ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ไทย-มาเลย์ จ่อสร้างสะพานเพิ่ม ยกระดับค้าชายแดน

รัฐบาลไทยได้ย้ำแผนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งใหม่ ที่จะกลายเป็นจุดผ่านแดนอีกแห่ง โดยทั้งรัฐบาลไทยและมาเลเซียหวังว่าสะพานที่จะเชื่อมระหว่างอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส กับรัฐกลันตัน ในมาเลเซียนี้ จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ . โดยสะพานแห่งนี้จะกลายเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแห่งที่ 3 ต่อจากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส กับเมืองรันเตาปันจัง และสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างเมืองบูกิตบูงา กับหมู่บ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส . เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นายดอน ปรมัตถ์วินัย และนาย Saifuddin Abdullah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและมาเลเซีย ได้ตกลงที่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายแดน เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศ มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2568 โดยรัฐมนตรีทั้งสองยังได้แสดงเจตจำนงที่จะเร่งรัดการก่อสร้างถนนที่จะเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ศุลกากรของบูกิตกายูฮิตัม กับอำเภอสะเดา ซึ่งจะมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างมาเลเซียและไทย . นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังกำลังพิจารณาการก่อสร้างสะพานแห่งที่ 4 เชื่อมระหว่างเมืองเปงกาลัน กูบอร์ กับอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส แต่จำเป็นต้องมีการประเมินพื้นที่และสำรวจภูมิประเทศให้แล้วเสร็จก่อน การหารือจึงจะเดินหน้าต่อไปได้ . ทั้งนี้ การก่อสร้างสะพานแห่งใหม่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้การเดินทางไปมาระหว่างสองประเทศที่บริเวณชายแดนทางบกเป็นไปอย่างสะดวกสบาย โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชาวมาเลเซียเป็นชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด ส่วนใหญ่เดินทางมาทางบกผ่านทางจังหวัดสงขลา ขณะที่ […]Read More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต โอกาสของไทยในอาเซียน

รายงานการลงทุนอาเซียนปี 2022 และแนวโน้มการลงทุนในภูมิภาค

รายงานการลงทุนอาเซียนปี 2022 และแนวโน้มการลงทุนในภูมิภาค นำเสนอถึงการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนและรักษาสภาพการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ฟื้นตัวหลังการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid 19) ดาวโหลดไฟล์ได้ที่ >>> https://bit.ly/AIR2022_PDF ที่มา: The official Facebook Page of The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ลาวมอบเหรียญกล้าหาญ “จ้าวเหว่ย” ผู้ช่วยแก้ปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ

 กองบัญชาการทหารบ่อแก้ว สปป.ลาว จัดพิธีประดับเหรียญ “ไซพิละอาดหาน” ให้แก่ “จ้าวเหว่ย” ประธานเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมทองคำ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนงานกองทัพลาว ทำให้เกิดความสงบ ปลอดภัย และช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในแขวงบ่อแก้ว . ช่วงเย็นวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ณ ห้องรับรองภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เจ้าแขวงบ่อแก้ว และกองบัญชาการทหารแขวงบ่อแก้ว ได้จัดพิธีประดับเหรียญไซพิละอาดหาน ชั้น 2 ให้แก่ จ้าวเหว่ย ประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ โดยมีบัวคง นามมะวง เจ้าแขวงบ่อแก้ว และ พ.อ.บุนมี พามีไซ หัวหน้ากองบัญชาการทหารแขวงบ่อแก้ว เป็นผู้มอบ . เหรียญไซพิละอาดหาน เป็นสัญลักษณ์ที่หน่วยงานของรัฐมอบให้แก่บุคคลใดบุคคนหนึ่ง เพื่อแสดงความระลึกถึงคุณงามความดี ความองอาจ กล้าหาญที่บุคคลนั้นได้สร้างให้แก่หน่วยงาน พื้นที่ หรือประเทศลาว . คำกล่าวในพิธีประดับเหรียญพิละอาดหาน แก่จ้าวเหว่ยเมื่อเย็นวานนี้ มีเนื้อหาคร่าวๆ ว่า . “จ้าวเหว่ยแม้เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็เป็นผู้หนึ่งที่เอาใจใส่ จัดการผันขยายแนวนโยบายของพรรค (ประชาชนปฏิวัติลาว) กฎหมายของรัฐ ในด้านการป้องกันชาติ ป้องกันความสงบของปวงชน […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ไทยใช้ Soft Power ดัน GI ลำไยอบแห้งเจาะตลาดเวียดนาม

รัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ไทยแจ้งข่าวดี “ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน”จดทะเบียน GI ที่เวียดนามได้แล้วคาดช่วยกระตุ้นการส่งออก เพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน สร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นอย่างยั่งยืนพร้อมเป็น Soft Power สำคัญที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณภาพผลไม้ไทยสู่สายตาชาวต่างชาติ . นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากแนวทางสนับสนุนช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนผลักดันการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ โดยที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากใช้ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รวมทั้งส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้า ซึ่งนำสินค้า GI ไทยที่มีศักยภาพไปจดทะเบียน GI ในต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ เพื่อให้สินค้า GI ไทยได้รับการคุ้มครองในตลาดแข่งขันทางการค้า สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งล่าสุดประเทศเวียดนามได้ประกาศรับจดทะเบียน GI ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูนของไทย ส่งผลให้ปัจจุบันไทยจดทะเบียน GI ในเวียดนามแล้ว 3 สินค้า”ด้วยกัน . ทั้งนี้ ลักษณะเด่นของลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน มีสีเหลืองทอง เนื้อหนา แห้งสนิทไม่ติดกัน รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ สามารถเก็บไว้ได้นานโดยกลิ่นและรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวเวียดนาม มีตลาดส่งออกที่สำคัญ อาทิ เวียดนาม จีน ฮ่องกง เป็นต้น นับเป็นสินค้าGI […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

รัฐมนตรี RCEP เห็นชอบตั้งสำนักเลขาธิการ

รัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Cooperation Economic Partnership: RCEP)ได้ตกลงที่จะ จัดตั้งสำนักเลขาธิการ RCEP ขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้มีเลขาธิการและการสนับสนุนด้านการปฏิบัติแก่คณะกรรมการร่วม RCEP และหน่วยงานย่อย ประเทศสมาชิกอาเซียนพร้อมด้วย ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และนิวซีแลนด์ ได้ข้อสรุปในการประชุมรัฐมนตรี RCEP ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 ที่จังหวัดเสียมราฐ โดย เจอร์รี่ ซัมบัวก้า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย และฟิล ทไวฟอร์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อการค้าและการเติบโตของการส่งออกของนิวซีแลนด์การประชุมเป็นประธานร่วม ที่ประชุมยินดีที่ข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ของเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ซึ่งแทบจะใกล้เคียงกับการเปิดการเจรจา RCEP ในปี 2555 เมื่อกัมพูชาดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน แถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรี RCEP ครั้งแรกระบุ พร้อมชี้ถึงความสำคัญของความตกลง RCEP ในภูมิภาค ที่ประชุมรอที่จะประเทศสมาชิกที่ลงนามทั้งหมดให้สัตยาบันครบถ้วน ในการประชุม รัฐมนตรีได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วม RCEP และยินดีกับการจัดตั้งหน่วยงานย่อยภายใต้การดูแลของคณะกรรมการร่วม รวมทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ขยายการใช้ข้อตกลง […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

อินโดนีเซีย สู้เงินเฟ้อ ขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าที่คาด

ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่คาดการณ์ หวังผ่อนคลายสถานการณ์เงินเฟ้อที่คาดว่าจะพุ่งสูงเกิน 6% ในปีนี้ ท่ามกลางเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลง . ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรที่มีสัญญาขายคืนระยะเวลา 7 วัน (Seven-Day Reverse Repurchase Rate) ที่ 50 จุดเป็น 4.25% เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่นักเศรษฐศาสตร์เพียง 7 จาก 37 คนเท่านั้นที่คาดการณ์ไว้ เพราะส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับขึ้นแค่ 25 จุด . อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะสูงกว่า 6% ภายในสิ้นปีนี้ จาก 4.69% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา . นอกจากนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังเป็นการปรับขึ้นที่รุนแรงที่สุดของธนาคารกลางอินโดนีเซียนับตั้งแต่กลางปี 2561 เนื่องจากสกุลเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงถึง 15,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐมีท่าทีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและจะใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว และถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะค่อนข้างมีความยืดหยุ่นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ค่าเงินที่อ่อนตัวลงได้เพิ่มความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ประกอบกับราคาสินค้าที่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการเคลื่อนไหวของรัฐบาลในการลดเงินอุดหนุนด้านพลังงานบางส่วนด้วย . อย่างไรก็ดี นาย Warjiyo ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียยังสามารถควบคุมได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงมากขึ้นไปอีกไม่จำเป็นสำหรับอินโดนีเซีย […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

3 ชาติอาเซียน จับมือ รัสเซีย หวังแก้พิษเศรษฐกิจ

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ด้วยความหวังที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อและกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 . สายการบินแห่งชาติของรัสเซีย Aeroflot จะกลับมาให้บริการการบินระหว่างมอสโกและภูเก็ตของไทยตามปกติภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งภูเก็ตถือเป็นปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย แต่เส้นทางบินดังกล่าวได้ถูกระงับไปหลังเกิดสงครามยูเครน-รัสเซีย . อย่างไรก็ดี การกลับมาดำเนินการใหม่ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยและด้วยเหตุที่จีนยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์อยู่ รัสเซียจึงกลายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ไทยจึงตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียให้ได้ 1 ล้านคนภายในปีนี้ . นอกจากนี้ ไทยและรัสเซียยังได้ตกลงที่จะขยายการค้าแบบทวิภาคีให้ได้มูลค่าแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2566 ซึ่งมากกว่าปี 2564 เกือบ 4 เท่า อีกทั้งไทยยังมีการส่งออกรถยนต์และอาหาร และนำเข้าน้ำมันดิบและปุ๋ยจากรัสเซียด้วย . ขณะเดียวกัน เวียดนามและรัสเซียก็มีการเจรจาเรื่องการขยายการส่งออกข้าวสาลีเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกข้าวสาลีของรัสเซียไปยังเวียดนามลดลงกว่า 190,000 เมตริกตันในปี 2564 จาก 2.6 ล้านเมตริกตันในปี 2561 หลังจากพบการปนเปื้อนของเมล็ดทิสเซิลในข้าวสาลี . อย่างไรก็ดี รัสเซียจะส่งข้าวสาลีแบบปลอดเมล็ดทิสเซิลรุ่นทดลองให้เวียดนามโดยเร็วที่สุดภายในต้นเดือนกันยายน ซึ่งข้าวสาลีถูกใช้อย่างกว้างขวางในเวียดนามสำหรับการทำขนมปังและเส้นก๋วยเตี๋ยว เวียดนามเองก็หวังที่จะควบคุมราคาภายในประเทศจากการเพิ่มการนำเข้าจากรัสเซีย . ขณะที่ เมียนมาก็กระชับความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยจะเริ่มนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียโดยเร็วที่สุดภายในเดือนกันยายน ภายใต้ข้อตกลงที่เจรจากันไว้ตอนนาย Min Aung Hlaing ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาได้เดินทางไปเยือนรัสเซียในเดือนกรกฎาคม […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

“เอเปค” โจ ไบเดน ไม่มาไทย : สำคัญไหมในมุมความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ

“เอเปค” โจ ไบเดน ไม่มาไทย : สำคัญไหมในมุมความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดย ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคในไทย เพื่อร่วมงานแต่งงานของหลานสาวที่ทำเนียบขาว ด้านนักรัฐศาสตร์มองว่า คนไทยอาจรู้สึก “น้อยใจ” แต่อยากให้มองที่ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม มากกว่าการที่ผู้นำจะมาหรือไม่ มากกว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ จะไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ที่จะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ระหว่าง 18-19 พ.ย.นี้ ด้วยเหตุผล “ทางครอบครัว” ไทยพีบีเอสเวิลด์ รายงานว่า ทำเนียบขาวได้แจ้งต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตัน  ดีซี ว่า ไบเดนจะส่งรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเอเปคในไทยแทน ข่าวนี้ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ทางโลกโซเชียลในหลายแง่มุมว่า ผู้นำสหรัฐฯ อาจมองการเยือนไทยไม่สำคัญ เป็นการหักหน้า ไปจนถึงการที่รัฐบาลไทยเชิญประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคด้วย แต่ ผศ.ประพีร์ อภิชาตสกล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกกับบีบีซีไทยว่า การที่ผู้นำสหรัฐฯ ไม่มาไทยนั้น มองได้หลายแง่มุม […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ลาว เตรียมปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิง

คณะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิงของ สปป. ลาว จะดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเข้ามาปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิงลาว ภายหลังจากเผชิญสภาพวิกฤติการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและการเงินรั่วไหล ทำให้ต้องเร่งปฏิรูปใหม่ เนื่องจากธุรกิจมีความอ่อนแอและมีความเสี่ยงในอนาคต . เจ้าหน้าที่คณะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิงลาวซึ่งไม่ประสงค์ออกนามกล่าวว่า “จะเป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อเข้ามาช่วยปฏิรูปหรือช่วยปรับปรุงรัฐวิสาหกิจในด้านน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่ใช่การเข้าไปบริหาร โดยจะเป็นการเข้ามาวิเคราะห์และวิจัยว่าการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาเป็นแบบใด และจะต้องดำเนินการและวางนโยบายอย่างไรในอนาคต อีกทั้งเรื่องโครงสร้างและการจัดตั้งต้องปรับปรุงอย่างไรด้วย” . สำหรับบริษัทที่จะถูกจัดจ้างจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหลายข้อ ได้แก่ ต้องเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์, มีความรู้และความสามารถในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจในด้านน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออุตสาหกรรมที่ใกล้เคียง, เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรและบุคลากร, เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย, เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบ, เชี่ยวชาญด้านการเงินบัญชี และเชี่ยวชาญด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น . นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อเพลิง กล่าวว่า สปป.ลาว เผชิญวิกฤติการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงมาตั้งแต่ปลายปี 2564 แล้ว แต่มาวิกฤติหนักจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพียง 60 ล้านลิตรต่อเดือน แต่การใช้จริงต้องนำเข้า 120 ล้านลิตรต่อเดือน โดยปัจจัยสำคัญมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้เงินกีบอ่อนค่า การขาดเงินตราต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน . อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมารัฐบาล สปป. ลาว ได้ช่วยเหลือด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงเหลือ 7% จากเดิมที่เก็บ 10% […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

เวียดนาม ดันเอกชนสร้าง 4 สนามบิน

รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติและอยู่ระหว่างพิจารณาแผนการสร้างสนามบินในภาคเหนือและภาคกลาง ผ่านการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) . สนามบินแห่งแรกนั้นตั้งอยู่ในเมืองซาปา จังหวัดหล่าวกาย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม และเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสนามบินดังกล่าวมีเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าและการทหาร สามารถรองรับเครื่องบิน Airbus A320 321 และเครื่องบินขนาดเท่ากัน และรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี โดยมีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 3.65 ล้านล้านด่อง รวมกองทุนจากรัฐบาลจำนวน 6.61 แสนล้านด่อง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 50 ปี แบ่งเป็นก่อสร้างกว่า 3 ปี และดำเนินกิจการอีก 46 ปี 2 เดือน . สำหรับสนามบินแห่งที่ 2 คือในจังหวัดเซินลา ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ก็มีการขออนุญาตการก่อสร้างสนามบินในรูปแบบของ PPP เช่นกัน โดยสนามบินแห่งใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมและเพิ่มส่วนต่อขยายจากสนามบินที่ถูกทิ้งร้างไว้ โดยจะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านด่อง ซึ่งในเฟสที่ 1 จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1 ล้านคนและสินค้าได้ 350 ตันต่อปี […]Read More

Translate »