ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ ประเทศสมาชิกอาเซียน

ทำความรู้จัก ” ปาเย็งซา ลอ” สาวม้ง ผู้สร้างประวัติศาสตร์ เข้ารอบ 16 คน Miss

ปาเย็งซา (Payengxa Lor) หรือ ปาแยงสา ล่อคง Miss Universe Laos 2022 ได้ผ่านเข้าสู่รอบ Top 16 คนสุดท้าย และถือเป็นตัวแทนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงหนึ่งเดียว ที่ผ่านเข้ารอบนี้ บนเวทีการประกวด ‘Miss Universe 2022 (มิสยูนิเวิร์ส 2022)‘ ครั้งที่ 71 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ลาว ปาเย็งซา ลอ มิสยูนิเวิร์ส ลาว 2022 สาวชนเผ่าม้ง วัย 21 ปี เธอเป็นสาวชาวม้งคนแรกที่เข้าร่วมการประกวด Miss Universe Laos และคว้าตำแหน่งมาได้ในปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา นอกจากนี้เธอยังได้เคยรับตำแหน่ง มิสม้ง 2020 เป็นสาวงามกลุ่มชาติพันธุ์ม้งคนแรกที่คว้ามงกุฎบนเวทีการประกวด Miss Universe Laos 2022 ปัจจุบัน ปาเย็งซา ลอกำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยลาว-อเมริกา […]Read More

EVENTS ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ เรื่อง : วิถี “ครูบา” ในสังคมอุษาคเนย์ (Charismatic Monks : Cultural

ศูนย์อาเซียนศึกษาและวิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ เรื่อง : วิถี “ครูบา” ในสังคมอุษาคเนย์ (Charismatic Monks : Cultural Diversity and Conservation in the Making of Mainland Southeast Asia) วิทยากร Sayadej Vongsopha อาจารย์วิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้ดำเนินรายการ พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที วันที่ 15 กุมภาพันธุ์ 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ลงทะเบียนได้ที่: https://docs.google.com/…/1FAIpQLSd1htUqc15…/viewform… รับชมผ่าน Zoom และ mcuasean facebook Live ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย www.asc.mcu.ac.th mcuasean@gmail.com 085-8073098Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ

ศูนย์อาเซียนศึกษา สร้างวัฒนธรรมองค์กร ‘งดรับของขวัญ’ ทุกเทศกาล เน้นโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

ศูนย์อาเซียนศึกษา ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลและร่วมสนับสนุนนโยบาย “No Gift” ของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด สอดรับนโยบายงดรับของขวัญหรือ No Gift Policy จากบริษัท ห้างร้านหรือคู่สัญญาทุกรูปแบบ หวังเป็นผู้นำรณรงค์สังคมไทยให้ตระหนักค่านิยมการทำงานแบบโปร่งใสไร้ผลประโยชน์ทับซ้อน   บุคลากรขอรับคำอวยพรและความปรารถนาดีจากทุกท่าน แทนของขวัญหรือสิ่งอื่นใดให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของศูนย์อาเซียนศึกษาในทุกเทศกาล เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และขอขอบคุณในมิตรไมตรีและความปรารถนาดีที่ของทุกท่านที่ให้กับศูนย์อาเซียนศึกษาด้วยดีเสมอมา  Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาถวายคิลานเภสัชพระนิสิต

“บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาถวายคิลานเภสัชพระนิสิต” Just in : วันที่ 11 มกราคม 2566 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร., รองผู้อำนวยการและรักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร ศูนย์อาเซียนศึกษา มอบหมายให้บุคลากรถวายคิลานเภสัชบริขารแด่นิสิตคณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๓ และชั้นปีที่ ๔ ณ อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ผ้าขาวม้า ต่อขึ้นทะเบียน มรดกวัฒนธรรมฯ ยูเนสโก

คาดว่าในปลายปี พ.ศ.2566 องค์การยูเนสโก จะพิจารณาสงกรานต์ในประเทศไทย ให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ด้าน วธ.พร้อม เสนอ ” ผ้าขาวม้า ” เป็นมรดกภูมิปัญญาฯ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯ ครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการเสนอ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ลงมติเห็นชอบ ไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ดำเนินการเสนอเอกสารต่อองค์การยูเนสโก เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในปลายปี พ.ศ. 2566 โดยจะมีรายการ “ต้มยำกุ้ง” ที่ […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

สิงคโปร์ พัฒนาพลังงานไฮโดรเจน หวังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050

สิงคโปร์เห็นว่า พลังงานจากไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อมีการเผาไหม้ จึงมีศักยภาพที่จะเป็นพลังงานทดแทนแห่งอนาคต แม้จะยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มลงทุนในด้านการพัฒนาพลังงานจากไฮโดรเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสิงคโปร์ คาดว่า จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจนได้ครึ่งหนึ่งของความต้องการภายในประเทศภายในปี 2593 ทั้งนี้ นาย Wong ได้ประกาศยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนแห่งชาติ เพื่อเป็นหนทางไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มความยั่งยืนในอนาคต และความร่วมมือในระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ (1) การศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้พลังงานจากไฮโดรเจนในวงกว้าง เช่น แอมโมเนีย ที่เป็นพาหะพลังงานของไฮโดรเจน สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้กับภาคการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทางทะเล ทั้งนี้ สิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มผลิตและใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงในปี 2570 (2) การเพิ่มการลงทุน 2 เท่าในโครงการวิจัยและพัฒนาไฮโดรเจน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการนำเข้า การจัดการ และการใช้ไฮโดรเจนอย่างปลอดภัย โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ประสานงานกลางระหว่างภาคอุตสาหกรรมและนักวิจัย เพื่อพัฒนาผลจากการศึกษาและวิจัยให้เป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริ (3) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับต่างประเทศที่มีเป้าหมายและแนวคิดใกล้เคียงกัน อาทิ การสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานและความหลากหลายในการนำเข้าไฮโดรเจนของสิงคโปร์ (4) การศึกษาเงื่อนไขของพื้นที่และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฮโดรเจนใหม่ใน สิงคโปร์ ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังสูง เนื่องจากสิงคโปร์มีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น (5) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและแรงงานให้พร้อมต่อการใช้ระบบไฮโดรเจนขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีงานประเภทใหม่ ๆ เช่น การซื้อ ขาย และจัดเก็บไฮโดรเจน และการตรวจสอบ/รับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอน เป็นต้น นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีแผนการขยายแผนการเงินสีเขียวและเขตพลังงาน โดยประเมินว่า […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

มาเลเซีย หวังพึ่ง จีน ผลักดันภาค EV โต

นาย Anthony Loke Siew Fook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซียเปิดเผยว่า มาเลเซียตั้งเป้าที่จะดึงดูดการลงทุนจากบรรดาบริษัทจากจีนให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในวงกว้าง . อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับมาเลเซีย แต่รัฐบาลก็พยายามที่จะก้าวข้ามด้วยการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมด้วยเทคโนโลยีในด้านนี้ เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศ . นาย Loke Siew Fook อธิบายเพิ่มเติมว่า รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นเทรนด์สำคัญที่จะกำหนดรูปแบบของทั้งระบบการขนส่งสาธารณะและการเดินทางด้วยรถส่วนตัว และมาเลเซียต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับกระแสความนิยมนี้ โดยนโยบายอุตสาหกรรมของมาเลเซียนั้นต้องการที่จะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า ย้ายฐานการผลิตมายังมาเลเซียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตแบตเตอรี่ ที่มีการนำเสนอสิ่งจูงใจต่างๆ อีกทั้งยังมีบริษัทจากจีนจำนวนมากที่ให้ความสนใจลงทุนในมาเลเซีย ทั้งในรูปแบบของการตั้งโรงงานและอื่นๆ อีกมากมาย . นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงความยั่งยืน รวมถึงให้ความสำคัญกับการบูรณาการและการเชื่อมต่อระหว่างกันกับแผนขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคการขนส่ง ที่จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น . ทั้งนี้ มาเลเซียมีโครงการมากมายที่อยู่ระหว่างเตรียมการ แต่คำถามก็คือ จะเชื่อมโยงโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่มองภาคการขนส่งเป็นแค่การลำเลียงจากจุด A ไปยังจุด B แต่มองถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่จะต้องสร้างคุณค่าต่อการพัฒนาให้กับภูมิภาคและพื้นที่ที่มีเครือข่ายการขนส่งครอบคลุมด้วย ที่มา AEC ConnectRead More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

กัมพูชา ชาติแรกในอาเซียน ตั้งเป้า “ความเป็นกลางทางคาร์บอน”

นาย Say Samal รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า กัมพูชาเป็นชาติแรกในกลุ่มอาเซียนที่วางกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านเป้าหมายปี 2593 ของกัมพูชา . ซึ่ง Samal ระบุว่าประมาณ 2.3% ของ GDP ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การปกป้องผืนป่า และเพื่อเตรียมการสำหรับกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน . โดยกัมพูชาเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับแผนงานดังกล่าวต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เกี่ยวกับมาตรการที่จะริเริ่มเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (LTS4CN) . นอกจากนี้ Neth Pheaktra โฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมยังกล่าวว่า ระบบคาร์บอนเครดิตยังเป็นประโยชน์ต่อกัมพูชา จากการปกป้องผืนป่าผ่านการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การปศุสัตว์ และการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ประกอบกับจะได้รับประโยชน์ในระยะสั้นจากการค้าในตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ ส่วนในระยะยาวจะมาจากการจ่ายชำระตามผลการดําเนินการภายใต้ UNFCCC ที่มา AEC ConnectRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมเจริญพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

Just in: วันที่ 5 มกราคม 2566 บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา นำโดยพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ,รองผู้อำนวยการและรักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหารศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมเจริญพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยมีพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร., อธิการบดี เป็นประธาน ณ อาคารวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

Translate »