ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ‘มะพร้าว’ จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในจีน และถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างกว้างขวาง เช่น เค้ก กาแฟ หรือแม้แต่เมนูหม้อไฟ ซึ่งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับมะพร้าวหลายประเภทค่อนข้างถูกปากผู้บริโภคชาวจีน จึงถือว่าเป็นโอกาสของบริษัทต่างๆ ในการเจาะเข้าตลาดนี้ . การไลฟ์สตรีมบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนเป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับพ่อค้าแม่ค้าผลไม้ที่ต้องการขยายช่องทางการขาย ซึ่งการขายมะพร้าวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนช่องทางออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะไม่ต้องเปิดมะพร้าวด้วยมีดแบบดั้งเดิม แต่มีเครื่องมือสำหรับเปิดที่ติดไว้บนตัวมะพร้าวแล้ว ทำให้การดื่มน้ำมะพร้าวมีความสะดวกสบายมากขึ้นในปัจจุบัน . Mo Jiaming รองผู้จัดการบริษัทการค้าแห่งหนึ่งในกว่างซีกล่าวว่า การนำเข้ามะพร้าวจากไทยรวมทั้งหมดคาดว่าจะมากกว่า 28,000 ตู้คอนเทนเนอร์ในปีนี้ และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ซึ่งเชื่อว่าปริมาณนำเข้าทั้งหมดจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติของศุลกากรจีนพบว่า ตั้งแต่มกราคมถึงกรกฎาคม 2565 จีนนำเข้ามะพร้าวจำนวน 566,000 ตัน เพิ่มขึ้น 35.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่ 418,000 ตัน โดยนำเข้ามาจากไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนที่ 48.6%, 32.5% และ 18.4% ตามลำดับ . ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความเชื่อมโยงระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International […]Read More
The National Geographic 1 ในนิตยสารที่มีคนอ่านมากที่สุดในโลก ได้เลือก สปป. ลาว ให้เป็น 1 ใน 25 จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวชั้นนำในปี 2566 โดย สปป. ลาว เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่มีชื่ออยู่ในการจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวและประสบการณ์ที่น่าตื่นตาที่สุดในปีหน้านี้ . ทั้งนี้ รายชื่อจุดหมายปลายทางที่โดดเด่นประจำปีถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ชุมชน ธรรมชาติ วัฒนธรรม ครอบครัว และการผจญภัย โดยในปีนี้ ได้มีการปรับหมวดหมู่ให้กว้างมากขึ้น เป็น ‘หมวดหมู่ชุมชน’ แทนที่ ‘หมวดหมู่ความยั่งยืน’ ซึ่ง สปป. ลาว ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ดังกล่าวนี้ด้วย ในฐานะเป็นสถานที่ที่มีการอนุรักษ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คน . นิตยสาร The National Geographic ระบุว่า สปป.ลาว ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องทิวทัศน์สีเขียวมรกตของแม่น้ำโขงตอนบน มีการเดินทางภายในประเทศเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเส้นทางรถไฟลาว-จีน เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งเชื่อมเมืองหลวงของ สปป. […]Read More
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ว่า สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียน เตรียมจะมอบนาฬิกาที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ จำนวน 25 เรือน เป็นของขวัญที่ระลึกให้แก่เหล่าผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง อย่างการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อีเอเอส) ที่จะมีประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา และนายหลี่่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เข้าร่วมด้วย ที่กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 นาฬิกาดังกล่าวเป็นนาฬิกากลไกตูร์บิยง ซึ่งโด่งดังในเรื่องระบบกลไกที่ซับซ้อนซึ่งสามารถมองเห็นความละเอียดอ่อนนั้นได้จากภายนอก ขณะที่หน้าปัดของนาฬิกามีสีเทาด้าน ซึ่งตกแต่งด้วยคำว่า “ASEAN Cambodia 2022” ซึ่งเป็นชื่อหลักของงานประชุมครั้งสำคัญนี้ ส่วนตัวเรือนของนาฬิกาจะเป็นสีเงินเงา ซึ่งสลักคำว่า “Made in Cambodia” สมเด็จฯ ฮุน เซน ผู้ซึ่งปกครองกัมพูชามาเป็นเวลาถึง 37 ปีและเป็นเซียนนาฬิกาหรูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กล่าวว่า นาฬิกาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กาเบรียล แทน […]Read More
นักลงทุนที่ถือสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์และบาทไทยอาจจะต้องเผชิญกับการขาดทุน หากเงินหยวนของจีน อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากที่จีนยังคงบังคับใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ . เงินดอลลาร์สิงคโปร์และบาทไทยได้ปรับตัวสูงสุดตามค่าเงินหยวนของตลาดต่างประเทศ (Offshore) ในตลาดเกิดใหม่แถบเอเชียเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ทั้งสองสกุลเงินดังกล่าวมีแนวโน้มถูกฉุดต่ำลงอีก หากเงินหยวนยังอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง . ขณะที่ ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ออกมาเคลื่อนไหวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยยุติการกำหนดเงินหยวนให้แข็งค่ามากกว่าการคาดการณ์ หลังจากที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ซึ่งทำให้บรรดานักลงทุนต่างคาดว่าจีนกำลังจะลดการพยุงค่าเงินหยวน . ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Onshore and Offshore) ปรับตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในทวีปเอเชีย หลังจากทางการจีนยังคงออกมาประกาศตลอดทั้งสัปดาห์ว่าจะยังคงยึดมั่นในการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ต่อไป . นอกจากนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ก็จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเช่นกัน ขณะที่การขาดแคลนนักท่องเที่ยวชาวจีนก็จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท เนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนมีสัดส่วนราว 20% ต่อเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 ที่มา: AEC ConnectRead More
ธนาคารกลางอินโดนีเซียกำลังพยายามที่จะลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐของประเทศ โดยวางแผนที่จะอนุญาตให้ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มีการส่งมอบเมื่อครบกำหนด (Non-Deliverable Forward Contracts: NDFs) ในสกุลเงินอื่นๆ ในปีหน้า และเพื่อบรรลุข้อตกลงเพิ่มเติมสำหรับการชำระสกุลเงินท้องถิ่นภายในประเทศ . หน่วยงานด้านการเงินกำลังเจรจาสัญญาชำระสกุลเงินท้องถิ่นกับเกาหลีใต้และออสเตรเลีย ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้มีการเจรจาสรุปข้อตกลงกับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ . Edi Susianto กรรมการบริหารฝ่ายการจัดการการเงินของธนาคารกลางกล่าวว่า แม้การเริ่มต้นลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นจะค่อนข้างใหม่ แต่ก็เห็นถึงความเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของการทำธุรกรรมชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น . นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีข้อตกลงกับไทย มาเลเซีย และญี่ปุ่น ในการเพิ่มจำนวนธุรกรรมที่ชำระด้วยสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐอยู่แล้ว ซึ่งเพิ่มจากมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปลายปี 2564 เป็น 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ธนาคารกลางระบุว่าธุรกรรมดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้ . อินโดนีเซียนับเป็นผู้สนับสนุนหลักในการใช้สกุลเงินท้องถิ่นสำหรับธุรกรรมการค้าและการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้การแปลงสกุลเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มความพร้อมของการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอีกด้วย ทั้งนี้ สาเหตุที่นโยบายดังกล่าวเร่งด่วนมากขึ้นเป็นเพราะค่าเงินรูเปียห์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีในปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา . อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินรูเปียห์ในครั้งนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เนื่องจากเศรษฐกิจอินโดนีเซียอยู่ในทิศทางเชิงบวกที่จะสามารถดึงดูดเงินทุนได้อย่างต่อเนื่องและช่วยให้เงินรูเปียห์กลับสู่มูลค่าพื้นฐานได้ ดังนั้นการแทรกแซงตลาดของธนาคารกลาง ควรอยู่ในระดับที่พอที่จะทำให้เงินรูเปียห์มีเสถียรภาพจนกว่าจะถึงตอนนั้น . ขณะที่ทุนสำรองต่างประเทศของอินโดนีเซียคาดว่าจะลดลงตลอดจนสิ้นปีนี้ แต่ก็จะสามารถครอบคลุมมูลค่าการนำเข้าระยะเวลามากกว่า 6 เดือนได้เพียงพอ โดยเงินสำรองอยู่ที่ […]Read More
สิงคโปร์และ สปป. ลาว เดินหน้ายกระดับความร่วมมือในพื้นที่ใหม่ๆ ด้านพลังงาน ด้านดิจิทัล ด้านความยั่งยืน และด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2567 . เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการลงนามและแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOUs) จำนวน 4 ฉบับ ระหว่าง 2 ประเทศที่ Istana สิงคโปร์ โดยมีนายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง แห่งสิงคโปร์ และนายกรัฐมนตรีพันคำ วิพาวัน แห่ง สปป. ลาว ซึ่งมาเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการครั้งแรกร่วมเป็นพยาน . MOU ด้านพลังงานครอบคลุมเรื่องการนำพลังงานสะอาดไปใช้ใน สปป. ลาว การพัฒนาเครือข่ายการจ่ายไฟ และการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าในระดับภูมิภาคเพื่อการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดน รวมถึงการพัฒนาระบบและกระบวนการในการวัด รายงาน และตรวจสอบพลังงานสะอาด โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมคนที่ 2 แห่งสิงคโปร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแห่ง สปป. ลาว เป็นผู้ลงนาม ซึ่ง MOU ดังกล่าวพัฒนามาจากความสำเร็จของการเริ่มโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว […]Read More
ท่าเรือท่องเที่ยวกัมปอต (Kampot) ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2561 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีนาย Aun Porn Moniroth รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนาย Sun Chanthol รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคม รวมถึงนาย Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชม . ท่าเรือดังกล่าวตั้งอยู่ริมน้ำ Dang Prek ในอำเภอตึกโชว ห่างจากตัวเมืองกัมปอตไป 6 กิโลเมตร บนพื้นที่กว่า 4 เฮกตาร์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อการท่องเที่ยวทางทะเลของกัมพูชากับบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน โดยเชื่อมต่อกับท่าเรือต่างๆ ในจังหวัดสีหนุวิลล์ เกาะกง เกาะรง รวมถึงฟูโกว๊ก ตลอดจนท่าเรืออื่นๆ ในเวียดนามและไทยได้อีกด้วย . จากรายงานระบุว่า โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นยังถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับท่าเทียบเรือของเรือสำราญและอาคารต่างๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งท่าเรือที่มีท่าเทียบเรือยาวกว่า 123 เมตร กว้างกว่า 11 เมตร, อาคารผู้โดยสารและร้านอาหาร, ถนน, สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเก็บขยะ, อาคารเทคนิค, ห้องน้ำสาธารณะ, […]Read More
รัฐบาล สปป. ลาว ให้คำมั่นว่าจะแก้ปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ โดยระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีพันคำ วิภาวัณห์ ได้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่หยุดการอ่อนค่าของสกุลเงินกีบและเพดานเงินเฟ้อที่สูงขึ้นถึง 30% ในเดือนที่ผ่านมา พร้อมสั่งให้รีบแก้ปัญหาหนี้สะสมที่เกิดจากรัฐวิสาหกิจอย่าง Lao State Fuel Enterprise และให้ปฏิรูปบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าของรัฐที่ประสบปัญหาอย่าง Electricite du Laos อีกด้วย . นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าแนวโน้มที่จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้กำลังมีมากขึ้นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ซึ่งรวมถึง สปป.ลาว และเมียนมาที่มีความเสี่ยงเหมือนกับที่ศรีลังกาไม่สามารถชำระหนี้ต่างประเทศเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้ โดย สปป. ลาว มีสถานะว่าจะผิดนัดชำระมากที่สุดเนื่องจากมีการกู้ยืมจากภายนอกสูง มีตั๋วเรียกเก็บสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น และสำรองเงินตราต่างประเทศที่กำลังลดลง . อย่างไรก็ดี Thippakone Chanthavongsa โฆษกรัฐบาลระบุว่า รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญผ่านโครงการพัฒนาที่ได้เงินลงทุนจากต่างประเทศเพื่อที่จะทำให้เกิดกระแสเงินสดไหลเข้า และยังให้คำมั่นว่าจะตรวจสอบการลงทุนให้เข้มงวดมากขึ้นด้วย . ขณะที่ สปป. ลาว ที่มีประชากรราว 7.5 ล้านคนกำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงกันอย่างกว้างขวางในปีนี้ ประกอบกับมูลค่าเงินกีบที่ลดลง จึงทำให้เกิดเป็นแรงกดดันหลักที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ โดยในเดือนที่ผ่านมา ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์และค่าบริการเดลิเวอรี่ใน สปป. ลาว เพิ่มขึ้นถึง 51.7% เมื่อเทียบแบบปีต่อปี […]Read More
นาย Guntur Subagja Mahardika ผู้ช่วยพิเศษของรองประธานาธิบดี ได้กล่าวในการประชุมนานาชาติว่าด้วยอินโดนีเซียและกิจการโลก RPI สมัยที่ 1 ว่า การที่อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ทางอาหารได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร . แม้ว่าจีน ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ จะเป็น 3 ประเทศที่มีพื้นที่ทำการเกษตรที่ใหญ่ที่สุด แต่อินโดนีเซียก็ยังคงเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากจีน อีกทั้งยังเป็นผู้เพาะปลูกปาล์มรายใหญ่ที่สุด ตามด้วยมาเลเซีย และไทย . Mahardika ได้กล่าวเสริมว่า อินโดนีเซียต้องภูมิใจในความสำเร็จของของการบรรลุความพอเพียงทางอาหาร ซึ่งน่าทึ่งมากเมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศขาดแคลนอาหารมานานหลายปี ขณะที่ ประเทศที่มีระบบการเกษตรที่แข็งแกร่ง เช่น ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ต่างแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ดีขึ้นเช่นกัน . ทั้งนี้ อินโดนีเซียถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 63 ในดัชนีความมั่นคงด้านอาหารโลกในปี 2565 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากอันดับ 69 เมื่อปีที่แล้ว โดย Mahardika มองว่า สิ่งนี้สร้างความหวังให้กับประเทศอย่างมาก เนื่องจากอันดับดังกล่าวแซงหน้าอินเดียไปแล้ว แม้ว่าอินเดียจะมีสถานะเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่และเป็นหนึ่งในผู้บริโภคที่สำคัญอีกด้วย […]Read More
ไทย-เวียดนาม กลายเป็นศูนย์กลางการค้าเหรียญคริปโตในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ขึ้นแซงแม้กระทั่งศูนย์กลางการเงินอย่างสิงคโปร์ ที่กำลังต่อสู้กับกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อควบคุมภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ . จากข้อมูลของ Chainalysis พบว่าทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณการซื้อ-ขายเหรียญคริปโตสูงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ ก.ค. 2564 – มิ.ย. 2565 เลยทีเดียว โดยมองว่าผู้ใช้ในประเทศชนชั้นกลางระดับต่ำและชนชั้นกลางระดับสูงมักพึ่งพาเหรียญคริปโตในการโอน เพื่อรักษาเงินออมไว้ในช่วงที่มีความผันผวนของสกุลเงินตรา และมีแนวโน้มที่จะใช้ Bitcoin และ Stablecoins มากกว่าประเทศอื่นๆ . โดยไทยมีมูลค่าธุรกรรมคริปโตสูงถึง 1.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐตลอดทั้งปี ขณะที่เวียดนามสูงถึง 1.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยสิงคโปร์ที่ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ . อย่างไรก็ดี Vijay Ayyar รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กรและการขยายสู่ระดับโลกของแพลตฟอร์มคริปโต Luno มองว่า ความเสี่ยงจากปัจจัยมหภาคอย่างเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอาจนำมาซึ่งภาวะถดถอยในอนาคตได้ ซึ่งมาจากราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลกจากการบุกรุกยูเครนของรัสเซียในปีนี้ และธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กำลังต่อสู้กับการควบคุมต้นทุนที่สูงขึ้นผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนต่างๆ เริ่มหลบหนีจากจุดที่เสี่ยงกว่าอย่างคริปโตออกไป . โดยจากตัวเลขของบริษัทบัญชี KPMG พบว่า เงินทุนคริปโตในสิงคโปร์ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าที่ออกในรายงานเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา อีกทั้งเงินลงทุนไหลเข้าของคริปโตยังลดลงเหลือ […]Read More