Come to learn, leave to serve: จิตวิญญาณมหาจุฬาในเวียดนาม (ตอนที่ ๑)
Come to learn, leave to serve: จิตวิญญาณมหาจุฬาในเวียดนาม (ตอนที่ ๑) ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเล้าฯ ให้มีการสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและศาสตร์ชั้นสูงสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปิดทำการเรียน การสอนอย่างต่อเนื่องทั้งในหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับทั้งนิสิตไทยและต่างประเทศ มหาจุฬาเป็นที่รู้จักของชาวพุทธในระดับนานาชาติว่าเป็นสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทยและมีนิสิตจากทั่วโลกเดินทางมาเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ โดยเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนาซึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นของมหาวิทยาลัยกล่าวคือการประยุกต์หลักธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม การศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ปลูกฝังจิตวิญญาณ หล่อหลอมแนวคิดและหลักการของพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ผู้เรียนได้ฝึกฝนตนเองทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เมื่อจบการเรียนตามแนวปริยัติ หน้าที่อีกขั้นสำหนับการเป็นพุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะพระสงฆ์นั้นคือการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อสำเร็จหลักสูตรตามระบอบการศึกษาแล้ว การกลับไปยังถิ่นฐาน บ้านเกิด เพื่อรับใช้สังคมคืออดุมการณ์ที่มหาจุฬาปลูกฝังให้กับนิสิตทุกคน อาจจะกล่าวได้ว่านี้เป็นเอกลักษณ์ที่หาจากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้ยาก ในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้กำหนดชัดเจนว่านิสิตมหาจุฬาต้องปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี โดยนิสิตมหาจุฬาจะใช้เวลาดังกล่าวนี้ปฏิบัติศาสนกิจรับใช้สังคม เช่น บางรูปเป็นประธานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จัดกิจกรรมบรรพชาเยาวชนอันเป็นการสืบสานปณิธานและอดุมการณ์ของมหาจุฬาได้อย่างเต็มเปี่ยม นิสิตมหาจุฬาบางรูปก็รับหน้าที่ในทางคณะสงฆ์ เช่น เป็นพระสังฆาธิการ เป็นเจ้าคณะ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ศิษย์เก่าของมหาจุฬาบางรูปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ทำหน้าเที่บริหารกิจการคณะสงฆ์ในระดับประเทศซึ่งเป็นความภูมิใจของมหาจุฬาอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่นิสิตชาวไทยเท่านั้น สำหรับนิสิตต่างประเทศที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยก็ได้รับการปลูกฝังอุดมการณ์นี้ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย จากการลงพื้นที่ของศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณที่ได้จัดกิจกรรม Junior Fellows Program in […]Read More