ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

ความร่วมมือประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจ

ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน […]Read More

ความร่วมมือประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

ความร่วมมือประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง

 ความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่า เชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่ 1. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) สนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เมื่อปี 2519 เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศสมาชิกหลักการสำคัญของสนธิ สัญญา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือและยอมรับในการปฏิบัติตาม ได้แก่ 1.1 เคารพในเอกราช การมีอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและเอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ 1.2 ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก 1.3 การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน 1.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี 1.5 การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกำลัง 1.6 การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน เมื่อเดือนธันวาคม […]Read More

ฐานข้อมูล โอกาสของไทยในอาเซียน

โอกาสของไทยในอาเซียน

“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community – AEC)  ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2558 จากความร่วมมือของประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย เมียนมา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ความร่วมมือดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนเองเหมือนดังสหภาพยุโรป แต่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ยังแตกต่างจากสหภาพยุโรปในบางเรื่อง เช่น ประเทศอาเซียนยังใช้เงินสกุลเดิมของแต่ละประเทศอยู่ซึ่งแตกต่างจากสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในการทำการค้าขายกัน การใช้เงินสกุลเดียวกันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการค้าสูงเพราะไม่ต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินไปมาทุกครั้งเวลาทำการซื้อขายกันเพราะทุกคนในภูมิภาคใช้เงินสกุลเดียวกันอยู่แล้วและทำให้การท่องเที่ยวหรือย้ายถิ่นฐานในเชิงแรงงานสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีผลกระทบกับประเทศไทยโดยตรงทั้งทางบวกและทางลบ ที่เห็นได้ชัดคือการค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนมีความเป็นเสรีมาก เพราะมีการยกเลิกภาษีนำเข้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับสินค้าบางประเภทที่เรียกกันว่าสินค้าอ่อนไหวเพื่อดูแลเกษตรกรในประเทศ อีกทั้งยังทำให้ผู้ผลิตของไทยสามารถขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีแรงงานราคาต่ำทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และหากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการยังไม่พร้อมจะขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่น การเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมีความเสรีทำให้ไทยไม่ขาดแคลนแรงงานอีกต่อไป ทำให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุนในโครงการใหม่ๆ เพราะมีอุปทานทางด้านแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุน รวมไปถึงโอกาสด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์อาเซียนศึกษา มจร ขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใน ในบทความวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยในกระแส AEC: มายาคติ […]Read More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน ฐานข้อมูล

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

อาเซียน (ASEAN) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

นิสิต มจร ตีพิมพ์บทความที่ไหนดี ?

นิสิต มจร ตีพิมพ์บทความที่ไหนดี ? ๑. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ บัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มจร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr ๒. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ สำนักวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas ๓. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr ๔. วารสาร มจร สันติศึกษาปริทรรศน์ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace ๕. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย http://www.ojs.mcu.ac.th/index.Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

รวมวารสารด้าน ASEAN ศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วโลก

รวมวารสารด้าน ASEAN ศึกษาทั่วโลก 1. ASEAN Journal on Science and Technology for Development by ASEAN Committee on Science and Technology (COST) in cooperation with the Ministry of Research, Technology, and Higher Education of the Republic of Indonesia. It is Read More

EVENTS ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ASC ขอเชิญนิสิตร่วมกิจกรรม ASEAN Summer Seminar

Summer นี้ ศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ขอเชิญน้องๆนิสิตกิจกรรม ASEAN Summer Seminar จากผู้แทนนิสิตสาขารัฐศาสตร์และ guest speaker นักวิจารณ์ภาพยนต์จากเวียดนามที่จะมาแลกเปลี่ยนผลการวิเคราะห์วรรณกรรมและภาพยนตร์สารคดีอาเซียน ที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนผ่านหนังสือและสารคดี หัวข้อการนำเสนอ 1. อ่าน “นิราศหนองคาย” ภาพสะท้อนรัฐศาสตร์และการเมืองไทย โดย พระมหาพงศ์ถาวร ดวงแก้ว นิสิตสาขารัฐศาสตร์ มจร 2.Con Cung: The Golden Child: ชาวรุ้งและสังคมคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม” โดย Chien Ta นักวิชาการ จากประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ผดุง วรรณทอง ที่จะมาร่วมเป็น special commentator วิพากษ์งานศึกษาของนิสิตด้วย ลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLSc8Hn7W9vN…/viewform… Join Zoom Meeting https://zoom.us/j/5502825639 Meeting ID: 550 282 […]Read More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน ฐานข้อมูล

10 เมษายน วันกองทัพอาระกัน

10 เมษายน วันกองทัพอาระกัน วันนี้แอดพาทุกคนมาทำความรู้จักกองทัพอาระกัน เนื่องในวันนี้ 10 เมษายน 2009 เป็นวันก่อตั้งวันกองทัพอาระกัน กองทัพอาระกันเป็นกองกำลังใหม่ก่อตั้งได้ไม่นานแต่เป็นกองกำลังเป็นที่สั่นคลอนกองทัพพม่าและกำลังเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ในพม่าอย่างหลากหลายมิติเช่นกัน แม้ขนาดของกองทัพไม่ใหญ่เท่ากลุ่มกองทัพว้า (UWSA) แต่ Agenda ของกองทัพ AA คาดหวังวไว้ว่ารัฐยะไข่ต้องมีสถานะเป็นเขตปกครองตนเองแบบของว้า ปะหล่อง โกก้าง ดะนุ และนากา ให้ได้ References : 1. “ARAKAN ARMY ( AA )”. Arakan Army. Retrieved 10 April 2022. 2. “I Want to Stress That We Are Not the Enemy”. 12 June 2015. Retrieved 10 April 2022. (https://www.irrawaddy.com/…/i-want-to-stress-that-we…) […]Read More

EVENTS ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ASC ขอเชิญนิสิตร่วมกิจกรรม ASEAN Summer Seminar แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอาเซียนศึกษา

ประกาศกิจกรรม Summser สุดพิเศษ ขอเชิญน้องๆ นิสิตทุกชั้นปีทุกวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ร่วมกิจกรรม ASEAN Summer Seminar แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอาเซียนศึกษา ผ่านภาพยนต์สารคดีสั้นและวรรณกรรมอาเซียน ซึ่งมีสามเรื่องด้วยกัน ได้แก่ ๑. นิราศหนองคาย (วรรณกรรมไทยยุคแห่งการรวมสยามให้เป็นไทย) ๒. My Buddha is punk (สารคดีภาพยนตร์พม่า) ๓. CON CƯNG | THE GOLDEN CHILD (สารคดีสั้นเวียดนาม) นิสิตที่สนใจสามารถเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อนำเสนอประเด็นที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมหรือจากสารคดี โดยนำเสนอในรายการ ASEAN TALK (วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป) รายละเอียดสารคดีสามารถดูได้ที่ Youtube นะครับ ๑. My Buddha is punk (https://www.youtube.com/watch?v=DnR1e0Vq8-Y&t=110s) ๒. CON Read More

EVENTS ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

มจร ขอเชิญรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทผู้นำ ASEAN ต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน”

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทผู้นำ ASEAN ต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน” #สิทธิสตรี #แรงงานและประชาธิปไตย ในวันที่ 11 เมษายน 2565 เวลา 10:00 น. เป็นต้นไป โดยมีวิทยากร สุพัฒตรา ลิมปะพันธุ์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสิทธิมนุษยชน ผอ. สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สนง.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย มุกรวี ฉิมพะเนาว์ ผู้สนใจลงทะเบียนเพื่อรับใบประกาศได้ที่ https://forms.gle/LKoEhpHDcRFHus4d9 ลิงค์ห้อง Zoom Meeting https://zoom.us/j/5502825639 Meeting ID: 550 282 5639 #mcu #ascmcu #มจร Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcuRead More

Translate »