ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

Legendary narratives : พระศรีอาริยะ ข้อถกเถียงว่าด้วยสังคมอุดมคติของเถรวาทไทย

คติปรารถนาเกิดทันยุคพระศรีอาริยเมตไตรยกับการปราถนาพุทธภูมิในสังคมอาเซียน พระโพธิสัตว์ยุคแรกๆ ที่ได้รับการนับถือทุกนิกาย คงไม่พ้นพระศรีอาริยเมตไตรย/พระศรีอารยเมตไตรยตามคติเถรวาท/หีนยาน/มหายาน ซึ่งคัมภีร์พุทธวงศ์ คติเถรวาทได้กล่าวถึงพระองค์ในฐานะอนาคตพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล โดยพระองค์จะมาเป็นองค์พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ของภัทรกัปป์นี้ ส่วนในคติมหายาน พระองค์คือ 1 ในคณะพระโพธิสัตว์ และจะมาตรัสรู้ในอนาคตกาล เพื่อช่วยเหลือเหล่ามวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นจากวัฏสงสารต่อไป ความนิยมโพธิสัตว์พระองค์นี้เกิดขึ้นราว พ.ศต. 8-13 คติการบูชาพระองค์มีความสำคัญมากต่อชาวพุทธทั่วไป ไม่ว่านิกาย สำนักนิกาย ภูมิภาค นับว่าได้รับการนับถือมากทั่วไปตลอดระยะเวลาจะสิ้นสุดรอบและเริ่มต้นพุทธศตวรรษ 1000 ปี หรือ 2000 ปี ทั้งนี้พบหลักฐานการบูชามากมายในอินเดีย และนอกอินเดียในระยะเวลานี้ และเวลาต่อๆ มา ทั้งในวรรณกรรม จารึก และที่พบเป็นรูปธรรมในงานศิลปกรรมและทางโบราณคดี เริ่มปรากฏรูปเคารพตามลักษณะแตกต่างตามคติ หลักฐานลายลักษณ์อักษรวรรณกรรม ความในพระไตรปิฎกระบุว่า กัปปัจจุบันนี้ เรียกว่า ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง 5 พระองค์ อุบัติแล้ว 5 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

คติอรัญวาสี: จากลังกาสู่อาเซียนยุคเริ่มต้น

คติอรัญวาสี: จากลังกาสู่อาเซียนยุคเริ่มต้น อรัญวาสี (อะ-รัน-ยะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในป่า ผู้อยู่ประจำป่า อรัญวาสี ใช้เรียกกลุ่ม/คณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่งประจำการ/ตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชนเมืองบางครั้งอยู่รอบๆ เมืองที่เป็นพระนครหรือกำแพง เรียกว่า คณะอรัญวาสี คณะตรงกันข้ามเรียกว่าคามวาสี ประจำการ/ตั้งวัด/สังฆารามอยู่ในเขตชุมชนบ้าน หรือเมือง อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึงภิกษุผู้อยู่ในป่า มักเรียกทั่วไปว่า พระป่า ประเทศไทยมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระพัฒนาจิตเจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอน ไม่ฉูดฉาดหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด บางครั้ง อรัญวาสี มักถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะขึ้นไปเพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระป่า เช่น พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ หากแต่ท่านก็ยังเกี่ยวข้องกับสังคมชุมชนอยู่มากเช่นกัน พัฒนาการอรัญวาสีในลังกา แนวทางอรัญวาสีเริ่มปรากฏชัดเจนเริ่มแรกของพุทธศาสนาในลังการาว พ.ศต.ที่ 3 ก่อนมีการเรียกมหาวิหาร แห่งแรกที่เมืองอนุราธปุระเมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา/สิงหล พฤติกรรมของคณะสงฆ์โดยธรรมชาติมักมีการดำรงชีวิตที่อาศัยชุมชนบ้าน เมือง อยู่แล้ว และอีกกลุ่มมากอยู่อาศัยถ้ำหรือเชิงผา ภูเขาเป็นที่พำนักมาก่อน เช่น มิหินตาเล หรือ มิสสกบรรพต ที่พำนักพระมหินทร์เถระ ต่อมามิหินตาเลเป็นที่รู้จักเนื่องจริยวัตรปฏิบัติเคร่งครัดกว่าพวกอยู่ในเขตชุมชน บ้าน เมือง ถึงกล่าวว่าเป็นที่พำนักของพระอรหันต์โดยพุทธโฆสาจารย์ มิหินตาเลจึงเป็นต้นแบบของวัด […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอบรมพระธรรมทูต

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอบรมพระธรรมทูต วันเสาร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร,ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๒๙/๒๕๖๖ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร   ข่าว: ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

คติการสร้างพระพิมพ์จากพุทธคยาสู่รัฐสุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์พระพิมพ์และคติที่เปลี่ยนไปของชาวไทยเชื้อสายมู

คติการสร้างพระพิมพ์จากพุทธคยาสู่รัฐสุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์พระพิมพ์และคติที่เปลี่ยนไปของชาวมูเตลู การรำลึกถึงพุทธเจ้าเพื่อเป็นพุทธานุสสติเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกยึดปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธ หลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เกิดการสังเวชนียสถานขึ้น อันได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน​ ภายหลังชาวพุทธนิยมสร้างพุทธรูปขึ้นตามความเปลี่ยนแปลงและการรับอารยธรรมใหม่ผ่านกรีก ซึ่งก่อนนั้น สัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าคือดอกบัวแทนประสูติ บัลลังก์ ต้นโพธิ์แทนการตรัสรู้ ธรรมจักรแทนปฐมเทศนา และสถูปเจดีย์แทนพุทธปรินิพพาน แต่คตินี้ก็ยังได้รับการถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการจารึกพระไตรปิฏกเป็นตัวอักษรไว้กับพระสถูป เจดีย์หรือตามพุทธสถานต่าง ๆ ด้วย และเมื่อสังคมพัฒนาการขึ้น คติหรือแนวทางการสร้างสัญญะแทนพระพุทธเจ้าก็เปลี่ยนไปตามกระแสหรือความนิยมในบริบทสังคมนั้น ๆ เสมอ จนกระทั่งเกิดมีการสร้างพระพิมพ์ขึ้น ในรัฐสุวรรณภูมิ พระพิมพ์ดิน (Terracotta Votive Tablet/Votive Plaque) เหล่านี้เริ่มเข้ามาในแผ่นดินเอเชียอาคเนย์ในยุคสมัยทวาราวดี โดยพิมพ์พุทธประวัติ ในยุคนั้นยังเป็นเรื่องราวในฝ่ายเถรวาทอยู่ เช่น พระพิมพ์ยมกปาฎิหาริย์ พระพิมพ์ธรรมเทศนา พระพิมพ์เสด็จจากดาวดึงส์ แม้กระทั้งพระพิมพ์พระสาวก ( พบที่เขาทำเทียม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ) ต่อมา เมื่ออิทธิพลของดินแดนทวาราวดีเสื่อมลงต่ออำนาจของอาณาจักรอีสานปุระที่เข้มแข็งขึ้น ทำให้พุทธศาสนาไปเจริญรุ่งเรืองทางตอนใต้ของดินแดนแหลมทอง ซึ่งได้รับอิทธิพลพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ได้รับการเผยแพร่จากกลุ่มภิกษุที่มาจากดินแดนทางตะวันออกของอาณาจักรคุปตะ ( ปัจจุบันคือภาคเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ) […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ โอกาสของไทยในอาเซียน

“คนสร้างศิลป์” กับการสร้างชุมชน และสร้างเมืองที่ยั่งยืนด้วยพุทธศิลป์

“สร้างชุมชน และสร้างเมืองที่ยั่งยืนด้วยพุทธศิลป์”             ประเทศไทยภายใต้การพัฒนาประเทศที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยนโยบาย Soft Power โดยมีต้นทุนคือวัฒนธรรมและประเพณี จึงทำให้ศิลปะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ศิลปะบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของแต่ละชาติ การส่งเสริมและรักษาก็เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราพูดถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความตระหนักและความรับผิดชอบต่อการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์ ทุกวันนี้ราพูดถึงแนวคิดการพัฒนาเมืองมากมาย เช่น แนวคิดเมืองสุขภาพ (Health City) เมืองคาร์บอนต่ํา (Low Carbon City) ชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism) ทั้งนี้ก็เพื่อปัญหาของชุมชนนั้นๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แนวคิดการพัฒนาเหล่านี้ได้ถูกปรับใช้โดยมีการพัฒนารูปแบบที่น่าสนใจ มีการบูรณาการกายภาพสิ่งแวดล้อม การขนส่ง สถาปัตยกรรม กฎหมายหรือข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสมดุล  เท่าเทียมที่ยั่งยืน วันนี้ กองบรรณาธิการได้รับโอกาสพิเศษ พูดคุยกับท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปฏิเวธ เสาว์คง ประธานหลักสูตรสาขาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ร่วมแบ่งปันเรื่องราวแนวคิดการสร้างเมืองด้วยศิลปะและการส่เสริมพุทธศิลป์ในช่วงเวลาการขับเคลื่อนเศษฐกิจ Soft Power อยากให้อาจารย์แบ่งปันแง่มุมจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่อยากให้คนทั่วไปเข้าใจ “คนสร้างศิลป์” สักนิดนึงครับ “ศิลป์” มีอยู่ทุกที่ในทุกสายงานวิชาชีพ เช่น ศิลป์ในการจัดสวน ศิลป์ในการพูด […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ศูนย์อาเซียนศึกษา เปิดเว็บไซต์รองรับการใช้งานผู้พิการเพื่อเข้าถึงข้อมูลภาครัฐของคนทุกช่วงวัย

  ศูนย์อาเซียนศึกษา เปิดเว็บไซต์ www.asc.mcu.ac.th รองรับการใช้งานผู้พิการ เข้าถึงข้อมูลภาครัฐของคนทุกช่วงวัย ด้วยศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นศูนย์ประสานงานและบริการวิชาการของประชาคมอาเซียน ภายใต้การขับเคลื่อนพันธกิจการเป็น คลังข้อมูลด้านพระพุทธศาสนาและอาเซียนศึกษา (ASEAN THINK TANK) การพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐและ ข่าวสาร และสารสนเทศของประชาคมอาเซียนอย่างเท่าเทียม โดยพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร. , ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ได้มอบนโยบายแก่บุคลากรในการพัฒนากิจกรรมและการดำเนินการว่า ศูนย์อาเซียนศึกษาจะต้องบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงกับผู้คนเป็นหัวใจหลักและมุ่งขับเคลื่อนงานร่วมกับสังคม สร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อตอบวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนและพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในปัจุบันพบว่ากลุ่มผู้พิการยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการจำนวนผู้พิการในประเทศไทยว่าอาจจะมีมากถึง 1.8 ล้านคน และจากการสำรวจพบว่า 90% ของเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงเป็นสาเหตุที่ศูนย์อาเซียนศึกษาดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับกลุ่มผู้คนเพื่อจะยืนยันว่าประชาชนจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง อันเป็นการเติบโตและการอยู่ร่วมกันของสังคมและการสร้างประชาคมอาเซียนให้ยั่งยืน ดังนั้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ ศูนย์อาเซียนศึกษา ภายใต้แนวคิด “PEOPLE” จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ www.asc.mcu.ac.th ให้สามารถรองรับการใช้งานของผู้พิการทุกประเภทตลอดจนผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและปฏิบัติงานให้สอดรับกับแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่องการกำหนดสิทธิของคนพิการในอาเซียนโดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ใน ASEAN-Enabling Masterplan 2025 ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลโยลีสารสนเทศ ได้ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไข […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ร่วมประชุมตามคำเชิญของ Ven. Shawasn สมเด็จพระสังฆราชนิกายวอน ภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาค ASEAN+3

Just in : วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร., ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มอบหมายให้ พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ร่วมประชุมตามคำเชิญของ Ven. Shawasn สมเด็จพระสังฆราชนิกายวอน ภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาค ASEAN+3 เพื่อหารือการจัดกิจกรรมและโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาไทย-เกาหลี ในการนี้ มีผู้แทนจากสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สมาคมเกาหลีแห่งประเทศไทย และประธานนิสิตอาระกันจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมด้วย ณ สำนักงานใหญ่นิกายวอน แห่งประเทศไทย Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcuRead More

ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน

ASEAN Topic : ปรมาจารย์ตั๊กม้อในบริบทอัตลักษณ์พุทธศาสนาเวียดนาม

ปรมาจารย์ตั๊กม้อ/ตาหม่า ปฐมปรมาจารย์นิกายเซน/เถี่ยน ในเวียดนาม การไหลเวียนหรือเคลื่อนย้ายทางพุทธศาสนาจากสถานที่/ภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกสถานที่/ภูมิภาคหนึ่งมีหลายประการที่นำไปสู่การรังสรรค์งาน อารยธรรม จนเป็นอารยธรรมเฉพาะถิ่นพัฒนาต่อยอดจนมีเอกลักษณ์อัตลักษณ์เฉพาะตนต่อมากลายเป็นแหล่งจาริกบุญจาริกธรรมเพื่อไปนมัสการหรือรำลึกถึงที่เรียกว่าเจดีย์ ประกอบด้วย พุทธรูป พระคัมภีร์ พระธาตุ-สถูปเจดีย์ และอื่นๆ ทั้งนี้ พุทธรูปอาจรวมรูปเคารพพุทธศาสนาอื่นๆ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นไม่ได้และยากมากหากขาดพาหะนำพาไหลเวียนจากพระสงฆ์ธรรมทูต พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญและสร้างคุณูปการต่อโลกพุทธศาสนาและอารยธรรมโลก หนึ่งในพระภิกษุสงฆ์ที่สำคัญคือ ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ หรือ ต่าหม่า ในสำเนียงเวียดนาม โพธิธรรม ในบาลีสันสกฤต ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) ท่านต่าหม่า/ในภาษาสันสกฤต/บาลี ชื่อว่า โพธิธรรม เป็นชาวอินเดียใต้ เป็นเจ้าชายอาณาจักรที่พร้อมครองราษย์ต่อจากพระราชบิดาหากแต่ความโน้มเอียงของท่านกลับเน้นแสวงหาสัจธรรมของชีวิตและโลกเพื่อพ้นทุกข์ ท่านจึงออกผนวชและปฏิบัติเคร่งพร้อมศึกษาศิลปะการต่อสู้จนกระทั่งมีปณิธานแก่กล้าประสงค์เผยแพร่พุทธธรรมทางประทศตะวันออกคือประเทศจีน จนตัดสินใจเดินทางผ่านอุษาคเนย์ เดินทางต่อไปยังจีนแผ่นดินที่แบ่งเป็นอาณาจักรเหนือใต้ท่านผ่านอาณาจักรใต้สมัยพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ก่อนข้าเขตแดนไปทางอาณาจักรทางเหนือ มุ่งปฏิบัติธรรมเคร่งนั่งเพ่งผนังถ้ำสร้างลูกศิษย์แนะนำศิลปะการป้องกันตัวของเส้าหลิ่น ขึ้นเขาเข้าถ้ำจนกระทั่งท่านมรณภาพ เป็นปฐมปรมาจารย์/สังฆราชนิกายเถี่ยน/เซนองค์แรกในโลกตะวันออก ก่อนมีลูกศิษย์จีนรุ่นต่อมารับการถ่ายทอดธรรมจนถึงรุ่นที่ 6 ก่อนขาดไป หากแต่ลูกศิษย์ก็ยังนำพุทธศาสนาแบบเซนไปยังดินแดนนอกจีน รุ่งเรืองในราชวงศ์ถั่ง มาถึงเวียดนาม 3 รุ่นตั้งแต่สมัยอาณาจักรถังรุ่งเรืองเวียดนามยังอยู่ภายใต้ ก่อนสิ้นถังเข้าสู่ยุค 5 ราชวงศ์ 10 อาณาจักร เวียดนามจึงได้โอกาสสลัดตนเองปลดแอกทางการเมืองแม้อิทธิพลด้านศาสนาสังคมวัฒนธรรมจากถังยังคงอยู่บ้าง หนึ่งในนั้นคือพุทธศาสนาเถี่ยน กล่าวกันว่า […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นประธานประชุมบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์อาเซียนศึกษาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน มีวาระสำคัญดังนี้ -แจ้งคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการ -รายงานการดำเนินการโครงการวิจัยใช้ประโยชน์ โคก หนอง นา R โมเดล -การเตรียมการประชุมร่วมกับ United Nations Development Programme of Thailand (UNDP) -ขอเสนออนุมัติจัดโครงการ ASEAN Fellowship Program for Youths in Cambodia -นโยบายและภาระงานศูนย์อาเซียนศึกษา -การส่งประเมินวารสารพุทธอาเซียนศึกษา TCI ประจำปี ๒๕๖๖ -การจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายด้านอาเซียนศึกษา -การพัฒนาสารสนเทศและบริการวิชาการ -การจัดทำหลักสูตรระยะสั้นและโครงการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning Program) ในการนี้ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ ,รศ.ดร. ได้มอบนโยบายสำคัญด้านการปฏิบัติงานแก่บุคลากรทุกส่วนงานและกำชับถึงการปฏิบัติงานตามระเบียบและนโยบายของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ การดำเนินการหรือกิจกรรมจะต้องมุ่งเน้นการประสานงานร่วมกับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้วย รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลให้เป็น ๓ ภาษา […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

มหาจุฬา บูรณาการทฤษฎีโคกหนองนา พัฒนานิสิตจิตอาสาครุศาสตร์ เชื่อม วัด ชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ส่งมอบความยั่งยืนให้กับชุมชน

มหาจุฬา บูรณาการทฤษฎีโคกหนองนา พัฒนานิสิตจิตอาสาครุศาสตร์ เชื่อม วัด ชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ส่งมอบความยั่งยืนให้กับชุมชน ดร. ลำพอง กลมกูล รักษาการผู้อำนวยการส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษาพร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะครุศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำนิสิตคณะครุศาสตร์ลงพื้นที่โคกหนองนา R โมเดล ภายใต้โครงการวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตลอดกิจกรรมนิสิตได้ร่วมกันทำ workshop เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนโดยมีคณาจารย์บรรยาย และส่งเสริมให้นิสิตเรียนรู้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนนับเป็นการขยายความร่วมมือและขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนา R โมเดลให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน นับว่านิสิตจิตอาสาคณะครุศาสตร์ ได้ส่งมอบความยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcuRead More

Translate »