ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

โครงสร้างจักรวาลหิ้งบูชา: พื้นที่จิตวิญญาณของมนุษย์และเทพเจ้าในสังคมเวียดนาม

การนับถือผีบรรพบุรุษเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวอุษาคเนย์โบราณก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาถึงและผสมผสานร่วมกับวัฒนธรรมดั้งเดิม เมื่อชาวเวียดนามรับเอาพระพุทธศาสนากิจกรรมทางความเชื่อก็ปรับเปลี่ยนไปตามพลวัตสังคม การนับถือพลังเหนือธรรมชาติเป็นสัญชาตญาณและปรากฏอยู่ในทุกสังคมของโลก หากแต่มีความแตกต่างกันในรูปแบบของพิธีกรรมและศาสนา แต่เป้าหมายของการนับถือพลังเหนือธรรมชาติเหล่านั้นเพื่อได้รับการตอบรับคสิ่งที่ปรารถนาจากอำนาจเหนือธรรมชาติ การมีหิ้งบูชาในบ้านของชาวเวียดนามไม่แตกต่างไปจากการมีหิ้งบูชาในวัฒนธรรมความเชื่ออื่น ๆ ทั้งในลาว กัมพูชาและพม่า หิ้งบูชาเป็นพื้นที่ (space) การเชื่อมต่อระหว่างโลกทางกายภาพและโลกทางจิตวิญญาณ หิ้งบูชาไม่เพียงเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ยังเป็นพื้นที่ของการสื่อสารระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมนุษย์ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้จักรวาลอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วย ผ่านกลไกทางประเพณีการเคารพผีบรรพบุรุษและธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดจักรวาลวิทยา (cosmogony) อันเก่าแก่ของมนุษยชาติด้วย                                                                           […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

บุคลากร ASC แสดงมุทิตาจิต ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา ทุกรูป/คน น้อมมุทิตาพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ในโอกาสรับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการ ศูนย์อาเซียนศึกษา มา ณ โอกาสนี้ อ่านข่าว : http://asc.mcu.ac.th/main/?p=5002   Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย www.asc.mcu.ac.th mcuasean@gmail.com 085-8073098Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ

มจร.แต่งตั้ง “รก.ผอ.ศูนย์อาเซียนศึกษา”

๓๐ ม.ค.๒๕๖๖ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ (กันจู) ป.ธ.๙, รศ.ดร. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มจร. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา” ทั้งนี้ ตั้งเเต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง     Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย www.asc.mcu.ac.th mcuasean@gmail.com 085-8073098Read More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

กลองอลัมพรเภรี เอกลักษณ์หนึ่งเดียวในประเทศ

กลองอลัมพรเภรี วัดสุทัศนเทพวราราม พระอารามสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผังวัดสุทัศนเทพวรารามถูกวางให้เป็น “สุทัศนเทพนคร” ศูนย์กลางเมืองพระอินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิหารหลวงเปรียบได้กับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และวิมานไพชยนต์ของพระอินทร์ กลองอลัมพรเภรี ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงวัดสุทัศน์ สร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากตำนานกลองของพระอินทร์ที่ได้มาจากอสูรในกักกฏชาดก กักกฏชาดก “…ก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา ในก้ามปูสองก้ามนั้น ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำอยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตะโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ. ส่วนอีกก้ามที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลองชื่ออลัมพรเภรี….” ขอบคุณ : (1). ประชากรแห่งหิมพานต์: พญาช้างกับปูทอง – สุเมรุจักรวาล ตอนที่ 51 https://www.sarakadee.com/…/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8…/ (2). “กลองอลัมพรเภรี กลองอันเนื่องด้วยพญาช้างปราบพญาปู” ภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง — Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcuRead More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

น้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ : คนไทยกินพริกกันตั้งเเต่เมื่อไหร่

น้ำพริกแห่งอุษาคเนย์ : คนไทยกินพริกกันตั้งเเต่เมื่อไหร่ น้ำพริกในเมืองไทยของเรานั้นมีมากมายหลายประเภท มีเอกลักษณ์ ส่วนผสม และวิธีการปรุงที่แตกต่างกันออกไป ด้วยเอกลักษณ์ของภูมิภาคทำให้ประเทศไทยมีสุตรน้ำพริกที่หลากหลาย เช่นน้ำพริกอ่อง น้พริกปลาร้า น้ำพริกกะปิ เป็นต้น สังคมไทยยุคเก่าน้ำพริกยังมีบทบาทด้านคู่ครองอีกด้วย เช่นในบทเพลงลูกทุ่ง “กินข้าวกับน้ำพริก” หรือ “เทพธิดาผ้าซิ่น” สะท้อนให้เห็นถึงสังคมไทยยุคนั้นที่หน้าที่บางอย่างจำเพาะเจาะลงว่าเป็นงานของสตรีเท่านั้นและการทำน้ำพริกได้อร่อยยังสะท้อนถึงความเป็นกุลสตรีตามแบบฉบับภาพแทนผู้หญิงของสังคมไทยด้วย แม้ไม่สามารถระบุได้ว่าคนไทยรู้จักพริกตั้งเเต่เมื่อไหร่ แต่พริกเข้ามาในทวีปเอเชียครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย แล้วเข้าไทยในสมัยอยุธยา ผ่านการติดต่อของชาวโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนกะปิเป็นอาหารต้นตำรับของชาวอุษาคเนย์โดยกำเนิด เมื่อทั้งสองอย่างมารวมกันกลายเป็นอาหารอันโอชะของไทยสืบต่อมาและเป็นมรดกภูมิปัญญาร่วมของอุษาคเนย์ ขอบคุณ ภาพ : ผศ.ดร.ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ เรียบเรียง : พระอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ผู้ช่วยบรรณาธิการ : มุกรวี ฉิมพะเนาว์ บรรณาธิการ : พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. เพิ่มเติม:- (1) จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2017). การวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของคนในสังคม ไทยผ่าน “สื่อกิจกรรมการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์”:(The Habit Analysis of Thai People Through […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา ปฏิบัติงานตามภาระมอบหมายของมหาวิทยาลัย ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ

วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลประสานงานนักวิชาการต่างประเทศในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “สหวิทยาการลุ่มน้ําเจ้าพระยาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” The 1st National and the 13th International Conference “Interdisciplinary of Knowledge and Wisdom on the Chao Phraya River Basin for Sustainable Development” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจรและเครือข่าย ณ ห้องประชุมเธียร์เตอร์ อาคารเรียนรวมหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

การนับถือศิวลึงค์ที่ปรากฎในอุษาคเนย์ (The Shiva Lingam of Metaphysical Disciplines in Southeast Asia)

The Shiva Lingam of Metaphysical Disciplines in Southeast Asia การนับถือศิวลึงค์ที่ปรากฎในอุษาคเนย์เป็นความเชื่อที่ได้รับมาจากฮินดูไศวนิกายของอินเดีย ในเทวาลัยฮินดูจะมีห้องที่เรียกว่า “ครรภคฤหะ (Garbhagrha)” สำหรับเป็นที่ประดิษฐานของศิวลึงค์กับฐานโยนี ศิวลึงค์จะแทนความหมายถึงองค์พระศิวะ อันเป็นกำเนิดของจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งปวง (ตามคติความเชื่อพระศิวะถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและจักรวาล) ศิวลึงค์มีได้หลายรูปแบบและหลายประเภท แตกต่างกันไป ทั้งนี้ยังมีลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติด้วย เรียกว่า “สวยัมภูลึงค์” จะเป็นภูเขา หินก็ได้ ส่วนลึงค์ที่มนุษย์สร้างขึ้นจะเรียกว่า “มานุษลึงค์” พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การบูชาศิวลึงค์นั้นมิเพียงแต่นำความสุข ความรุ่งเรืองมาสู่ผู้บูชาตามความเชื่อในคมภีร์ปุราณะ ผู้ปฏิบัติต้องสมาทานหลักปฏิบัติตนตามคำสอนนิกายไศวะด้วย ในเวียดนาม เราพบความเชื่อนิกายไศวะ โดยเฉพาะชาวจาม ในอดีตนั้นชาวจามมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับชาวเขมรยุคพระนคร มีอาณาจักรเป็นของตัวเอง หลักฐานโบราณคดียังสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมจามที่เข้ามาถึงลุ่มแม่นำโขงด้วย แม้ว่า การบูชาพระศิวะในคัมภีร์จะระบุถึงเครื่องบูชาที่พระศิวะโปรด อย่างไรก็ดี การนำเครื่องบูชาอันเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นก็เป็นเสน่ห์อีกประการเมื่อศาสนาจากอินเดียเดินทางมาถึงอุษาคเนย์ ซึ่งไม่เพียงแต่ศาสนาพราหมณ์ฮินดูเท่านั้น พุทธศาสนาเมื่อเข้ามาในดินแดนแถบนี้ก็ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตและสังคมของผู้คนตามยุคสมัย ขอบคุณ ภาพประกอบ: พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร. เรียบเรียงและเผยแพร่ : พระอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ผู้ช่วยบรรณาธิการ : มุกรวี ฉิมพะเนาว์ […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ศูนย์อาเซียนศึกษาจัดโครงการ Cultural Exchange Program in Vietnam

Cultural Exchange Program in Vietnam ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดโครงการ Cultural Exchange Program ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2566 ในการนี้ พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร.และนิสิตที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านพระพุทธศาสนาร่วมกับเครือข่ายนิสิตเวียดนาม ณ กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม Cultural Exchange Program in Vietnam เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการเครือข่ายความร่วมมือด้านอาเซียนศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กร หน่วยงานและสถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นิสิต ในการส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิด SDGs ซึ่งจะนำผลสัมฤทธิ์ด้านการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุรลักษณะทางสติปัญญาและคุณธรรม เกิดการมีส่วนร่วมของนิสิตทุกระดับในการจัดิจกรรมและขับเคลื่อนเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข่าว:ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

นักศึกษาสงฆ์ลาว มจร มุ่งสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนานิสิต

นักศึกษาสงฆ์ลาว มจร มุ่งสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนานิสิต Just in : วันที่ 18 มกราคม 2566 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร., รองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มอบหมายให้พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ต้อนรับผู้เเทนชมรมนักศึกษาสงฆ์ลาวแห่งประเทศไทย เพื่อหารือขับเคลื่อนกิจกรรมและความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมและโครงการสำหรับพัฒนาศักยภาพนิสิต ณ สำนักงานศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน ฐานข้อมูล ประเทศสมาชิกอาเซียน

Tet Nguyen Dan เทศกาลตรุษเวียดนาม

เทศกาลตรุษญวน หรือ ตรุษเวียดนาม (Tet Nguyen Dan) หรือ ตรุษเต็ด เทศกาลขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติที่สําคัญที่สุดประเทศเวียดนาม มีลักษณะเหมือนประเพณีวันตรุษจีนของคนจีน เทศกาลนี้มีการเฉลิมฉลองในช่วงเวลาเดียวกับวันตรุษจีน คือประมาณปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เวียดนามได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนมาช้านาน ประเพณี และความเชื่อของวันตรุษจีน จึงมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมจีนมาก โดยเทศกาลนี้ แต่ละครอบครัวซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้สมาชิกในบ้าน เพื่อต้อนรับปีใหม่ ทำความสะอาดบ้าน และ ไหว้ส่งเทพเจ้าแห่งห้องครัวองต๊าว (Ông Táo ภาษาจีน Táo quân灶君 ) สู่สวรรค์ เทศกาลเต๊ดจะเริ่มขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเข้าสู่ปีใหม่ โดยเริ่มต้นในวันที่ 23 เดือน 12 จะมีพิธีเซ่นไหว้เต๋า กวน หรือเทพเจ้าแห่งครัว ด้วยผลไม้สด อาหารคาวหวาน รองเท้าชุดแต่งกายขุนนาง และปลาคราฟ เพื่อที่จะส่งเทพเจ้าแห่งครัวขึ้นไปรายงานความเป็นไปในแต่ละครอบครัวในปีที่ ผ่านมาบนสรวงสวรรค์  นอกจากนี้ชาวเวียตนามยังนิยมตั้ง เกย เนว (Cay Neu)ซึ่งเป็นต้นไม้ทำจากลำไผ่มาปักไว้หน้าบ้าน ต้นนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี และมงคล จะทำให้วิญญาณชั่วร้ายหวาดกลัวและหนีไป ในช่วง 7 วันก่อนปีใหม่นี้จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของใดๆที่ชำรุดเสียหายก็ทิ้งไปและเปลี่ยนใหม่ ตระเตรียมเสื้อผ้าใหม่ๆเพื่อที่จะต้อนรับสิ่งดีๆในปีใหม่ (Cay Neu) ในช่วงตรุษเต๊ต ดอกไม้คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ของทุกบ้าน ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศตรุษเต๊ตมีชีวิตชีวามากขึ้น โดยในภาคเหนือ […]Read More

Translate »