ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

อาเซียนเห็นชอบในหลักการ เตรียมรับ “ติมอร์เลสเต” เป็นสมาชิกลำดับที่ 11

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( อาเซียน ) ออกแถลงการณ์ร่วมกัน เมื่อวันศุกร์ เกี่ยวกับการมีมติเห็นชอบในหลักการรับ ติมอร์เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน โดยกระบวนการสำคัญในลำดับต่อไปรวมถึง “การพิจารณาโรดแม็พ” เพื่อการเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลติมอร์เลสเต ต้องยื่นต่อประธานอาเซียนประจำปีหน้า นั่นคือ อินโดนีเซีย . ส่วนสาระสำคัญจากประเด็นอื่นในแถลงการณ์ รวมถึง การที่ติมอร์เลสเต ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน สามารถเข้าร่วมการประชุมได้ทุกระดับนับจากนี้เป็นต้นไป และการขอให้สมาชิกอาเซียนปัจจุบันร่วมกันมอบความสนับสนุนให้แก่ติมอร์เลสเต ในการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโฮเซ รามอส ฮอร์ตา ผู้นำติมอร์เลสเต กล่าวระหว่างการเยือนอินโดนีเซีย เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาว่า ติมอร์เลสเตถือเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ จนมีคุณสมบัติเพียงพอ ที่จะเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของประชาคม พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่า ติมอร์เลสเตจะสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอาเซียนได้อย่างสร้างสรรค์ อนึ่ง ติมอร์เลสเต ยื่นเอกสารสมัครเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นสมาชิกอาเซียน […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

สิงคโปร์ ทุ่ม 50 ล้านดอลลาร์ พัฒนา-ดึงดูดคนเก่งด้าน AI

นาย Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้กล่าวเปิดงานสัปดาห์นวัตกรรมและเทคโนโลยีของสิงคโปร์ (SWITCH) ประจำปี 2565 ซึ่งจัดโดย Enterprise Singapore ที่ศูนย์ประชุมรีสอร์ต เวิลด์ ว่า สิงคโปร์จะลงทุน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 71 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อดึงดูดและพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงจะเปิดศูนย์นวัตกรรมแห่งใหม่ 3 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้บรรดาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ทดสอบไอเดียใหม่ๆ ครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่ล้ำสมัยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเกษตรในเมือง ความงามและการดูแลตัวเอง . อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสิงคโปร์มีอยู่ 3 ประการ คือ การขาดแคลนบุคลากร, เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และความล่าช้าในการสร้างความยั่งยืน . ทั้งนี้ สิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนคนเก่งด้าน AI ในประเทศเป็น 2 เท่าภายใน 5 ปีข้างหน้า รวมถึงจะก่อตั้งกองทุนการวิจัยแห่งชาติแห่งใหม่ สำหรับ AI […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

มาเลเซีย เผชิญวิกฤตขาดแคลนไข่

ปัญหาการขาดแคลนไข่ยังคงสร้างความไม่พอใจแก่ผู้บริโภคชาวมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ว่าไข่ที่ออกสู่ตลาดจะมีจำนวนเท่าไรก็ขายหมดเกลี้ยง และหลายฝ่ายกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวนี้จะยืดเยื้อ . นาย Hong Chee Meng ประธานสมาคมสหพันธ์ผู้ค้าสินค้าเบ็ดเตล็ดของมาเลเซียกล่าวว่า ไข่ถูกขายหมดภายในไม่กี่ชั่วโมงเมื่อมาถึงร้านค้า ซึ่งภาวะไข่ขาดตลาดในครั้งนี้เกิดจากบรรดาฟาร์มสัตว์ปีกลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารไก่เพิ่มสูงขึ้น . ทั้งนี้ ผู้คนต่างติดตามสถานการณ์การขายไข่ในละแวกที่พวกเขาอาศัยอยู่ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตัวอย่างเช่น นาง Lim Ai Swam แม่บ้านอายุ 45 ปี อาศัยอยู่ที่บาตู ปาหัต ในรัฐยะโฮร์ เล่าให้ฟังว่า พวกเธอจะคอยเข้าไปดูความเคลื่อนไหวในกลุ่ม ‘egg updates’ ในเฟซบุ๊ก และทันทีที่มีข่าวเรื่องการเติมสต็อกไข่ที่ร้านค้าใด ผู้คนก็จะแห่ไปต่อคิวซื้อกัน ซึ่งเธอเองต้องการไข่จำนวน 20 ฟองต่อสัปดาห์สำหรับครอบครัว ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน . ด้าน นาย Tan Teck Hock ประธานสมาคมผู้ค้าสินค้าเบ็ดเตล็ดแห่งฝั่งกลังเผยว่า บรรดาผู้บริโภคต้องหันไปซื้อไข่กัมปง หรือไข่ที่มาจากการเลี้ยงไก่แบบปล่อยแทน แม้ว่าปริมาณไข่ประเภทนี้จะลดลง 50% เช่นกัน . อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

มะพร้าวอาเซียน สุดฮอต เจาะตลาดเมืองจีน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ‘มะพร้าว’ จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในจีน และถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างกว้างขวาง เช่น เค้ก กาแฟ หรือแม้แต่เมนูหม้อไฟ ซึ่งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับมะพร้าวหลายประเภทค่อนข้างถูกปากผู้บริโภคชาวจีน จึงถือว่าเป็นโอกาสของบริษัทต่างๆ ในการเจาะเข้าตลาดนี้ . การไลฟ์สตรีมบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนเป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับพ่อค้าแม่ค้าผลไม้ที่ต้องการขยายช่องทางการขาย ซึ่งการขายมะพร้าวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนช่องทางออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะไม่ต้องเปิดมะพร้าวด้วยมีดแบบดั้งเดิม แต่มีเครื่องมือสำหรับเปิดที่ติดไว้บนตัวมะพร้าวแล้ว ทำให้การดื่มน้ำมะพร้าวมีความสะดวกสบายมากขึ้นในปัจจุบัน . Mo Jiaming รองผู้จัดการบริษัทการค้าแห่งหนึ่งในกว่างซีกล่าวว่า การนำเข้ามะพร้าวจากไทยรวมทั้งหมดคาดว่าจะมากกว่า 28,000 ตู้คอนเทนเนอร์ในปีนี้ และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ซึ่งเชื่อว่าปริมาณนำเข้าทั้งหมดจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติของศุลกากรจีนพบว่า ตั้งแต่มกราคมถึงกรกฎาคม 2565 จีนนำเข้ามะพร้าวจำนวน 566,000 ตัน เพิ่มขึ้น 35.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่ 418,000 ตัน โดยนำเข้ามาจากไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนที่ 48.6%, 32.5% และ 18.4% ตามลำดับ . ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความเชื่อมโยงระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

ลาว 1 เดียวในอาเซียน ติดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำ ปี 66

The National Geographic 1 ในนิตยสารที่มีคนอ่านมากที่สุดในโลก ได้เลือก สปป. ลาว ให้เป็น 1 ใน 25 จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวชั้นนำในปี 2566 โดย สปป. ลาว เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่มีชื่ออยู่ในการจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวและประสบการณ์ที่น่าตื่นตาที่สุดในปีหน้านี้ . ทั้งนี้ รายชื่อจุดหมายปลายทางที่โดดเด่นประจำปีถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ชุมชน ธรรมชาติ วัฒนธรรม ครอบครัว และการผจญภัย โดยในปีนี้ ได้มีการปรับหมวดหมู่ให้กว้างมากขึ้น เป็น ‘หมวดหมู่ชุมชน’ แทนที่ ‘หมวดหมู่ความยั่งยืน’ ซึ่ง สปป. ลาว ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ดังกล่าวนี้ด้วย ในฐานะเป็นสถานที่ที่มีการอนุรักษ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คน . นิตยสาร The National Geographic ระบุว่า สปป.ลาว ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องทิวทัศน์สีเขียวมรกตของแม่น้ำโขงตอนบน มีการเดินทางภายในประเทศเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเส้นทางรถไฟลาว-จีน เมื่อเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งเชื่อมเมืองหลวงของ สปป. […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

กัมพูชา มอบนาฬิกาหรู ให้ผู้นำร่วม ASEAN Summit

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ว่า สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียน เตรียมจะมอบนาฬิกาที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ จำนวน 25 เรือน เป็นของขวัญที่ระลึกให้แก่เหล่าผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง อย่างการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (อีเอเอส) ที่จะมีประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา และนายหลี่่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เข้าร่วมด้วย ที่กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 นาฬิกาดังกล่าวเป็นนาฬิกากลไกตูร์บิยง ซึ่งโด่งดังในเรื่องระบบกลไกที่ซับซ้อนซึ่งสามารถมองเห็นความละเอียดอ่อนนั้นได้จากภายนอก ขณะที่หน้าปัดของนาฬิกามีสีเทาด้าน ซึ่งตกแต่งด้วยคำว่า “ASEAN Cambodia 2022” ซึ่งเป็นชื่อหลักของงานประชุมครั้งสำคัญนี้ ส่วนตัวเรือนของนาฬิกาจะเป็นสีเงินเงา ซึ่งสลักคำว่า “Made in Cambodia” สมเด็จฯ ฮุน เซน ผู้ซึ่งปกครองกัมพูชามาเป็นเวลาถึง 37 ปีและเป็นเซียนนาฬิกาหรูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กล่าวว่า นาฬิกาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กาเบรียล แทน […]Read More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

เงินหยวน อ่อนค่า อาจคุกคาม เงินบาท-ดอลลาร์สิงคโปร์

นักลงทุนที่ถือสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์และบาทไทยอาจจะต้องเผชิญกับการขาดทุน หากเงินหยวนของจีน อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากที่จีนยังคงบังคับใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ . เงินดอลลาร์สิงคโปร์และบาทไทยได้ปรับตัวสูงสุดตามค่าเงินหยวนของตลาดต่างประเทศ (Offshore) ในตลาดเกิดใหม่แถบเอเชียเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ทั้งสองสกุลเงินดังกล่าวมีแนวโน้มถูกฉุดต่ำลงอีก หากเงินหยวนยังอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง . ขณะที่ ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ออกมาเคลื่อนไหวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยยุติการกำหนดเงินหยวนให้แข็งค่ามากกว่าการคาดการณ์ หลังจากที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ซึ่งทำให้บรรดานักลงทุนต่างคาดว่าจีนกำลังจะลดการพยุงค่าเงินหยวน . ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Onshore and Offshore) ปรับตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในทวีปเอเชีย หลังจากทางการจีนยังคงออกมาประกาศตลอดทั้งสัปดาห์ว่าจะยังคงยึดมั่นในการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ต่อไป . นอกจากนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ก็จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเช่นกัน ขณะที่การขาดแคลนนักท่องเที่ยวชาวจีนก็จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท เนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนมีสัดส่วนราว 20% ต่อเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 ที่มา: AEC ConnectRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564

Just in : วันที่ 25 ตุลาคม 2565 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร., รองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา เข้าร่วมรับฟังการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาจาก คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2564 ระหว่างวันที่ 25 – 27 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ข่าว ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ข่าวการศึกษาอาเซียน ข่าวพุทธศาสนาอาเซียน ข่าวศูนย์อาเซียนศึกษา ข่าวอาเซียนสัมพันธ์

ผู้บริหารศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมพิธีวางพวงมาลางานวันปิยมหาราช

Just in: ASC วางพวงมาลางานวันปิยมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5​ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๐๗.๐๐-๑๑.๓๐ น. ดร.ลำพอง กลมกูล พร้อมด้วยบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมพิธีวางพวงมาลาในงานวันปิยมหาราชรำลึก ในการนี้ รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป เป็นประธานในพิธีโดยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตและศิษย์เก่า มจร ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้อัญเชิญพวงมาลาโดยผู้แทนส่วนงาน เดินจากหน้าหอประชุมอาคาร มวก.๔๘ พรรษา ไปยังอาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก และขึ้นวางพวงมาลาหน้าพระบรมรูปฯ ตามลำดับ จากนั้น พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี เป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และมอบเกียรติบัตรแด่เจ้าภาพ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข่าว ศูนย์อาเซียนศึกษา มจรRead More

ฐานข้อมูล อาเซียนในปัจจุบันและอนาคต

อินโดฯ เริ่มจ่อลดใช้ดอลลาร์

ธนาคารกลางอินโดนีเซียกำลังพยายามที่จะลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐของประเทศ โดยวางแผนที่จะอนุญาตให้ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มีการส่งมอบเมื่อครบกำหนด (Non-Deliverable Forward Contracts: NDFs) ในสกุลเงินอื่นๆ ในปีหน้า และเพื่อบรรลุข้อตกลงเพิ่มเติมสำหรับการชำระสกุลเงินท้องถิ่นภายในประเทศ . หน่วยงานด้านการเงินกำลังเจรจาสัญญาชำระสกุลเงินท้องถิ่นกับเกาหลีใต้และออสเตรเลีย ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้มีการเจรจาสรุปข้อตกลงกับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ . Edi Susianto กรรมการบริหารฝ่ายการจัดการการเงินของธนาคารกลางกล่าวว่า แม้การเริ่มต้นลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นจะค่อนข้างใหม่ แต่ก็เห็นถึงความเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของการทำธุรกรรมชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น . นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีข้อตกลงกับไทย มาเลเซีย และญี่ปุ่น ในการเพิ่มจำนวนธุรกรรมที่ชำระด้วยสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐอยู่แล้ว ซึ่งเพิ่มจากมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปลายปี 2564 เป็น 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ธนาคารกลางระบุว่าธุรกรรมดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้ . อินโดนีเซียนับเป็นผู้สนับสนุนหลักในการใช้สกุลเงินท้องถิ่นสำหรับธุรกรรมการค้าและการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้การแปลงสกุลเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มความพร้อมของการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอีกด้วย ทั้งนี้ สาเหตุที่นโยบายดังกล่าวเร่งด่วนมากขึ้นเป็นเพราะค่าเงินรูเปียห์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีในปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา . อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินรูเปียห์ในครั้งนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เนื่องจากเศรษฐกิจอินโดนีเซียอยู่ในทิศทางเชิงบวกที่จะสามารถดึงดูดเงินทุนได้อย่างต่อเนื่องและช่วยให้เงินรูเปียห์กลับสู่มูลค่าพื้นฐานได้ ดังนั้นการแทรกแซงตลาดของธนาคารกลาง ควรอยู่ในระดับที่พอที่จะทำให้เงินรูเปียห์มีเสถียรภาพจนกว่าจะถึงตอนนั้น . ขณะที่ทุนสำรองต่างประเทศของอินโดนีเซียคาดว่าจะลดลงตลอดจนสิ้นปีนี้ แต่ก็จะสามารถครอบคลุมมูลค่าการนำเข้าระยะเวลามากกว่า 6 เดือนได้เพียงพอ โดยเงินสำรองอยู่ที่ […]Read More

Translate »