ สปป. ลาว ได้ลงนาม MOU ร่วมกันเพื่อสร้างโครงการ One Way, Two Parks ดังกล่าวข้างต้น . โดยภายใต้โครงการนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว เป็นช่องทางในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการเกษตรระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างมณฑลหูหนานและ สปป. ลาว ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างสวนอุตสาหกรรมการเกษตรยุคใหม่ในเมืองหลวงเวียงจันทน์ของ […]Read More
จากบทความที่เผยแพร่ลงใน vietnam-briefing.com ระบุว่า การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน, บรรยากาศการค้าขาย และค่าจ้างในอัตราที่แข่งขันได้ เป็น 3 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่อง และตัวเลขการเติบโตเป็นไปในเชิงบวก . 1. การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เวียดนามใช้จ่ายประมาณ 6% ของ GDP ไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และในบรรดาค่าใช้จ่ายเหล่านั้นคือ การก่อสร้างโครงการยักษ์ใหญ่ เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างนครโฮจิมินห์-กรุงฮานอย ที่มีความยาว 1,800 กิโลเมตร, สนามบินนานาชาติล็องถั่ญ ซึ่งในที่สุดจะมาแทนที่สนามบินนานาชาติเติ่นเซินเญิ้ต ในนครโฮจิมินห์ ซึ่งแออัดมากเกินไป และโครงการรถไฟฟ้าในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังงานจากขยะ . 2. บรรยากาศการค้าขาย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามมีความกระตือรือร้นในการลงนามข้อตกลงการค้าทวิภาคีหลายฉบับกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการเป็นสมาชิกของอาเซียน ยังทำให้เวียดนามกลายเป็นภาคีของบรรดาข้อตกลงการค้าเสรีที่กลุ่มภูมิภาคได้ลงนามอีกด้วย การรับรองมาตรฐานคุณภาพสินค้า การผลิต และสิทธิของพนักงานในข้อตกลงเหล่านี้ จะทำให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและสามารถขยายฐานการส่งออกได้ ตัวอย่างเช่น ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ได้กระตุ้นการส่งออกของเวียดนาม แม้จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปี 2564 รวมถึงความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่าง […]Read More
Samsung และ LG บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ วางแผนที่จะลงทุนในเวียดนามเพิ่มเติมเป็นมูลค่ากว่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ Samsung จะลดการผลิตสมาร์ตโฟนในเวียดนามลง 2 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกลดลง . Samsung Electronics ซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม จะลงทุนเพิ่มอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งหมดเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง Samsung ผลิตสมาร์ตโฟนกว่าครึ่งหนึ่งในเวียดนามมาเป็นระยะเวลาหลายปี และกินสัดส่วนเกือบ 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ . สำนักข่าว Vietnam News รายงานหลังการประชุมระหว่างประธานาธิบดี เหวียน ซวน ฟุก และนาย Han Jong-hee ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Samsung ในวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ณ ประเทศเกาหลีใต้ว่า การลงทุนเพิ่มเติมนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้เวียดนามในฐานะ ‘แหล่งการผลิตหลัก’ ของ Samsung . นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังกล่าวในแถลงการณ์ว่า […]Read More