EVENTS ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ

รองนายก วิษณุ ตั้ง พระศรีธวัชเมธีเป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการการแปลพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ

Just in : พระศรีธวัชเมธี ,ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการแปลพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษโดยมี พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธาน โครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา มหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และศูนย์พหุภาษาการแปลและล่ามแห่งอาเซียน ซึ่งจะนำพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย 45 เล่ม เป็นต้นฉบับในการแปล และเทียบเคียงเนื้อหาจากพระไตรปิฎกฉบับอื่นเพื่อให้เนื้อหาถูกต้องและสมบูรณ์เพื่อใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการและการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 2 คณะ ได้แก่ คณะทำงานสรรหาผู้แปลทั้งไทยและต่างประเทศ และคณะทำงานกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ โครงการนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย คำสั่งดังกล่างลงนามโดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน  ๒๕๖๔   ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ลาวสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งเเรก

กระทรวงสาธารณสุขแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมมือกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University Hospital: SNUH) ของสาธารณรัฐเกาหลี ในการสร้างโรงพยาบาลภายใต้มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งสปป.ลาว (University of Health Sciences: UHS-Laos) โรงพยาบาลแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งสปป.ลาว  ณ เมืองไชยเชษฐา (Xaysettha) นครหลวงเวียงจันทน์ ถือเป็นโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน สปป.ลาว ที่จะช่วยพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของ สปป.ลาว รวมถึงเป็นสถานที่จัดฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่อย่างมืออาชีพ โดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลจะช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของ สปป.ลาว ที่จะให้บริการในโรงพยาบาล เป็นเวลา 4 ปี ที่สาธารณรัฐเกาหลี และหลังจากโรงพยาบาลเปิดให้บริการ จะจัดส่งบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐเกาหลีมาประจำที่ สปป.ลาว เป็นเวลา 3 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) ซึ่งจะให้บริการทางการแพทย์ครบวงจร รวมถึงดูแลรักษาโรคเฉพาะทางต่าง ๆ โดยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ ทั้งหมดประมาณ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 3,992,654,611 บาท) […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์ คำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับ

มหาจุฬา ยกเลิกรับสำเนาบัตร ปชช-สำเนาทะเบียนบ้านรับมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล

มจร ส่งหนังสือแจ้งให้หน่วยงานในสังกัดยกเลิกใช้สำเนาบัตรประชาชน-สำเนาทะเบียนบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระประชาชน รับการเป็นมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล ประกาศลงนามโดยพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี ระบุว่า มหาวิทยาลัยดำเนินการตามมติคณะรัฐนตรี เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่เห็นชอบเรื่องการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชนและให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาของภารครัฐให้เป็นรัฐบาลดิลิทัล (Digital Government)   ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ฐานข้อมูล ประเทศสมาชิกอาเซียน

เที่ยวบรูไน ไปไหนดี?

  1.มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน (Omar Ali Saifuddien Mosque) มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน หนึ่งในมัสยิดที่สวยที่สุดของโลก เป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 พระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และสร้างเสร็จในปีค.ศ. 1958 มัสยิดนี้เป็นมัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไนตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และมัสยินนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1958 มีความงดงามจนได้ชื่อว่า “มินิทัชมาฮาล” ภายในประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนและกระเบื้องคลาสสิค เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอิสลามกับสถาปัตยกรรมอิตาลี สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของมัสยิดแห่งนี้ก็คือโดมทองคำสูง 52 เมตร สร้างด้วยทองคำบริสุทธิ์มากถึง 3.3 ล้านแผ่น ภายนอกล้อมรอบด้วยสวนกว้างใหญ่ มีเรือจำลองพระราชพิธีในสระ ตอนกลางคืนจะมีการเปิดไฟประดับสวยงาม ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและใช้เป็นเวทีประกวดอ่านคัมภีร์อัลกุรอานอีกด้วย   2.มัสยิดทองคำ เจมส์ อาร์ อัสซานัส โบลเกียห์ (Jame Asr Hassanil […]Read More

ฐานข้อมูล ประเทศสมาชิกอาเซียน

Brunei Darussalam ประเทศบรูไนดาลุสซาราม

Brunei Darussalam บรูไนตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก (743,330 ตาราง กม.) โดยมีพื้นที่ร้อยละ 73 อยู่ในกาลิมันตันของอินโดนีเซีย ร้อยละ 26 อยู่ในรัฐซาบาห์และซาราวักของมาเลเซีย และร้อยละ 1 ในบรูไน (5,765 ตาราง กม.)  พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะเป็นป่าร้อนชื้นซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ล้านปี   ในอดีตบอร์เนียวเป็นชื่อที่ระบุในเอกสารประวัติศาสตร์ของจีนว่าเป็นหนึ่งในเมืองท่าของการค้าขายระหว่างราชวงศ์หมิงของจีนและราชวงศ์มัชปาหิต (Majapahit) ของอินโดนีเซีย  ต่อมาในปี คศ. 1400 สุลต่านของบรูไนได้ประกาศอิสรภาพออกจากอาณาจักรมัชปาหิต และราชวงศ์ Bolkiah (โบลเกียห์) ได้ปกครองบอร์เนียวตอนเหนือนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงในช่วงระหว่างปีคศ. 1600 – 1800 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม ประเทศโปรตุเกส อังกฤษ และดัตช์ ได้ขยายอิทธิพลมายังเกาะบอร์เนียว โดยในปี คศ. 1842 สุลต่านบรูไนได้ยกดินแดน (รัฐซาราวัก) ให้แก่ชาวอังกฤษชื่อ James Brooke ที่เข้ามาช่วยขับไล่กลุ่มกบฎและได้สร้างราชวงศ์ซาราวักขึ้นหรือที่เรียกกันว่า”ราชาคนขาว”ในดินแดนดังกล่าว ในปี คศ. […]Read More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ชุมนุมนักปฏิบัติการ ขอเชิญร่วมกิจกรรม Tea Talk ครั้งที่ ๑ “KM : การเตรียมพร้อมการประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน”

Tea Talk ครั้งที่ ๑ “KM : การเตรียมพร้อมการประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน” ศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมกับสถาบันภาษา ขอเชิญบุคลากรส่วนงานสนับสนุน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมการประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน “เรียนรู้ ก้าวทัน ก้าวล้ำ ก้าวนำสู่องค์กรแห่งอนาคต” ลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLSc0rpu20RE…/viewform… Website: www.asc.mcu.ac.th Facebook : MCU Mcu Asean twitter : ascmcu IG: ascmcuRead More

EVENTS

Tea Talk ครั้งที่ ๑ “KM : การเตรียมพร้อมการประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน”

Tea Talk ครั้งที่ ๑ “KM : การเตรียมพร้อมการประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน” ศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมกับสถาบันภาษา ขอเชิญบุคลากรส่วนงานสนับสนุน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมการประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน “เรียนรู้ ก้าวทัน ก้าวล้ำ ก้าวนำสู่องค์กรแห่งอนาคต” ลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLSc0rpu20RE…/viewform… Website: www.asc.mcu.ac.th Facebook : MCU Mcu Asean twitter : ascmcu IG: ascmcuRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ศูนย์อาเซียนศึกษาจัดประชุมทำแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน

Just in : วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดประชุมบุคลากรผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและแผนควบคุมภายในระดับส่วนงานเพื่อกำหนดระบุปัจจัยความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง โดยมี นางสาวอโนทัย บุญทัน,นักวิชาการตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายใน เป็นวิทยากรและดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ , รองผู้อำนวยการสถาบันภาษาฝ่ายบริหาร เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้   ข่าว : ศูนย์อาเซียนศึกษาRead More

กฏบัตรประชาคมอาเซียน ฐานข้อมูล

กฎบัตรอาเซียน ASEAN Charter

  กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ เมื่อปี 2548 ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้มีมติให้จัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของอาเซียน สู่การมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มีสถานะทางกฎหมาย และที่สำคัญกว่านั้น คือ ให้อาเซียนมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง โดยมีหลักการ แนวคิด และกรอบการทำงาน ที่ลึกซึ้งและชัดเจน ทั้งในการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก และการทำงานร่วมกับประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศภายนอกภูมิภาค หลังจากที่ผู้นำอาเซียนได้มีมติในเรื่องดังกล่าว ประเทศสมาชิกก็ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Eminent Persons Group – EPG) ขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎบัตรอาเซียน โดยขอให้กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำข้อเสนอแนะที่ “ห้าวหาญและมีวิสัยทัศน์” (Bold and Visionary) ข้อเสนอแนะสองเรื่องหลักของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง คือ 1. ให้มีการปฏิรูปหลักการและแนวทางปฏิบัติของประเทศสมาชิก 2. […]Read More

Translate »