Daily Archives: June 24, 2018

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม

2018-06-24T10:44:22+00:00

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ที่ในสมัยหนึ่ง คนในเขต อำเภอเมือง ของ จังหวัดนครพนม บอกตัวเองว่า เป็นคนไทใหญ่  เพราะคนทั้งหมู่บ้านตั้งแต่ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ก็บอกว่าเขาอพยพเดินทางมาจากพม่า ลงมาตามแม่นำโขง ตั้งถิ่นฐานแถบเมืองลาว ระยะหนึ่งก่อนจะเข้ามาอยู่เมืองไทย ชาวบ้านในหมู่บ้านที่นครพนม เขาก็เชื่อว่าเขาคือคนไทใหญ่ เมื่อมาอ่านเวปไซค์ และ ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ ทำให้เชื่อสนิทใจว่า พี่น้อง ใน บ้านฟึ่ง บ้านหนองบัว ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม ที่นับถือผีบรรพบุรุษ "เจ้าผ้าขาว" เป็นชาวไทใหญ่ จริง อยากให้พี่น้องชาวไทใหญ่ ไปสืบข่าวดูนะ การล่มสลายของอาณาจักกรน่านเจ้านั้น ทำให้ชนชาติไตต้องถอยร่นลงไปทางใต้ และ ทิศตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง ประกอบด้วย หลายกลุ่ม กลุ่มไตอ่อน กลุ่มนี้อพยพลงไปทางตอนใต้ ได้สร้างเมืองพะยาว (พูกามยาว)ขึ้นก่อน หลังจากนั้นก็ได้สร้างอาณาจักรเงินยางเชียงแสน บางกลุ่มกระจายไปสร้างอาณาจักรโคตรบูรณ์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองนครพนม อีกพวกหนึ่งได้สร้างเมืองหลวงสึ่งเคอไต หรือ กรุงสุโขทัย ขึ้น ในช่วงที่ขุนรามคำแหง สร้างอาณาจักรสึ่งเคอไต นี่เอง ไตพวกที่สร้างเมืองเชียงรายคือพ่อขุนเมงราย กับพ่อขุนงำเมือง ได้เชิญพ่อขุนรามคำแหง มาร่วมหาทำเลสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา จนกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา

ไทใหญ่ ที่ จังหวัดนครพนม2018-06-24T10:44:22+00:00

เยาวชนมอญร้อง ดอว์ซูจี ยกเลิกใช้คำนำหน้าภาษาพม่านำชื่อชาวมอญ อ้างเพื่อให้เกียรติคนชาติพันธุ์

2020-10-08T15:48:21+00:00

ระหว่างที่นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐได้เดินทางไปเยือนรัฐมอญ เพื่อพูดคุยหัวข้อประเด็นการเจรจาสันติภาพ ได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเยาวชนมอญและประชาชนชาวมอญที่มหาวิทยาลัยมะละแหม่ง รัฐมอญ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ ทางกลุ่มเยาวชนมอญได้ร้องขอให้นางอองซาน ซูจี พิจารณายกเลิกนำภาษาพม่า เช่น อู และ ดอว์ เป็นต้น ซึ่งมีความหมายว่า อาหรือลุง และน้าหรือป้า นำหน้าชื่อภาษามอญในเอกสารที่ทางราชการออกให้ โดยเยาวชนอ้างเป็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่ไม่ได้รับการแก้ไข้มาเป็นเวลานาน เราต้องการที่จะให้ใช้คำว่า “Mi” นำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงชาวมอญ และ”Mehm” ใช้แทนเด็กผู้ชาย นี่เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรา เมื่อเราไปสำนักงานทะเบียนแห่งชาติ ก็เกิดความขัดแย้งเพราะเจ้าหน้าที่ทำเหมือนเป็นเรื่องปกติ มีหง่วยเล จากมูลนิธิ Cetana Development Foundation กล่าว โดย มีหง่วยเล ยังอธิบายเพิ่มเติมโดยยกตัวอย่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอย่าง นางมี ลาวี ห่าน ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2015 ที่คณะกรรมการเลือกตั้งขอให้ผู้สมัครรายนี้ต้องใช้คำว่า “ดอว์” ในภาษาพม่า นำหน้าชื่อของเธอ ซึ่งเป็นชื่อภาษามอญ โดย มีหง่วยเล ได้ร้องขอให้นางอองซาน ซูจี ป้องกันอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก อย่างไรก็ตาม นางซูจีได้อธิบายแย้งว่า คนทั่วไปไม่ทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรมมอญ โดยเชื่อว่า ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะโจมตีวัฒนธรรมมอญ “พวกเขาพูดตามที่พวกเขาเข้าใจ บางคนเรียกรัฐมนตรีกระทรวงฝ่ายชาติพันธุ์ว่า อูหน่ายเท็ตลิน นั่นเป็นวิธีแสดงออกถึงความเคารพ ไม่ได้ต้องการให้เขาอับอายแต่อย่างใด” นางซูจี ยังกล่าวว่า คนมอญสามารถบอกไม่ต้องใส่คำนำหน้าเป็นภาษาพม่าในการเขียนทั่วๆ ไปได้ แต่หากเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางการกำหนดไว้ ส่วนนายอูเอมิ้นโก่ รองเลขาธิการกระทรวงฝ่ายชาติพันธุ์เผยว่า ทางกระทรวงแรงงาน การอพยพและประชากรได้จัดทำคู่มือแนะนำวิธีเขียนชื่อของคนกลุ่มชาติพันธุ์เอาไว้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คนกลุ่มชาติพันธุ์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความรู้สึกว่า พวกเขาถูกยัดเยียดความเป็นพม่าให้เมื่อต้องใส่คำนำหน้าภาษาพม่าอย่างคำว่า อูและดอว์ ที่มา Mon News Agency แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ สำนักข่าวชายขอบ : http://transbordernews.in.th/home/?p=19124 .

เยาวชนมอญร้อง ดอว์ซูจี ยกเลิกใช้คำนำหน้าภาษาพม่านำชื่อชาวมอญ อ้างเพื่อให้เกียรติคนชาติพันธุ์2020-10-08T15:48:21+00:00

การตีกลองก้นยาวก้าลาย ในสมัยก่อน

2018-06-24T10:36:25+00:00

การตีกลองก้นยาวก้าลาย ในสมัยก่อน จะใช้คนตี มอง (ฆ้อง)ยืนเรียงแถว ไม่เหมือนสมัยใหม่ ที่ใช้คานหาม แต่ของพี่น้องชาติพันธ์ปะโอยังคงใช้คนยืนเรียงแถวตีอยู่นะ แต่ของชาติพันธ์ไตเราหาดูยากแล้วละ นานๆจะเห็นสักครั้ง เป็นภาพที่เก่าแก่หาดูได้ยากสักหน่อยครับ แต่มีเสน่ห์จัง

การตีกลองก้นยาวก้าลาย ในสมัยก่อน2018-06-24T10:36:25+00:00

เมืองลางเคอ รัฐฉาน ฤดูร้อนจะร้อนกว่าเมืองอื่นๆในรัฐฉาน

2018-06-24T10:26:43+00:00

เมืองลางเคอ รัฐฉาน ฤดูร้อนจะร้อนกว่าเมืองอื่นๆในรัฐฉาน แต่ฤดูฝนวิวสวยๆก็มีมากมาย มนเสน่ห์ของเมืองนี้คือเป็นเมืองเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นถั่วเน่า งาดำ ยาเส้น ชากเก และอื่นๆอีกมากมาย สินค้าสมัยก่อนคนหนุ่มสาวจะแบกหามหรือใส่หลังม้ามาขายที่เมืองแม่ฮ่องสอนของไทย โดยการเดินทางแบบค้างคืนในป่า ต้องพกข้าวสาร อาหาร น้ำมาเอง โดยใช้เวลาเดินทางโดยเท้าประมาณ 3-4 วัน แต่ปัจจุบันจากแม่ฮ่องสอนไปลางเคอใช้เวลาเดินทาง 5-6 ชม.ก็ถึงแล้วโดยมีถนนลาดยางบางพื้นที่ในตะวันออกแม่น้ำสาละวิน แต่ฝั่งตะวันตกเป็นถนนลาดยางทั้งหมด  

เมืองลางเคอ รัฐฉาน ฤดูร้อนจะร้อนกว่าเมืองอื่นๆในรัฐฉาน2018-06-24T10:26:43+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง

2018-06-24T10:21:31+00:00

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมืองได้แก่ 1. ประตูป่าแดง 2. ประตูเชียงลาน 3. ประตูง่ามฟ้า 4. ประตูหนองผา 5. ประตูแจ่งเมือง 6. ประตูยางคำ 7. ประตูหนองเหล็ก 8. ประตูน้ำบ่ออ้อย 9. ประตูยาง 10. ประตูไก่ให้ม่าน 11. ประตูผายั้ง 12. ประตูป่าม่าน ** แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 ประตูครับคือ ประตูป่าแดง และประตูหนองผา

จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานอดีดมีทางเข้าเมืองอยู่ 12 ประตูเมือง2018-06-24T10:21:31+00:00

Top 10 Southeast ASIAN Airline Group Ranked by Fleet Size (as of January 2018)

2018-06-24T10:05:31+00:00

Lion Air overtook Garuda Indonesia (GA) and Singapore Airlines (SIA) in 2014 to gain the distinction of having Southeast Asia’s largest airline fleet. GA and SIA have since held the number two and three positions. . AirAsia is poised to overtake Garuda and Singapore Airlines in 2018 to become Southeast Asia’s second largest airline group by fleet size, after Lion. . Lion has just signed a deal to purchase 50 Boeing 737 Max 10, to maintain its margin. Lion will remain the largest airline group in Southeast Asia by a relatively wide margin – even when AirAsia X and AirAsia are [...]

Top 10 Southeast ASIAN Airline Group Ranked by Fleet Size (as of January 2018)2018-06-24T10:05:31+00:00

งานเทศกาลผ่องต่ออู 

2018-06-24T10:02:13+00:00

ครั้งหนึ่งในชีวิต!!! ร่วมงานเทศกาลผ่องต่ออู งานเทศกาลออกพรรษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพม่า ชมพิธีแห่พระบัวเข็มทางน้ำ และ การแข่งพายเรือด้วยเท้า ประสบการณ์ที่จะประทับใจไม่มีวันลืม  

งานเทศกาลผ่องต่ออู 2018-06-24T10:02:13+00:00

ตำนาน “เจดีย์วัดสามปลื้ม” เจดีย์โบราณกลางถนน!!

2018-06-24T09:54:02+00:00

ตำนาน “เจดีย์วัดสามปลื้ม” เจดีย์โบราณกลางถนน!! “เจดีย์นักเลง” จ.พระนครศรีอยุธยา หรือ “เจดีย์วัดสามปลื้ม” เจดีย์ขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านบนเกาะ วงเวียนกลางถนน จนเป็นที่น่าแปลกประหลาดแก่คนต่างถิ่นว่าเหตุใด จึงมีเจดีย์มาตั้งอยู่ตรงนี้ เพราะซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นวัด ชื่อว่า วัดสามปลื้ม มาก่อนในสมัยโบราณ ปัจจุบันเจดีย์วัดสามปลื้มเหลือเพียงองค์เจดีย์ตั้งอยู่ตามลำพัง ส่วนอื่นๆของวัดสามปลื้มถูกทำลายไปหมดแล้ว เจดีย์วัดสามปลื้มเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น กรมศิลปากรบูรณะเจดีย์องค์นี้ไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และคงลักษณะสำคัญโดยรวมเอาไว้ เจดีย์นักเลงที่วัดสามปลื้ม ตั้งอยู่กลางวงเวียนทางเข้าเมืองด้านทิศตะวันออก ก่อนขึ้นสะพานปรีดี-ธำรง และสะพานนเรศวร ข้ามแม่น้ำป่าสักมุ่งสู่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเจดีย์วัดสามปลื้มเหลือเพียงองค์เจดีย์ตั้งอยู่ตามลำพัง ส่วนอื่นๆของวัดสามปลื้มถูกทำลายไปหมดแล้ว ความสำคัญของเจดีย์วัดสามปลื้มนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าวัดสามปลื้มสร้างในสมัยใด ส่วนตัวเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบันก็เหลือเพียงเจดีย์ทรงกลม ฐานแปดเหลี่ยม ก่ออิฐไม่สอปูน ซึ่งเป็นแบบเจดีย์สมัยอโยธยา คาดว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเรื่องเล่าต่อๆ กันว่าเจดีย์วัดสามปลื้มสร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยมารดาของเจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาปาน (ปาน) เป็นแม่นมของพระนารายณ์มหาราช เรียกกันว่าเจ้าแม่ดุสิต (บัว) ดีใจที่ลูกชายไปรบแล้วชนะศึกสงคราม ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง จึงสร้างเจดีย์วัดสามปลื้มขึ้น โดยเจดีย์วัดสามปลื้มเคยได้รับการบูรณะครั้งหนึ่ง สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี ๒๔๘๖ (โกษาธิบดีปาน) (โกษาธิบดีเหล็ก) ปัจจุบันตัววัดนั้นไม่มีให้เห็นแล้ว สิ่งที่ยืนยันได้ว่าอาณาบริเวณแถบนี้คือวัดคือ”เจดีย์วัดสามปลื้ม” เนื่องจากเมื่อความเจริญคืบคลานเข้ามา มีการสร้างถนนเข้ามาในพระนครศรีอยุธยา จึงได้ตัดผ่าเข้ามากลางพื้นที่ของวัดโบราณ ไม่ว่าจะเป็นวัดแม่นางปลื้ม วัดแม่ย่า ฯลฯ ล้วนถูกทำลายซากโบราณสถานต่างๆ ย่อยยับ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อมีการตัดถนนผ่านตัวเมืองแรกๆ มีความต้องการตัดผ่านตัวเจดีย์จึงจำเป็นต้องรื้อถอนเจดีย์นี้ออก และสร้างถนนทับ แต่ว่าได้มีกลุ่มนักเลงไม่ยอม มีการคัดค้านการรื้อถอนของเจดีย์นี้ สุดท้ายการก่อสร้างจึงจำเป็นต้องตัดถนนอ้อมตัวเจดีย์ ชาวบ้านบางส่วนจึงขนานกันว่า “เจดีย์นักเลง” เจดีย์ที่ตั้งตระหง่านไม่หลบให้ถนน ซึ่งเป็นซากแห่งรอยอารยธรรมที่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองถึงขีดสุดของมหานครนามว่า…อโยธยาศรีรามเทพนคร ขอบคุณข้อมูลจาก นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม ขอบคุณที่มาจาก partiharn จุดประสงค์เผยแพร่เพื่อการศึกษาอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์

ตำนาน “เจดีย์วัดสามปลื้ม” เจดีย์โบราณกลางถนน!!2018-06-24T09:54:02+00:00
Go to Top