Aphichet Somkamsri

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ศูนย์อาเซียนศึกษาเชื่อมพันธมิตรนักวิชาการระดับโลกสู่การเป็น Hub การศึกษาพุทธศาสนาภูมิภาคอุษาคเนย์

พันธมิตรนักวิชาการระดับโลกสู่การเป็น Hub การศึกษาพุทธศาสนาภูมิภาคอุษาคเนย์ Dr. John Solt เป็นนักวิชาการอาวุโสจากมหาวิทยาลัยระดับโลก Harvard University เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญที่ผลงานวิชาการร่วมสมัยด้านวรรณกรรมพระพุทธศาสนาตะวันออก เชียวชาญด้านญี่ปุ่นศึกษา มีผลงานหนังสือและกวีนิพนธ์ที่โด่งดังมากมาย ท่านอาจารย์ Dr. John Solt จะร่วมเป็นอีกหนึ่งภาคีภายใต้ ASEAN-Buddhist Scholar Network ในนาม ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์อาเซียนศึกษา ขออนุโมทนาขอบคุณอาจารย์ Dr. John Solt เป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับศูนย์อาเซียนศึกษา มา ณ ที่นี้ Connect with us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ศูนย์อาเซียนศึกษาประสานนักวิชาการพุทธจัดตั้ง ASEAN-Buddhist Scholar Network

ASEAN-Buddhist Scholar Network อาจารย์ Khamvone Boulyaphone นักวิชาการจากสาธารัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเป็นนักวิชาการอีกท่านที่ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษา ขับเคลื่อนองค์ความรู้พระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภายใต้เครือข่ายการทำงานร่วมกันของ ASEAN-Buddhist Scholar Network อาจารย์ Khamvone Boulyaphone เป็นผู้อำนวยการสถาบัน the Buddhist Archives of Luang Prabang, Laos ที่เก็บฐานข้อมูลทางพระพุทธศาสนาตั้งเเต่ 1880s อาจารย์เป็นนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและวรรณกรรมที่มีผลงานโดดเด่นในระดับนานาชาติ ในนาม ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์อาเซียนศึกษา ขออนุโมทนาขอบคุณอาจารย์ Khamvone Boulyaphone เป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับศูนย์อาเซียนศึกษา มา ณ ที่นี้ ขออ้างเอาคุณพระศรีรัตนตรัย คุณความดีทั้งหลายในสากล จงอำนวยพรให้อาจารย์ตลอดทั้งครองครัว มิตรสหาย จงประสบความสุข ความจำเริญรุ่งเรือง ประกอบด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ตลอดไปเทอญ Connect with us, Connect […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ศูนย์อาเซียนศึกษาขยายเครือข่ายนักวิชาการระดับโลกสู่การเป็น Hub การศึกษาพุทธศาสนาภูมิภาคอุษาคเนย์

ด้วยพันธกิจสำคัญด้านการสร้างเครือข่ายและพหุภาคีในการสนับสนุนและส่งเสริมพระพุทธศาสนา ศูนย์อาเซียนศึกษาได้ยกระดับเครือข่ายนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก เพื่อเดินทางมาบรรยายแก่นิสิตและผู้สนใจ ณ มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศูนย์อาเซียนศึกษา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์ Trent Walker จากมหาวิทยาลัย Stanford University ได้ตอบรับเป็นเครือข่ายนักวิชาการอาเซียน (ASEAN-Buddhist Scholar Network) อาจารย์ Trent Walker มีผลงานวิชาการมากมาย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาในอุษาคเนย์ โดยเฉพาะวรรณกรรมพุทธศาสนา คัมภีร์โบราณ และยังเป็นผู้อำนวยการ Lead Scholar for the Khmer Manuscript Heritage Project ซึ่งรวบรวมคลังเอกสารดิจิทัลคัมภีร์โบราณของอุษาคเนย์มากว่า 1 ล้านฉบับ ทั้งนี้ เครือข่ายนักวิชาการอาเซียนจะทำงานขับเคลื่อนองค์ความรู้ วิจัย แลกเปลี่ยนงานวิชาการ ให้คำปรึกษา แนะนำการทำงานร่วมกันของศูนย์อาเซียนศึกษาเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาทุกมิติ โดยที่เป้าหมายของการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN-Buddhist Scholar Network จะเป็นการยกระดับความร่วมมือของศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมกับสถาบันวิชาการอื่น ๆ ในระดับภูมิภาคและสถาบันนานาชาติต่อไป ซึ่งเวทีประชุมนานาชาติ ASEAN-Buddhist Scholar Network กำหนดจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

นักวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษานำเสนอผลงานในเวทีประชุมมหาวิทยาลัย Nanhua University ไต้หวัน

พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร. นักวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมนำเสนอบทความวิชาการเรื่อง The Role of Nalanda Vihara University and its Contributions to Buddhist of Ancient ASEAN ซึ่งเป็นเวทีประชุมวิชาการระดับนานาชา่ติของมหาวิทยาลัย Nanhua University ไต้หวัน งานประชุมจัดขึ้นเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนภาคีนานาชาติระหว่าง ASEAN และประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้หัวข้อ “Ancient Civilization of Nalanda: Rebuilding the Light of Eminent Monks who travelled to the West” ในนามผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศูนย์อาเซียนศึกษา ขออนุโมทนาที่พระอาจารย์ มา ณ โอกาสนี้   Connect with Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

รก.ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษานำบุคลากรร่วมเจริญพุทธมนต์

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์-เจริญจิตภาวนา ประจำเดือนมีนาคม นำโดย พระธรรมวัชรบัณฑิต ,ศ.ดร. อธิการบดี พร้อมทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 29/2566 เข้าร่วมในครั้งนี้ ณ อาคารวิปัสสนาธุระ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา พRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

MCU-ASIAN Student กับ บทบาทที่พึ่งทางใจของผู้ใช้เเรงงานข้ามชาติ ASEAN : มหาจุฬาแหล่งปลูกฝังสันติธรรมนิสิตและการอยู่ร่วมกันทางกลางความหลากหลาย

วันที่ 5 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมกลุ่มชาติพันธ์นิสิต ASIAN ประกอบด้วย อารกัน พม่า ลาว เวียดนาม ไทใหญ่ ปะโอ กัมพูชา มอญและไทย จัดงานทำบุญวันมาฆบูชา อันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน โดยกลุ่มผู้ใช้เเรงงานข้ามชาติได้นิมนต์นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๕๐ รูป รับบิณฑบาตร และเจริญพุทธมนต์ โดยมี Rajukkattha Bhikkhu เป็นผู้ประสานงานจัดกิจกรรม ในการนี้ Bhikkhu Wannasiri เป็นผู้เเทนนิสิตแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “โอวาทปาฏิโมกข์กับสันติธรรม” แก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมงาน กิจกรรมดังกล่าวได้เเสดงถึงบทบาทของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมคุณธรรมและปัญญา สร้างความตระหนักถึงการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมด้วยกิจกรรมความร่วมมือของนิสิต ASIAN ในการสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ศูนย์อาเซียนศึษา ได้ร่วมกับนิสิตจัดกิจกรรมสอนหนังสือภาษาไทยภาษาอังกฤษและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่กลุ่มเเรงงานข้ามชาติ เพื่อให้กลุ่มเเรงงานพัฒนาความรู้เเละทักษะ สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของสังคม             Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ปิดกิจกรรมหลักสูตรวูฒิบัตร Inter-Cultural Communication ศูนย์อาเซียนนำร่องหลักสูตรใหม่ Global Englishes สร้างนิสิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก

ปิดกิจกรรมหลักสูตรวูฒิบัตร Inter-Cultural Communication ศูนย์อาเซียนนำร่องหลักสูตรใหม่ Global Englishes สร้างนิสิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก วันที่ 2 มีนาคม 2566 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. ,ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นประธานปิดกิจกรรมหลักสูตรวูฒิบัตร Inter-Cultural Communication ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมทั้งระบบ online และ onsite จำนวน 10 รูป/คน กิจกรรมดังกล่าวเป็น Pilot Project ที่นำทฤษฎีการสื่อสารภาษาอังกฤษแนวใหม่ที่เป็นเเนวโน้มใหม่ในการเรียนและการสอนภาษาอังกฤษตลอดถึงทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่เรียกว่า Global Englishes ซึ่งมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งในบริบทของเอเชียและพลวัตของโลกในอนาคต พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร. กล่าวว่า กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งจากผู้เข้าร่วมซึงศูนย์อาเซียนศึกษา ได้นำแนวคิดและมุ่งสร้างทักษะของนิสิตมหาจุฬาให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมและอบรมนั้นได้บูรณาการการเรียนการสอนผ่านมิติสังคมที่หลากหลายเพื่อให้เข้าใจความแตกต่างและสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ โดยในวันที่ 13 มีนาคมนี้ ผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะได้รับมอบวุฒิบัตรผู้ผ่านหลักสูตร ณ ศูนย์อาเซียนศึกษา Connect […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ASC-IBSC ประชุมเตรียมความพร้อมการประชุมพหุภาคีร่วมกับ UNDP

ASC-IBSC ประชุมเตรียมความพร้อมการประชุมพหุภาคีร่วมกับ UNDP พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร.,ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ประชุมร่วมกับผู้บริหารวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ โดยมี รศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและพระบารมี นนฺทธมฺโก , รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ร่วมประชุม เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดรายละเอียดและแนวทางการพัฒนาร่วมกับ UNDP ซึ่งกำหนดจัดการประชุม Cooperate Sustainability Meeting ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ ห้อง 401 สำนักงานอธิการบดี ในการนี้ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. ได้ประสานงานไปยังหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยตามคำสั่งมอบหมายของอธิการบดี เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าส่วนงานเข้าร่วมประชุมในโอกาสครั้งนี้ด้วย Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

VIP TALK II กับอาจารย์ปริญญาถึงอำนาจ โครงสร้างรัฐ ความเหลื่อมล้ำของคน -เมือง – ป่า และการเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรีเพื่อพิทักษ์ป่าและชีวิต

“อำนาจกับความรู้” ถ้ามีความรู้ก็นำไปสู่การควบคุม หากมีการควบคุมก็ต้องอาศัยความรู้แม้อำนาจกับความรู้จะเป็นอิสระต่อกัน แต่ต้องไปด้วยกันเสมอ (Power/Knowledge)อำนาจทำให้เรากลายเป็นวัตถุเพื่อการควบคุมตรวจตาและจ้องมองของอำนาจ แต่อีกด้านอำนาจทำให้เรากลายเป็นอัตตบุคคล ที่ต้องควบคุมตรวจสอบตัวเอง ไม่ให้ล้ำเกินไปจากเส้นแบ่งและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนด “ความเป็นปกติ” ของคนในสังคม Michel Foucault, 1984 1979 (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร,2560) เป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับสัปดาห์นี้ ที่ทางกองบรรณาธิการได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์ ปริญญา นิกรกุล อาจารย์ประจําภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถึงปัญหาที่เป็นปัญหาของรัฐไทยมาโดยตลอดและดูเหมือนว่าถึงจะผ่านเวลาไปนานเท่าใด ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ถูกสะสางเสียที สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นปัญหาจุดนี้คือความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเราอาจจะพูดได้ว่าเป็นความรุนแรงที่เกิดจากรัฐ บางพื้นที่ลุกลามจนก่อเกิดเเป็นอาชญากรรมที่เกิดจากผู้มีอำนาจในรัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ปัญหานี้ยิ่งตอกย้ำความบอบช้ำที่มีอยู่ให้หนักขึ้นไปกว่าเดิม บทความต้องการชี้ให้เห็นประเด็นที่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ของคนกับป่า ตัวเร้าปัญหาหนึ่งที่เด่นชัดคือระบบราชการ และความไม่ยุติธรรมทางโครงสร้าง จึงทำให้คนอยากที่จะเข้าถึงทรัพยพากรได้ โดยเฉราะคนชายขอบ เพราะพวกเขาโดนกระทำจากโครงสร้างที่อยุติธรรม ปัญหาระหว่างรัฐ คน ป่า อยู่ตรงไหนบ้างครับ เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นผมขอย้อนเวลาเพื่อสืบเสาะปฏิบัติการของรัฐสักเล็กน้อย ในเรื่องภาษีอากร สัมปทานป่าไม้ เครื่องมือรวมศูนย์อํานาจในล้านนา สู่กรุงเทพฯ (เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว 2564) เพื่อให้เราได้เห็น ภาพที่ชัดมากขึ้น เดิมทีล้านนามีระบบการจัดเก็บภาษีอากรของตนเองโดยที่สยามไม่เคยเข้าไปควบคุม แต่เมื่อ กรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงขึ้นไปกํากับราชการที่เมืองเชียงใหม่จําเป็นต้องใช้เงินในการทํางานต่าง […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

Legendary narratives : พระศรีอาริยะ ข้อถกเถียงว่าด้วยสังคมอุดมคติของเถรวาทไทย

คติปรารถนาเกิดทันยุคพระศรีอาริยเมตไตรยกับการปราถนาพุทธภูมิในสังคมอาเซียน พระโพธิสัตว์ยุคแรกๆ ที่ได้รับการนับถือทุกนิกาย คงไม่พ้นพระศรีอาริยเมตไตรย/พระศรีอารยเมตไตรยตามคติเถรวาท/หีนยาน/มหายาน ซึ่งคัมภีร์พุทธวงศ์ คติเถรวาทได้กล่าวถึงพระองค์ในฐานะอนาคตพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล โดยพระองค์จะมาเป็นองค์พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ของภัทรกัปป์นี้ ส่วนในคติมหายาน พระองค์คือ 1 ในคณะพระโพธิสัตว์ และจะมาตรัสรู้ในอนาคตกาล เพื่อช่วยเหลือเหล่ามวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นจากวัฏสงสารต่อไป ความนิยมโพธิสัตว์พระองค์นี้เกิดขึ้นราว พ.ศต. 8-13 คติการบูชาพระองค์มีความสำคัญมากต่อชาวพุทธทั่วไป ไม่ว่านิกาย สำนักนิกาย ภูมิภาค นับว่าได้รับการนับถือมากทั่วไปตลอดระยะเวลาจะสิ้นสุดรอบและเริ่มต้นพุทธศตวรรษ 1000 ปี หรือ 2000 ปี ทั้งนี้พบหลักฐานการบูชามากมายในอินเดีย และนอกอินเดียในระยะเวลานี้ และเวลาต่อๆ มา ทั้งในวรรณกรรม จารึก และที่พบเป็นรูปธรรมในงานศิลปกรรมและทางโบราณคดี เริ่มปรากฏรูปเคารพตามลักษณะแตกต่างตามคติ หลักฐานลายลักษณ์อักษรวรรณกรรม ความในพระไตรปิฎกระบุว่า กัปปัจจุบันนี้ เรียกว่า ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง 5 พระองค์ อุบัติแล้ว 5 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม […]Read More

Translate »